สนับสนุนการทำกิจกรรม ส่งเสริมประชาธิปไตยของชาวเชียงใหม่ ร่วมกับศูนย์ประสานงานกลาง นปช.แดงเชียงใหม่

ชื่อบัญชี นปช.แดงเชียงใหม่ ธนาคารออมสิน เลขที่บัญชี 02 0012142 65 7 ( มีผู้รับผิดชอบบัญชี 3 ท่าน )

ติดต่อเรา deangchiangmai@gmail.com

ราบสวัสดี พี่น้องทุกๆท่านที่เข้ามาเยี่ยมเยือน บล็อค นปช.แดงเชียงใหม่ ขอเรียนชี้แจงสักนิดว่า เรา ”แดงเจียงใหม่” เป็นกลุ่มคนชาวเจียงใหม่ที่เคารพรัก กติกาประชาธิปไตย ต่อสู้และต่อต้านเผด็จการทุกรูปแบบ อยากเห็นประเทศชาติภายภาคหน้า มีความเจริญ ประชาชนรุ่นลูกหลานของเราอยู่อาศัยอย่างร่มเย็นเป็นสุขในประเทศของพวกเราเอง ไม่มีกลุ่มอภิสิทธิ์ชนกลุ่มใดมาสูบเลือดเนื้อ แอบอ้างบุญคุณเฉกเช่นในยุคนี้ที่พวกเราเห็น การที่จะได้รับในสิ่งที่มุ่งหวังก็ต้องมีการต่อสู้แสดงกำลังให้สังคมได้รับรู้ และเพื่อที่จะให้กลุ่มบุคคลที่มีอำนาจในปัจจุบันได้เข้าใจในสังคมที่ก้าวหน้าเปลี่ยนแปลงไป ไม่อาจฝืนต่อกระแสการพัฒนาของโลก การต่อสู้ร่วมกับผองชนทั่วประเทศในครั้งนี้ เรา “ แดงเจียงใหม่ “ ได้ร่วมต่อสู้ทุกรูปแบบ และในรูปแบบที่ท่านได้เข้ามาร่วมอยู่นี้ คือการเผยแพร่ข่าวสารต่อสังคม เรา “ แดงเจียงใหม่ “ ได้สร้างเวปบล็อคไว้ 2 ที่ คือที่นี่ “ แดงเจียงใหม่” สำหรับการบอกกล่าวในเรื่องทั่วไป และอีกที่หนึ่งคือ “ Daeng ChiangMai “ สำหรับข่าวสารที่เราเห็นว่ามีประโยชน์ต่อการรับรู้ข่าวสารในการร่วมทำกิจกรรมของพี่น้องประชาชน


เชิญร่วมสร้างขวัญ และกำลังใจให้เพื่อนพ้องน้องพี่ร่วมกันครับ
“แดงเจียงใหม่” " Daeng ChiangMai "

รักประชาธิปไตยไม่เอาเผด็จการ ต่อต้านการรัฐประหารทุกรูปแบบ สร้างขวัญกำลังใจและความสุขเพื่อปวงชน

การสังหารหมู่ที่กรุงเทพฯ : สมุดปกขาวโดยสำนักกฎหมาย Amsterdam & Peroff การสังหารหมู่ที่กรุงเทพฯ . ไพร่สู้บนเส้นทาง ๗๘ ปี ประชาธิปไตย ( ๒๔๗๕ - ๒๕๕๓ ) จรรยา ยิ้มประเสริฐ Voter's Uprising Thai

วันจันทร์ที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

กวีตีนแดง: พร่ำเพ้อถึงเสรีภาพในดินแดนแห่งความตอแหล


Thu, 2011-02-24 15:10

Homo erectus

1
เสรีภาพหนีหายไป
เมื่อความตอแหลแห่งชาติทำงาน
มันควบคุมทุกสรรพสิ่ง
ทั้งผู้คน สัตว์ และดิน ฟ้า อากาศ
พวกมันต่างพากันตอแหลกันถ้วนหน้า
นับจากวันที่ความตอแหลไม่ได้อยู่เพียงแต่ในจอแก้ว
มันหาที่สิงสถิตใหม่
ในคราบของปัญญาชน สื่อมวลชน ศิลปิน กวี ราษฎรอาวุโส ปราชญ์ชาวบ้าน
ดารา คนกรุงเทพ ราชนิกูล ผู้ดีไฮโซเหล่านั้น
ทุกผู้คนต่างแข่งขันกันตอแหลระดับอภิมหาเมพขิงๆ
ตอแหลเพื่อ…?

