สนับสนุนการทำกิจกรรม ส่งเสริมประชาธิปไตยของชาวเชียงใหม่ ร่วมกับศูนย์ประสานงานกลาง นปช.แดงเชียงใหม่

ชื่อบัญชี นปช.แดงเชียงใหม่ ธนาคารออมสิน เลขที่บัญชี 02 0012142 65 7 ( มีผู้รับผิดชอบบัญชี 3 ท่าน )

ติดต่อเรา deangchiangmai@gmail.com

ราบสวัสดี พี่น้องทุกๆท่านที่เข้ามาเยี่ยมเยือน บล็อค นปช.แดงเชียงใหม่ ขอเรียนชี้แจงสักนิดว่า เรา ”แดงเจียงใหม่” เป็นกลุ่มคนชาวเจียงใหม่ที่เคารพรัก กติกาประชาธิปไตย ต่อสู้และต่อต้านเผด็จการทุกรูปแบบ อยากเห็นประเทศชาติภายภาคหน้า มีความเจริญ ประชาชนรุ่นลูกหลานของเราอยู่อาศัยอย่างร่มเย็นเป็นสุขในประเทศของพวกเราเอง ไม่มีกลุ่มอภิสิทธิ์ชนกลุ่มใดมาสูบเลือดเนื้อ แอบอ้างบุญคุณเฉกเช่นในยุคนี้ที่พวกเราเห็น การที่จะได้รับในสิ่งที่มุ่งหวังก็ต้องมีการต่อสู้แสดงกำลังให้สังคมได้รับรู้ และเพื่อที่จะให้กลุ่มบุคคลที่มีอำนาจในปัจจุบันได้เข้าใจในสังคมที่ก้าวหน้าเปลี่ยนแปลงไป ไม่อาจฝืนต่อกระแสการพัฒนาของโลก การต่อสู้ร่วมกับผองชนทั่วประเทศในครั้งนี้ เรา “ แดงเจียงใหม่ “ ได้ร่วมต่อสู้ทุกรูปแบบ และในรูปแบบที่ท่านได้เข้ามาร่วมอยู่นี้ คือการเผยแพร่ข่าวสารต่อสังคม เรา “ แดงเจียงใหม่ “ ได้สร้างเวปบล็อคไว้ 2 ที่ คือที่นี่ “ แดงเจียงใหม่” สำหรับการบอกกล่าวในเรื่องทั่วไป และอีกที่หนึ่งคือ “ Daeng ChiangMai “ สำหรับข่าวสารที่เราเห็นว่ามีประโยชน์ต่อการรับรู้ข่าวสารในการร่วมทำกิจกรรมของพี่น้องประชาชน


เชิญร่วมสร้างขวัญ และกำลังใจให้เพื่อนพ้องน้องพี่ร่วมกันครับ
“แดงเจียงใหม่” " Daeng ChiangMai "

รักประชาธิปไตยไม่เอาเผด็จการ ต่อต้านการรัฐประหารทุกรูปแบบ สร้างขวัญกำลังใจและความสุขเพื่อปวงชน

การสังหารหมู่ที่กรุงเทพฯ : สมุดปกขาวโดยสำนักกฎหมาย Amsterdam & Peroff การสังหารหมู่ที่กรุงเทพฯ . ไพร่สู้บนเส้นทาง ๗๘ ปี ประชาธิปไตย ( ๒๔๗๕ - ๒๕๕๓ ) จรรยา ยิ้มประเสริฐ Voter's Uprising Thai

วันจันทร์ที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

สุรพศ ทวีศักดิ์ : เรื่องเล่า “ศีลธรรมอำมหิต”

Mon, 2011-02-28 14:38


สุรพศ ทวีศักดิ์


จำได้ว่าราวสองปีที่แล้ว มีพระจากวัดใหญ่แห่งหนึ่งแถวประทุมธานีมาเสนอโครงการเกี่ยวกับการจัดอบรม ศีลธรรมโลกหรืออะไรสักอย่าง เสร็จแล้วผู้บริหารก็ให้มาคุยกับผม เมื่อพระท่านเล่ารายละเอียดให้ฟังว่ากิจกรรมในโครงการจะต้องมีการซื้อ หนังสือธรรมะ มีค่าใช้จ่ายในการสมัครสอบ มีการนำนักศึกษาเข้าร่วมกิจกรรมกับทางวัดเป็นครั้งๆ ซึ่งทั้งหมดนั้นสรุปได้ว่าจำเป็นต้องบังคับหรือเกณฑ์นักศึกษาเข้าร่วม โครงการ โดยทางมหาวิทยาลัยจะต้องรับผิดชอบในการจัดการทั้งหมดนั้นให้ด้วย (ส่วนค่าใช้จ่ายอาจจะต้องให้นักศึกษาออกเงินเอง แต่ถ้าเข้าร่วมในระยะนี้ทางวัดก็มีโปรโมชั่นจัดส่วนลดเรื่องค่าใช้จ่ายให้)


