คอลัมน์ เมืองไทยหรือเมืองใคร?
เรื่อง อียิปต์-ตัวอย่างลบ?
โดย กาหลิบ
ลุ้น ระทึกกันจนถึงนาทีนี้ว่า การลุกขึ้นสู้ในอียิปต์จะลงเอยด้วยชัยชนะอย่างไม่มีเงื่อนไขของฝ่ายประชาชน หรือไม่ หรือฝ่ายศักดินา-อำมาตย์อียิปต์ที่กุมอำนาจสูงสุดมาตั้งแต่ได้รับเอกราชจะ ยังครองอำนาจอันล้นพ้นต่อไปด้วยรูปแบบเดิมหรือรูปแบบใหม่ที่ดูเสมือนว่าเป็น ประชาธิปไตยกว่า
เราในฝ่ายประชาธิปไตยได้รับกำลังใจจาก “ชัยชนะ” ใน ตูนิเซียเพียงสองสัปดาห์ก่อน คำถามในวันนี้คือเราจะยังคงกำลังใจเอาไว้ได้ไหมในกรณีอียิปต์ หรืออย่างน้อยเราจะได้รับบทเรียนอย่างไรจากการชุมนุมประท้วงทั้งที่กรุงไคโร และนครอเล็กซานเดรีย
อาจเร็วเกินไปที่จะพูดว่าฝ่ายประชาชนจะไม่ “ชนะ” ใน อียิปต์ แต่ชนะหรือแพ้ หรือชนะในรูปแบบและพ่ายแพ้ในเนื้อหาสาระก็ตาม เราสามารถนำกรณีนี้มาศึกษาเพื่อเทียบเคียงกับการรณรงค์ในเมืองไทยได้ในหลาย แง่มุม เพื่อให้เกิดประโยชน์ในฐานะพลโลก
ขณะนี้ฝ่ายประชาชนก็ยังไม่ยอมลดราวาศอก การประท้วงถึงจะแผ่วลงแต่ก็ยังดำเนินต่อไป แต่น้ำหนักในการประท้วง (momentum) อย่างที่เราเห็นในวันแรกๆ และได้เห็นก่อนหน้านั้นที่ตูนิเซีย จนประธานาธิบดีเบนอาลีกับอำนาจ ๒๓ ปีต้องล่มสลายลง รู้สึกว่าจะลดลงมาก
ผู้ สังเกตการณ์บางคนอาจโทษว่าผู้กุมอำนาจรัฐร่วมกับกลุ่มอนุรักษ์นิยมอียิปต์ (ซึ่งมีลักษณะไม่ต่างจากกลุ่มนวพล กระทิงแดง ลูกเสือชาวบ้าน อภิรักษ์จักรี ฯลฯ ในเมืองไทย) คือเหตุสำคัญที่ทำให้มวลชนต้องล่าถอยและลดพลังลง บางคนกำลังกล่าวหาสหรัฐอเมริกาและรัฐบาลโอบาม่าว่าหวงแหนผลประโยชน์ร่วมกัน กับรัฐบาลประธานาธิบดีมูบารัคของอียิปต์จนไม่ยอมแทรกแซงในเวลาอันควร จนฝ่ายศักดินา-อำมาตย์ของอียิปต์โงหัวขึ้นมาต่อกรกับประชาชนได้อีก และบางคนกำลังมองไปที่ความอ่อนแอขององค์กรที่กำลังรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย ที่ไร้เดียงสาและตกหลุมพรางของฝ่ายรัฐที่ช่ำชองกว่าในเกมช่วงชิงอำนาจ
แต่เมื่อมองทะลุแล้วจะพบว่า ความ (ที่ยัง) ไม่สำเร็จของฝ่ายประชาธิปไตยในอียิปต์เกิดขึ้นจากการเสียจังหวะในการช่วงชิงอำนาจรัฐนั่นเอง
ตูนิเซียลุกฮือในลักษณะเดียวกับอียิปต์เกือบทุกอย่าง แต่การลุกฮือนั้นมีลักษณะฉับพลัน (sudden) ไม่ รีรอแบบรุกไปข้างหน้าแล้วกลับถอยไปข้างหลังเหมือนกรณีอียิปต์ เวลาที่ใช้ในตูนิเซียจึงสั้นกว่าและสุดท้ายก็เกิดผลอย่างเดียวกับการรักษา โรคด้วยการช็อค (shock therapy)