2
เสรีภาพก้มหน้าร้องไห้
ไม่มีพื้นที่เหลือสำหรับความจริงบนดินแดนนี้
มันจึงหลั่งน้ำตาแด่เธอและเขา...
หนุ่มสาวผู้หยัดทะนงต่อสัจจะ
พวกเขาต่างทยอยสูญเสียเสรีภาพแก่คุก
แต่เสรีภาพหาได้สูญเสียพวกเขาไปไม่
คนทั้งประเทศอาจตอแหลเพราะความกลัว
แน่นอน...ด้วยความตอแหลของกระบวนการยุติธรรม
เสรีภาพจึงถูกถวายเป็นสักการะ18 ปี
หนุ่มสาวมากมายทยอยเดินทางสู่ที่คุมขัง
ปิดปาก ปิดความคิดเห็น เพื่อธำรงความดีงามและเกียรติยศของเขา
หุบปากเพื่อ...?

3
ลอร์ดแห่งความตอแหล
ช่ำชองยิ่งในการสร้างภาพ
ทุกหลุมที่ขุดดักเสรีชนไว้ทำงานได้อย่างดี
เปลี่ยนสมองประชาชนให้โง่เหมือนลา
และจิตใจด้านชาเหมือนเขาผู้ไม่เคยยิ้มออก!
ประเทศนี้ไม่ต้องการรอยหยักของสมองเท่าฟองน้ำลายที่มุมปาก
น้ำลายแห่งความตอแหลและสอพลอเพื่อ...?

4
112 เครื่องมือกดขี่อย่างสมบูรณ์แห่งราชอาณาจักร
ความรักที่มิอาจถูกตรวจสอบ
ประชาไพร่จึงน้อมนอบเสียยิ่งกว่ายุคสมัยแห่งการหมอบคลานอย่างเป็นทางการ
ยุคสมัยที่ความหมายของถ้อยคำถูกบิดเบือน
ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข!
บลา บลา บลา
มันจะต่างอะไรกับถ้อยคำที่แตกต่างระหว่างการมีชู้กับการมีกิ๊ก
เมื่อความหมายนั้นมันพร่าเลือนไป
เสรีภาพและการกดขี่จึงสมสู่เป็นเนื้อเดียวกัน
และออกลูกแพร่พันธุ์ไปทั่วดินแดน
โอ้...คารวะแด่ความตอแหล
ณ ดินแดนก้องนาม ตอแหลแลนด์”.

http://prachatai.com/journal/2011/02/33277

กวีตีนแดง : บ้านเลขที่ ๑๑๒



Sat, 2011-02-26 15:39


วฒน


ข้างรั้วบ้านเลขที่ ๑๑๒

ใครใคร่ตื่นไตร่ตรองความแตกต่าง

ช่องว่างความเป็นใหญ่-ความไร้ยาง

หัวใจใครบอบบางในขณะนี้

หรือท่านกักขังเสรีภาพ ?

เพียงให้เมืองรับทราบการกดขี่

ยิ่งสูงสุดยิ่งสับปลับยิ่งอัปรีย์

เมืองนี้ไม่มีดีแล้วปรารถนา

หรือท่านกักขังสิทธิมนุษยชน ?

เพียงเพื่อบำเรอเปรอปรนรักบอดบ้า

สั่งสมความกำหนัดเต็มอัตตา

ให้คลั่งลัทธิบูชาให้ชื่นชม

หรือท่านกักขังความเสมอภาคทางความคิด ?

ออกกฎหมายจับคนผิด ---ไม่คิดก้ม

แล้วเชื้อเชิญความมักง่ายอันโง่งม

ให้สมยอมเสพสมหลุมหล่มรัก

เพียงเท่านั้น---ไม่อาจปลดพันธนาการความรู้สึก

มหานครร้าวลึกในรอยหยัก

จริยธรรม คุณธรรม --- ยิ่งสำลัก

มหานครย่ำจมปลักกับกลียุค ..


............................................