ผมฟังท่านเล่าจบ ก็ตอบท่านไปตามตรง (คือผมไม่ชอบพูดอะไรอ้อมค้อม) ว่า ผม ไม่เห็นด้วยกับการบังคับหรือเกณฑ์เด็กเข้าร่วมกิจกรรมมอบรมศีลธรรม เรื่องแบบนี้ควรปล่อยให้เป็นความสมัครใจของเด็กเอง ทางวัดอาจจะติดโปสเตอร์ประชาสัมพันธ์โครงการแล้วก็ให้เด็กเขาติดต่อสมัคร เข้าร่วมโครงการเองจะดีกว่า

พอผมพูดจบสังเกตเห็นว่า พระท่านแสดงสีหน้าไม่ค่อยพอใจ และพูดขึ้นว่า ถ้า คิดแบบโยมโครงการของวัดก็คงทำไม่สำเร็จ อาตมาไปมาหลายที่ก็ได้รับความร่วมมือจากผู้บริหารของสถาบันการศึกษาต่างๆ เป็นอย่างดี เขายอมเกณฑ์เด็กเข้าร่วมกิจกรรม เพราะเขารู้ว่าในที่สุดมันก็จะเกิดผลดีแก่ตัวเด็กโดยตรง โยมก็รู้ว่าเด็กสมัยนี้เป็นอย่างไร จะให้เขาสนใจศาสนาเองคงเป็นเรื่องยาก อาตมาอยากถามว่าการบังคับเด็กให้ทำความดีนี่มันผิดตรงไหน


ผมรู้สึกว่าบรรยากาศการสนทนากำลังตึงเครียด แต่ก็ยังตอบพระไปว่า ผม เข้าใจว่าการบังคับเด็กให้ทำความดีนี่ผิดหลักการของพุทธศาสนาครับ ผมอาจจะเข้าใจผิดก็ได้ คือผมไม่เคยพบหลักฐานว่าพระพุทธเจ้าหรือพระสงฆ์สาวกบังคับให้ใครทำความดี หรือกะเกณฑ์ให้ใครๆ มาศึกษาปฏิบัติธรรม คนที่สนใจเขาก็เข้ามาหาพระพุทธเจ้าเอง เมื่อเขาฟังพระพุทธเจ้าแสดงธรรมหรือสนทนากับพระองค์แล้ว เขาเห็นว่าข้อคิดนั้นมีเหตุผลเขาก็นำไปปฏิบัติ เคยมีด้วยซ้ำไปครับที่มีคนนับถือศาสนาอื่นมาฟังธรรมแล้วเลื่อมใสจะเปลี่ยนมา นับถือพระรัตนตรัย แต่พระพุทธเจ้ากลับเตือนให้เขาทบทวนการตัดสินใจ แสดงว่าพระองค์ไม่กระหายลูกศิษย์ใช่ไหมครับ โดยเฉพาะการศึกษาปฏิบัติธรรมในสมัยนั้นก็ไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ ด้วย ไม่มีบรรยากาศของการหมอบกราบฟังพระเพื่อที่จะเชื่อโดยไม่ต้องโต้แย้งเหมือน สมัยนี้


คำพูดของผมยิ่งไปเพิ่มบรรยากาศการสนทนาให้ตึงเครียดมากขึ้น ผมรู้สึกว่าการสนทนากับพระวันนี้ไม่มีบรรยากาศของความสงบเย็นเลย หลังจากนิ่งไปพรรคหนึ่งพระท่านก็เป็นฝ่ายสรุปการสนทนาว่า เอาล่ะถ้า โยมจะมีทิฐิอย่างนั้น ก็เป็นเรื่องของโยม อาตมาถือว่าวันนี้ได้ทำหน้าที่ของตนเองแล้วคือเอาบุญมาฝากโยม ...หมดธุระแล้วอาตมาต้องขอตัวกลับก่อนนะ