นั่นคือไม่ปล่อยให้ใครหรืออะไรได้ตั้งตัวทัน
ใน ขณะที่ประธานาธิบดีเบนอาลีของตูนิเซียประกาศปลดนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรี ฝูงชนก็รุกคืบไปข้างหน้า และไม่หยุดประนีประนอมใดๆ ทั้งสิ้นกับผู้มีอำนาจรัฐ จนโค่นประมุขของระบอบลงได้ แต่กรณีอียิปต์ มวลชนกลับถูกชี้นำให้หยุดเคลื่อนและรอคอยผลในขณะที่ประธานาธิบดีมูบารัคฉวย เอาจังหวะนั้นประกาศตั้งรองประธานาธิบดี นายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ แม้ขณะที่ออกข่าวว่าตัวมูบารัคจะออกแถลงการณ์ทางโทรทัศน์ ผู้คนก็บอกกันต่อๆ ให้หยุดนิ่งและคอยฟัง เพราะเชื่อว่าจะเป็นคำแถลงลาออกจากตำแหน่งของผู้เป็นประธานาธิบดี หรือไม่ก็ประกาศเดินทางออกนอกประเทศอย่างผู้แพ้
สุด ท้ายการประท้วงก็ต้องมาตั้งต้นใหม่และลดพลังลงตามธรรมชาติ จนนาทีนี้ยังไม่รู้ว่าจะผลักดันให้ระบอบศักดินา-อำมาตย์ของอียิปต์ภายใต้มู บารัคพ้นจากอำนาจอันล้นพ้นได้หรือไม่
กลับมามองที่เมืองไทย เราเคยผ่านประสบการณ์คุ้นหูแบบนี้บ้างไหม
เมื่อมีผู้ประกาศ “ดีเดย์” หรือ วันเผด็จศึก ในวันที่ ๘ เมษายน ของปี พ.ศ.๒๕๕๒ จนผู้คนหลั่งไหลมาชุมนุมหลายแสนคน ปรากฏว่าไม่มีอะไรเกิดขึ้นเป็นพิเศษให้สมกับพลัง ไม่มีการลุกฮือ ไม่มีการเข้าช่วงชิงอำนาจรัฐใดๆ คืนอันเป็นประวัติศาสตร์นั้นก็จบลงอย่างเงื่องหงอยท่ามกลางความเจ็บปวดทางใจ ของคนเป็นจำนวนมาก
ยังจำได้ไหม
เมื่อ มวลชนเสื้อแดงกรีธาทัพแสดงพลังไปทั่วกรุงเทพมหานครเมื่อวันเสาร์หนึ่ง คนเข้าร่วมหลายแสนคน จนหัวใจสีแดงเต็มไปด้วยความปลื้มปีติ สุดท้ายก็เดินเป็นวงกลมกลับไปสู่ที่เก่าและร้องรำทำเพลงกันต่อไปโดยไม่มี อะไรเกิดขึ้นในเชิงอำนาจรัฐ
ยังจำได้ไหม
เมื่อ คนไทยเหยียบล้านเดินเท้าไปสู่ที่ตั้งชั่วคราวของรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ฯ ที่ ร.๑๑ ขนาดหัวแถวถึงแล้วปลายแถวยังอยู่ที่สะพานผ่านฟ้าจนมืดฟ้ามัวดินนั้น วันนั้นก็จบสิ้นลงด้วยการเดินกลับโดยไม่มีสิ่งใดเกิดขึ้น รุ่งขึ้นก็ประกาศสร้าง “ประวัติศาสตร์” กันด้วยกิจกรรมกรีดเลือดแล้วเอาเลือดไปเททิ้ง
ยังจำได้ไหม
ถ้าจำวันเหล่านี้ได้ จะสงสารคนอียิปต์ในวันนี้เป็นเท่าทวีคูณ.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น