ที่มา:บ้านเลขที่ ๑๑๒

http://prachatai.com/journal/2011/02/33300

สุรพศ ทวีศักดิ์ : เรื่องเล่า “ศีลธรรมอำมหิต”

Mon, 2011-02-28 14:38


สุรพศ ทวีศักดิ์


จำได้ว่าราวสองปีที่แล้ว มีพระจากวัดใหญ่แห่งหนึ่งแถวประทุมธานีมาเสนอโครงการเกี่ยวกับการจัดอบรม ศีลธรรมโลกหรืออะไรสักอย่าง เสร็จแล้วผู้บริหารก็ให้มาคุยกับผม เมื่อพระท่านเล่ารายละเอียดให้ฟังว่ากิจกรรมในโครงการจะต้องมีการซื้อ หนังสือธรรมะ มีค่าใช้จ่ายในการสมัครสอบ มีการนำนักศึกษาเข้าร่วมกิจกรรมกับทางวัดเป็นครั้งๆ ซึ่งทั้งหมดนั้นสรุปได้ว่าจำเป็นต้องบังคับหรือเกณฑ์นักศึกษาเข้าร่วม โครงการ โดยทางมหาวิทยาลัยจะต้องรับผิดชอบในการจัดการทั้งหมดนั้นให้ด้วย (ส่วนค่าใช้จ่ายอาจจะต้องให้นักศึกษาออกเงินเอง แต่ถ้าเข้าร่วมในระยะนี้ทางวัดก็มีโปรโมชั่นจัดส่วนลดเรื่องค่าใช้จ่ายให้)


ผมฟังท่านเล่าจบ ก็ตอบท่านไปตามตรง (คือผมไม่ชอบพูดอะไรอ้อมค้อม) ว่า ผม ไม่เห็นด้วยกับการบังคับหรือเกณฑ์เด็กเข้าร่วมกิจกรรมมอบรมศีลธรรม เรื่องแบบนี้ควรปล่อยให้เป็นความสมัครใจของเด็กเอง ทางวัดอาจจะติดโปสเตอร์ประชาสัมพันธ์โครงการแล้วก็ให้เด็กเขาติดต่อสมัคร เข้าร่วมโครงการเองจะดีกว่า

พอผมพูดจบสังเกตเห็นว่า พระท่านแสดงสีหน้าไม่ค่อยพอใจ และพูดขึ้นว่า ถ้า คิดแบบโยมโครงการของวัดก็คงทำไม่สำเร็จ อาตมาไปมาหลายที่ก็ได้รับความร่วมมือจากผู้บริหารของสถาบันการศึกษาต่างๆ เป็นอย่างดี เขายอมเกณฑ์เด็กเข้าร่วมกิจกรรม เพราะเขารู้ว่าในที่สุดมันก็จะเกิดผลดีแก่ตัวเด็กโดยตรง โยมก็รู้ว่าเด็กสมัยนี้เป็นอย่างไร จะให้เขาสนใจศาสนาเองคงเป็นเรื่องยาก อาตมาอยากถามว่าการบังคับเด็กให้ทำความดีนี่มันผิดตรงไหน


ผมรู้สึกว่าบรรยากาศการสนทนากำลังตึงเครียด แต่ก็ยังตอบพระไปว่า ผม เข้าใจว่าการบังคับเด็กให้ทำความดีนี่ผิดหลักการของพุทธศาสนาครับ ผมอาจจะเข้าใจผิดก็ได้ คือผมไม่เคยพบหลักฐานว่าพระพุทธเจ้าหรือพระสงฆ์สาวกบังคับให้ใครทำความดี หรือกะเกณฑ์ให้ใครๆ มาศึกษาปฏิบัติธรรม คนที่สนใจเขาก็เข้ามาหาพระพุทธเจ้าเอง เมื่อเขาฟังพระพุทธเจ้าแสดงธรรมหรือสนทนากับพระองค์แล้ว เขาเห็นว่าข้อคิดนั้นมีเหตุผลเขาก็นำไปปฏิบัติ เคยมีด้วยซ้ำไปครับที่มีคนนับถือศาสนาอื่นมาฟังธรรมแล้วเลื่อมใสจะเปลี่ยนมา นับถือพระรัตนตรัย แต่พระพุทธเจ้ากลับเตือนให้เขาทบทวนการตัดสินใจ แสดงว่าพระองค์ไม่กระหายลูกศิษย์ใช่ไหมครับ โดยเฉพาะการศึกษาปฏิบัติธรรมในสมัยนั้นก็ไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ ด้วย ไม่มีบรรยากาศของการหมอบกราบฟังพระเพื่อที่จะเชื่อโดยไม่ต้องโต้แย้งเหมือน สมัยนี้