พระท่านกล่าวลาด้วยท่าทีที่สงบสำรวม แต่เป็นท่าทีสงบสำรวมที่ทำให้ผมรู้สึก เย็น ยะเยียบผมไม่เข้าใจความหมายของคำว่า เอาบุญมาฝากโยมและหากผมเห็นต่างจากพระผมจำเป็นต้องกลายเป็น คนบาปด้วยหรือ เมื่อพระมาขอความร่วมมือในการทำโครงการอบรมศีลธรรม เรามีสิทธิจะให้ความร่วมมือหรือไม่ก็ได้ไม่ใช่หรือ พระไม่ควรจะแสดงออกถึงการอ้าง อำนาจทางศีลธรรมมาบังคับเราให้ร่วมมือ หรือเพื่อใช้เราไปบังคับให้เด็กเข้าร่วมกิจกรรมอบรมศีลธรรมอีกต่อหนึ่ง (โดยเฉพาะเมื่อเด็กต้องออกค่าใช้จ่ายจำนวนไม่น้อย)


และเมื่อเร็วๆ นี้ มีนักศึกษาจากชุมรมพุทธศาสนามาบอกกับผมว่า พวกเขาต้องการให้มหาวิทยาลัยจัดรถตู้พร้อมทั้งเบี้ยเลี้ยงให้คนขับรถ เบี้ยเลี้ยงให้สมาชิกชมรมที่ไปทำกิจกรรมซึ่งเขาได้รับเชิญไปอบรมความรู้ทาง พุทธศาสนาที่หน่วยงานราชการแห่งหนึ่งแถวจังหวัดสุรินทร์ ผมถามว่าค่าใช้จ่ายพวกนี้ทางหน่วยงานที่เขาเชิญเราไปควรเป็นผู้รับผิดชอบมิ ใช่หรือ


และบังเอิญอ่านในโครงการมีเขียนไว้ในวัตถุประสงค์ข้อหนึ่งว่า เพื่อ นำคำสอนที่แท้จริงของพุทธศาสนากลับมาสู่สังคมไทยและเป็นการปฏิบัติตามพระปฐม บรมราชโองการของในหลวงเราจะครองแผ่นดินโดยธรรมเพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม


ผมเลยลองถามเพื่อจะร่วมแลกเปลี่ยนว่า เรามั่นใจได้อย่างไรว่า จะนำคำสอนที่แท้จริงของพุทธศาสนากลับมาสู่สังคมไทยแต่คำตอบที่ได้ต้องทำให้ผมถึงกับอึ้ง คือถ้าอาจารย์อยากรู้อาจารย์ต้องมาเรียนกับพวกผมผมเลยถามต่อว่าแล้วอะไรคือคำสอนที่แท้จริงของพุทธศาสนาเขาตอบว่าคำสอนที่แท้จริงคือปรมัตถสัจจะเป็นคำตอบเดียวของพระพุทธเจ้า


คำตอบนี้ทำให้ผมนึกถึงเมื่อปีก่อน มีนักศึกษาคนหนึ่งในชมรมนี้ ชวนผมไปฟังอาจารย์ฆราวาสที่พวกเขานับถือซึ่งเปิดบ้านของตัวเองสอนอภิธรรมที่ ชะอำ ผมถูกรบเร้าอยู่หลายครั้งจึงลองไปฟังดู แต่พอได้ฟังเขาบรรยายว่า ศาสนา คริสต์เอาปรมัตถธรรมไปจากพุทธศาสนา เมื่ออเล็กซานเดอร์มหาราชยกทัพมาโจมตีอินเดียแล้วเอาปรมัตถธรรมจากพุทธศาสนา ไป ให้โมเสสซึ่งเป็นบุตรบุญธรรมนำไปบรรจุไว้ในศาสนาคริสต์


ผมถามว่าที่เขาเล่ามาเขาอ้างอิงหลักฐานอะไร และปรมัตถธรรมอะไรของพุทธศาสนาที่ถูกนำไปบรรจุไว้ในศาสนาคริสต์ แต่คำตอบของเขาคลุมเครือมาก ผมจึงติงว่าคำอธิบายแบบนี้มันเป็นการ จับแพะชนแกะ

ทว่า ลีลาการพูดของเขาชวนให้คนที่อาจไม่มีพื้นความรู้ด้านพุทธศาสนาดีพอเคลิบเคลิ้ม และหลงเชื่อได้ว่าเขาคือผู้รู้จริง สไตล์ของเขาคือใช้วิธีอธิบายไปข่มคนอื่นๆ ไปว่า พระทุกวันนี้สอนพุทธศาสนากันผิดๆ แม้แต่พุทธทาสก็เข้าใจอภิธรรมไม่ถูกต้อง เป็นต้น หลังจากนั้นผมก็ไม่ไปฟังอาจารย์คนนี้อีกเลย พยายามอธิบายแง่มุมอื่นๆ ของความเป็นพุทธศาสนาให้นักศึกษากลุ่มที่ไปเป็นศิษย์ของอาจารย์ผู้นี้ที่มา ตั้งชมรมของพวกเขาเอง แต่ไม่เป็นผล พวกเขา ปิดประตูความคิดอย่างสนิท ใครที่เห็นต่างจากที่อาจารย์ของพวกเขาสอนล้วนแต่เข้าใจพุทธศาสนาผิดหรือไม่ รู้จริงทั้งสิ้น


หลังจากการสนทนาจบลงด้วยข้อสรุปว่า หน่วยงานที่เชิญไปเป็นวิทยากรควรรับผิดชอบค่าใช้จ่าย ดูเหมือนว่านักศึกษาชมรมดังกล่าวไม่ค่อยพอใจนัก พวกเขาบอกว่าพวกเขากำลังทำตามแนวทางของในหลวงคือ จะปกครองแผ่นดินโดย ธรรมเพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยามโดยพวกเขาจะนำคำสอนที่แท้จริงของพุทธศาสนากลับมาแก้ปัญหาสังคมไทย พวกเขาทำงานด้วยความเสียสละ ถ้ามหาวิทยาลัยจะไม่สนับสนุนก็ไม่เป็นไร


ผมเองก็เข้าใจเจตนาดีของนักศึกษาชมรมพุทธศาสนาดังกล่าวดี อยากจะช่วยแต่มหาวิทยาลัยไม่มีงบประมาณที่ตั้งไว้ในแผน


แต่ที่รู้สึกสะเทือนใจก็คือว่า สังคมเรามีการปลูกฝังเรื่องทางศีลธรรมกันมาอย่างไร ทำไมคนที่คิดว่าตัวเองกำลังทำกิจกรรมอะไรในนามพุทธศาสนา ในนามของการทำเพื่อในหลวง จึงคิดว่าสิ่งที่ตัวเองทำจะต้องถูกโดยไม่มีข้อโต้แย้ง และเป็นเรื่องที่ต้องได้รับการสนับสนุนเสมอ ใครไม่เห็นด้วยหรือไม่ให้การสนับสนุนคือคนผิด หรือเป็นคนที่ไม่เข้าใจ ไม่เห็นคุณค่าของการส่งเสริมศีลธรรม ที่สำคัญคนเหล่านี้เขาประเมินตัวเองจากกอะไรจึงถึงกับกล้าสรุปว่า พวกเขาคือผู้จะนำศีลธรรม นำปัญญาที่ถูกต้องกลับมาสู่สังคม


ทั้งที่จริงๆ แล้ว สิ่งที่เขากำลังจะทำและคิดว่าดีแก่สังคมมันอาจไม่ดีอย่างเขาคิดก็ได้ เหมือนกับที่มีการอ้างธรรมนำหน้า อ้างความรักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ เพื่อสร้าง อำนาจทางศีลธรรมไปกดข่มฝ่ายที่เห็นต่างจนทำให้เกิดปัญหาต่อการเปลี่ยนผ่านสังคมไปสู่ความเป็นประชาธิปไตยดังที่เห็นกันอยู่ทุกวันนี้


แล้วการอ้างศีลธรรม อ้างความดีงามต่างๆ บางครั้งมันก็แสดงให้เห็นถึงความใจแคบ มีนัยของการใช้อำนาจบังคับคนอื่นๆ รวมทั้งอาจอำมหิตต่อเพื่อนมนุษย์ที่มีความคิดเห็น มีอุดมการณ์แตกต่างอย่างเลือดเย็น!

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น