คำพูดของผมยิ่งไปเพิ่มบรรยากาศการสนทนาให้ตึงเครียดมากขึ้น ผมรู้สึกว่าการสนทนากับพระวันนี้ไม่มีบรรยากาศของความสงบเย็นเลย หลังจากนิ่งไปพรรคหนึ่งพระท่านก็เป็นฝ่ายสรุปการสนทนาว่า เอาล่ะถ้า โยมจะมีทิฐิอย่างนั้น ก็เป็นเรื่องของโยม อาตมาถือว่าวันนี้ได้ทำหน้าที่ของตนเองแล้วคือเอาบุญมาฝากโยม ...หมดธุระแล้วอาตมาต้องขอตัวกลับก่อนนะ


พระท่านกล่าวลาด้วยท่าทีที่สงบสำรวม แต่เป็นท่าทีสงบสำรวมที่ทำให้ผมรู้สึก เย็น ยะเยียบผมไม่เข้าใจความหมายของคำว่า เอาบุญมาฝากโยมและหากผมเห็นต่างจากพระผมจำเป็นต้องกลายเป็น คนบาปด้วยหรือ เมื่อพระมาขอความร่วมมือในการทำโครงการอบรมศีลธรรม เรามีสิทธิจะให้ความร่วมมือหรือไม่ก็ได้ไม่ใช่หรือ พระไม่ควรจะแสดงออกถึงการอ้าง อำนาจทางศีลธรรมมาบังคับเราให้ร่วมมือ หรือเพื่อใช้เราไปบังคับให้เด็กเข้าร่วมกิจกรรมอบรมศีลธรรมอีกต่อหนึ่ง (โดยเฉพาะเมื่อเด็กต้องออกค่าใช้จ่ายจำนวนไม่น้อย)


และเมื่อเร็วๆ นี้ มีนักศึกษาจากชุมรมพุทธศาสนามาบอกกับผมว่า พวกเขาต้องการให้มหาวิทยาลัยจัดรถตู้พร้อมทั้งเบี้ยเลี้ยงให้คนขับรถ เบี้ยเลี้ยงให้สมาชิกชมรมที่ไปทำกิจกรรมซึ่งเขาได้รับเชิญไปอบรมความรู้ทาง พุทธศาสนาที่หน่วยงานราชการแห่งหนึ่งแถวจังหวัดสุรินทร์ ผมถามว่าค่าใช้จ่ายพวกนี้ทางหน่วยงานที่เขาเชิญเราไปควรเป็นผู้รับผิดชอบมิ ใช่หรือ


และบังเอิญอ่านในโครงการมีเขียนไว้ในวัตถุประสงค์ข้อหนึ่งว่า เพื่อ นำคำสอนที่แท้จริงของพุทธศาสนากลับมาสู่สังคมไทยและเป็นการปฏิบัติตามพระปฐม บรมราชโองการของในหลวงเราจะครองแผ่นดินโดยธรรมเพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม


ผมเลยลองถามเพื่อจะร่วมแลกเปลี่ยนว่า เรามั่นใจได้อย่างไรว่า จะนำคำสอนที่แท้จริงของพุทธศาสนากลับมาสู่สังคมไทยแต่คำตอบที่ได้ต้องทำให้ผมถึงกับอึ้ง คือถ้าอาจารย์อยากรู้อาจารย์ต้องมาเรียนกับพวกผมผมเลยถามต่อว่าแล้วอะไรคือคำสอนที่แท้จริงของพุทธศาสนาเขาตอบว่าคำสอนที่แท้จริงคือปรมัตถสัจจะเป็นคำตอบเดียวของพระพุทธเจ้า


คำตอบนี้ทำให้ผมนึกถึงเมื่อปีก่อน มีนักศึกษาคนหนึ่งในชมรมนี้ ชวนผมไปฟังอาจารย์ฆราวาสที่พวกเขานับถือซึ่งเปิดบ้านของตัวเองสอนอภิธรรมที่ ชะอำ ผมถูกรบเร้าอยู่หลายครั้งจึงลองไปฟังดู แต่พอได้ฟังเขาบรรยายว่า ศาสนา คริสต์เอาปรมัตถธรรมไปจากพุทธศาสนา เมื่ออเล็กซานเดอร์มหาราชยกทัพมาโจมตีอินเดียแล้วเอาปรมัตถธรรมจากพุทธศาสนา ไป ให้โมเสสซึ่งเป็นบุตรบุญธรรมนำไปบรรจุไว้ในศาสนาคริสต์


ผมถามว่าที่เขาเล่ามาเขาอ้างอิงหลักฐานอะไร และปรมัตถธรรมอะไรของพุทธศาสนาที่ถูกนำไปบรรจุไว้ในศาสนาคริสต์ แต่คำตอบของเขาคลุมเครือมาก ผมจึงติงว่าคำอธิบายแบบนี้มันเป็นการ จับแพะชนแกะ

ทว่า ลีลาการพูดของเขาชวนให้คนที่อาจไม่มีพื้นความรู้ด้านพุทธศาสนาดีพอเคลิบเคลิ้ม และหลงเชื่อได้ว่าเขาคือผู้รู้จริง สไตล์ของเขาคือใช้วิธีอธิบายไปข่มคนอื่นๆ ไปว่า พระทุกวันนี้สอนพุทธศาสนากันผิดๆ แม้แต่พุทธทาสก็เข้าใจอภิธรรมไม่ถูกต้อง เป็นต้น หลังจากนั้นผมก็ไม่ไปฟังอาจารย์คนนี้อีกเลย พยายามอธิบายแง่มุมอื่นๆ ของความเป็นพุทธศาสนาให้นักศึกษากลุ่มที่ไปเป็นศิษย์ของอาจารย์ผู้นี้ที่มา ตั้งชมรมของพวกเขาเอง แต่ไม่เป็นผล พวกเขา ปิดประตูความคิดอย่างสนิท ใครที่เห็นต่างจากที่อาจารย์ของพวกเขาสอนล้วนแต่เข้าใจพุทธศาสนาผิดหรือไม่ รู้จริงทั้งสิ้น


หลังจากการสนทนาจบลงด้วยข้อสรุปว่า หน่วยงานที่เชิญไปเป็นวิทยากรควรรับผิดชอบค่าใช้จ่าย ดูเหมือนว่านักศึกษาชมรมดังกล่าวไม่ค่อยพอใจนัก พวกเขาบอกว่าพวกเขากำลังทำตามแนวทางของในหลวงคือ จะปกครองแผ่นดินโดย ธรรมเพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยามโดยพวกเขาจะนำคำสอนที่แท้จริงของพุทธศาสนากลับมาแก้ปัญหาสังคมไทย พวกเขาทำงานด้วยความเสียสละ ถ้ามหาวิทยาลัยจะไม่สนับสนุนก็ไม่เป็นไร


ผมเองก็เข้าใจเจตนาดีของนักศึกษาชมรมพุทธศาสนาดังกล่าวดี อยากจะช่วยแต่มหาวิทยาลัยไม่มีงบประมาณที่ตั้งไว้ในแผน


แต่ที่รู้สึกสะเทือนใจก็คือว่า สังคมเรามีการปลูกฝังเรื่องทางศีลธรรมกันมาอย่างไร ทำไมคนที่คิดว่าตัวเองกำลังทำกิจกรรมอะไรในนามพุทธศาสนา ในนามของการทำเพื่อในหลวง จึงคิดว่าสิ่งที่ตัวเองทำจะต้องถูกโดยไม่มีข้อโต้แย้ง และเป็นเรื่องที่ต้องได้รับการสนับสนุนเสมอ ใครไม่เห็นด้วยหรือไม่ให้การสนับสนุนคือคนผิด หรือเป็นคนที่ไม่เข้าใจ ไม่เห็นคุณค่าของการส่งเสริมศีลธรรม ที่สำคัญคนเหล่านี้เขาประเมินตัวเองจากกอะไรจึงถึงกับกล้าสรุปว่า พวกเขาคือผู้จะนำศีลธรรม นำปัญญาที่ถูกต้องกลับมาสู่สังคม


ทั้งที่จริงๆ แล้ว สิ่งที่เขากำลังจะทำและคิดว่าดีแก่สังคมมันอาจไม่ดีอย่างเขาคิดก็ได้ เหมือนกับที่มีการอ้างธรรมนำหน้า อ้างความรักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ เพื่อสร้าง อำนาจทางศีลธรรมไปกดข่มฝ่ายที่เห็นต่างจนทำให้เกิดปัญหาต่อการเปลี่ยนผ่านสังคมไปสู่ความเป็นประชาธิปไตยดังที่เห็นกันอยู่ทุกวันนี้


แล้วการอ้างศีลธรรม อ้างความดีงามต่างๆ บางครั้งมันก็แสดงให้เห็นถึงความใจแคบ มีนัยของการใช้อำนาจบังคับคนอื่นๆ รวมทั้งอาจอำมหิตต่อเพื่อนมนุษย์ที่มีความคิดเห็น มีอุดมการณ์แตกต่างอย่างเลือดเย็น!

กวีประชาไท: ในประเทศที่มีแต่ละคร


Sun, 2011-02-27 18:52


พันธ์ศักดิ์ ศรีเทพ
อ่านในงานเทศกาลฝังความทรงจำ ณ สถาบันปรีดี พนมยงค์
วันนี้ วันอาทิตย์ที่ 27 กุมภาพันธ์ 2554
หลังเสียงเพลงเคารพธงชาติ


"ในประเทศที่มีแต่ละคร เราถูกสอนว่าตัวละครที่ติดเพชรแวววาว นั่งอยู่บนตั่งสูง ทุกคนประนมกรกราบไหว้ชาบู คือตัวละครพระราชา .."

ในประเทศที่มีแต่ละคร
เราถูกสอนว่าตัวละครที่ติดเพชรแวววาว
นั่งอยู่บนตั่งสูง
ทุกคนประนมกรกราบไหว้ชาบู
คือตัวละครพระราชา


ในประเทศที่มีแต่ละคร
ตัวละครพระราชา
มักจะมีแต่บทพูดจาสั่งสอนตัวละครอื่น
กระทั่งเรื่องที่ตัวเองทำไม่ได้
และไร้บทให้ตัวละครอื่นถาม

ในประเทศที่มีแต่ละคร
แม้จะชั่วช้าสามานย์
หากคุณรับบทพระราชา
ก็ไม่มีใครเกริมเหิม
ทุกคนล้วนแซ่ซ้องสรรเสริญตามบท


ในประเทศที่มีแต่ละคร
ตัวละครพระราชามักจะรวยอย่างไร้เหตุผล
ไม่ต้องทำมาหากิน
มีที่ดินจำนวนมาก
และเก็บเบี้ยบาทจากทาสไพร่

ในประเทศที่มีแต่ละคร
เมีย ลูกสาว ลูกสะใภ้พระราชา
มีไว้ประดับบารมี
บทบาทเพียงเพื่อสร้างสำราญผู้ชม
ในฉากตบตีว่าหมาใครน่ารักกว่ากัน

ในประเทศที่มีแต่ละคร
แม้จะมากทรัพย์สฤงคารมหาศาล
แต่ไม่เคยพอแบ่งให้ลูกหลาน
ตัวละครพระราชามักจะตรอมใจ
เฝ้าดูลูกหลานห้ำหั่นฟันฆ่ากันและกัน

ในประเทศที่มีแต่ละคร
ตัวละครพระราชา
ตรวจสอบความรักของไพร่ทาส
ด้วยการก่อสงครามกับรอบข้าง
แล้วใช้ไพร่ทาสให้ไปตายแทน


ในประเทศที่มีแต่ละคร
ตัวละครทหารเอกชำนาญศึก
มักจะมีสัมพันธ์ล้ำลึก
กับมเหสีแลสนมของพระราชา
ทิ้งให้พระองค์อยู่เหย้าอย่างเดียวดาย

ละครในประเทศที่เจริญแล้ว
ตัวละครพระราชามักน่าหัวร่อ
สะท้อนข้อบกพร่องของสังคม
น่าแปลก...พระราชาเหล่านั้นมักไม่ตายดี
แฮมเล็ต แม็คเบธ ริชาร์ด หลุยส์ ไกเซอร์ ซาร์ ฯลฯ

ละครในประเทศที่เจริญแล้ว
ไม่มีใครอยากเขียนบทพระราชาขึ้นมาใหม่
ไม่มีใครอยากรับบทพระราชาน่าหัวร่อ
เพราะยากที่จะเล่นให้ผู้ชมเชื่อตาม
พระราชาเป็นเพียงบทที่นำมาปัดฝุ่น ไม่ก็หลงยุคทะลุเวลา

ละครในประเทศที่เจริญแล้ว
ตัวละครสามัญชนรวยจนชั่วดี
ครอบครัวร้างรามีสุข
หรือตกทุกข์ได้ยาก
ต่างมีที่มาที่ไป


ในประเทศที่มีแต่ละคร
ร้างไร้ผู้คนบนท้องถนน
ละครขับกล่อมสังคม ให้ลืมความโสมมของชีวิต
เฝ้าลุ้นให้ข่าวฆ่าฟันรายงานจบสิ้น
จะได้เต็มอิ่มกับโลกในละคร.

ขอโทษที่ไม่ยินดี โดย กาหลิบ

คอลัมน์ เมืองไทยหรือเมืองใคร?

เรื่อง ขอโทษที่ไม่ยินดี

โดย กาหลิบ

เหตุ ที่ต้องขอโทษล่วงหน้า ก็เพราะใจอยากแสดงความยินดีจริงๆ ต่อแกนนำ นปช.แดงทั้งแผ่นดินทั้ง ๗ คนที่ได้รับการประกันตัวสู่อิสรภาพชั่วคราว ๙ เดือนในคุกเป็นช่วงเวลาที่ยาวนาน หากนานไปกว่านี้ก็อาจส่งผลกระทบถาวรในทางร่างกายและจิตใจได้ การได้ออกมาจึงเป็นความโล่งใจเปลาะหนึ่งของคนที่ยังมีมิตรภาพต่อกัน

แต่จะให้ถึงขั้นรู้สึกยินดีนั้น ทำไม่ได้และจะไม่ทำ

ความ จริงแทบไม่ต้องอธิบายเหตุผลเรื่องนี้กับผู้ร่วมอุดมการณ์อย่างต่อเนื่อง แต่สำหรับบางท่านที่เคลิบเคลิ้มกับละครฉากใหญ่ในบ้านเมืองขณะนี้ ซึ่งอาจจะงงงันสับสนว่า ทำไมถึงไม่ยินดีปรีดาไปกับท่านด้วย เราคงต้องลำดับความกันอีกสักครั้ง

ที่ยินดีไม่ได้ก็เพราะมีเหตุผลใหญ่ ๓ ประการ

ประการ แรก การปล่อยตัวแกนนำ ๗ คนจากเกือบสองร้อยคนสู่อิสรภาพชั่วคราว เกิดขึ้นใน ๒๔ ชั่วโมงเดียวกับการจับกุมตัว นายสุรชัย ด่านวัฒนานุสรณ์ หรือ สุรชัย แซ่ด่าน ประธานแดงสยาม หลังจากเข้าร่วมกิจกรรมที่เจดีย์ขาวใกล้ท้องสนามหลวง ฐานความผิดที่นำมากล่าวหาคือมาตรา ๑๑๒ ของประมวลกฎหมายอาญา ตามอำนาจของรัฐธรรมนูญหมวด ๒ นั่นคือความผิดฐานหมิ่นกษัตริย์และอื่นๆ ที่เกี่ยวกับกษัตริย์ การจู่โจมจับกุมครั้งนี้กระทำกันกลางดึกในซอยเปลี่ยวแถวนนทบุรี โดยคนที่เชื่อว่าเป็นตำรวจนอกเครื่องแบบเป็นจำนวนมากที่มีอาวุธครบมือ

ไม่ ต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญหรือข่าวกรองที่ไหนมาช่วยวิเคราะห์ สาธุชนย่อมเข้าใจได้เองว่า นี่ย่อมเกิดจากข้อตกลงระหว่างผู้มีอำนาจในเมืองไทยกับตัวแทนของฝ่าย นปช.แดงทั้งแผ่นดิน ตัวแทนของผู้มีอำนาจจะเป็นใครไม่รู้ แต่ตัวแทนฝ่าย นปช.ฯ ชัดเจนแล้วว่าคือ พลตรีสนั่น ขจรประศาสน์ ที่คนทั้ง ๗ เดินทางไปกราบทันทีที่ก้าวออกมาจากคุก

คำ ถามคือข้อตกลงนั้นจะทำให้มวลชนของเราได้ประชาธิปไตยหรือไม่ ถ้า นปช.ฯ ยอมรับเงื่อนไขของระบอบศักดินา-อำมาตยาธิปไตยจนถึงขั้นจำกัดบทบาทตัวเองใน ทางการเมือง และยอมให้คนที่ลุกขึ้นสู้ด้วยความห้าวหาญอย่าง นายสุรชัย ด่านวัฒนานุสรณ์ และพี่น้องร่วมคุกที่ไม่มีชื่อเสียงเท่าแกนนำทั้ง ๗ อีกเกือบสองร้อยคน ช่วยติดคุกแทนตน

ต่อ ให้ขึ้นเวทีแสดงอิทธิฤทธิ์หรือให้สัมภาษณ์ช่องแดงช่องเขียวกันอย่างหยาด เยิ้มว่าเราจะต่อสู้ต่อไปหรือเราจะไม่มีวันลืมเพื่อนร่วมคุก เราก็จะเห็นว่าเป้าหมายต่อสู้จะเหลือแค่พรรคประชาธิปัตย์กับบรรดาลูกน้องผู้ มีอำนาจ แต่จะเอาโวหารมาเชือดเฉือนอย่างมันปากจนชาวบ้านบางคนอาจหลงเชื่อว่าเป็นการ ต่อสู้อย่างแท้จริง เสียเวลามวลชนซ้ำซากกันไปอีกหลายเดือนหลายปีจนไดดเลือกตั้งสมใจ ท้ายที่สุดเมื่อมวลชนนึกขึ้นได้ว่าทั้งหมดนี้ไม่มีประโยชน์ ก็อาจหมดแรงเลิกชุมนุมกันไปเอง ส่วนใครที่มันดื้อรั้นไม่ยอมก้มหัวให้ ก็จับใส่คุกแบบขังลืมหรือไล่ฆ่าอย่างเงียบๆ ไม่ให้ใครรู้เห็น หรือถึงทาง นปช.ฯ จะรู้เห็นก็คงไม่เข้ามาร่วมทุกข์ เหมือนที่ไม่ยอมเอ่ยปากถึงการจับกุมนายสุรชัยฯ แม้แต่คำเดียว เพราะอาจขัดผลประโยชน์และความสุขของตน

ประการ ที่สอง การไม่เจรจาเผื่อผู้ร่วมคุกอีกเกือบ ๒๐๐ คนซึ่งเป็นผู้ร่วมชะตากรรม และการที่แกนนำไม่ประกาศจุดยืนเคียงบ่าเคียงไหล่กับมวลชนเหล่านั้น ถึงขั้นที่ควรปฏิเสธอิสรภาพ หากอิสรภาพนั้นจะตกอยู่กับคนเพียง ๗ คน เป็นการส่งสัญญาณที่ไม่เป็นคุณต่อขบวนประชาธิปไตย

การ ต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยในระบอบศักดินา-อำมาตยาธิปไตยเป็นเรื่องยากลำบาก ไม่มีทางที่จะทำสำเร็จได้โดยคนเพียง ๗ คนหรืออดีตนายกรัฐมนตรี ๑ คน เราต้องขอความช่วยเหลือมวลชนจำนวนมากที่สุดให้เข้าร่วมในกิจกรรมที่หลากหลาย ที่สุด บนดิน ใต้ดิน ในเวทีชุมนุม นอกเวทีชุมนุม ทั้งงานที่มีองค์กรนำควบคุมชี้นำ และกิจกรรมธรรมชาติของมวลชน การส่งสัญญาณใดๆ ในขบวนจะต้องคำนึงถึงความรู้สึกร่วมเช่นนี้เป็นสำคัญ

แนวคิดที่ว่าเอาตัวแกนนำออกมาก่อนเถิด มวลชนจะได้มี หัวคือแนวคิดที่ล้าหลัง น่าแปลกใจที่ยังมีผู้เชื่อว่า มวลชนตาสว่างในวันนี้สามารถ ถูกนำได้ มวลชนปัจจุบันก้าวหน้าและกล้าหาญกว่าเวทีมานานแล้ว ปรากฏการณ์ปัจจุบันที่เกิดแนว แดงสยามขึ้นควบกับ นปช.แดงทั้งแผ่นดินยิ่ง ทำให้สิ่งที่มวลชนลังเลและเคลือบแคลงใจในอดีตหมดสิ้นไป จากนี้ไปแนวคิดปฏิวัติย่อมจะชัดเจนขึ้น วิธีการในการบรรลุถึงเป้าหมายเท่านั้นเองที่ต้องวางกันให้ชัดเพื่อให้มวลชน ตาสว่างมองเห็นความเป็นไปได้

ประการ ที่สามซึ่งเป็นข้อสุดท้าย ในการเจรจาเยี่ยงนี้ วีรชนแห่งเดือนเมษายนและพฤษภาคมของเราที่ตายเป็นร้อยๆ หายไปไหน ความตายกลางถนนหลวงและกระจายไปทั่วประเทศไทย ด้วยฝีมือคนประเภทเดียวกับคนที่ตัวแทน นปช.ฯ ไปเจรจาด้วย ไม่มีความสำคัญใดๆ เลยหรือ

ใคร เตรียมจัดงานเฉลิมฉลอง หรือจะจัดคอนเสิร์ตแบบไม่รู้ร้อนรู้หนาวอย่างไรก็ทำไปเถิด แต่ใจเราไม่อาจยอมรับการก้าวข้ามศพวีรชนกันอย่างนี้ได้

หวังว่าเหตุผลสามประการนี้คงชัดเจนพอสำหรับคนที่มีหัวใจ.

เจ้าการะเกด

เจ้าการะเกด

http://www.youtube.com/v/JvAcdhd0gG0

garaged

http://www.youtube.com/v/vMk5W7cZRpk

garaged 2

http://www.youtube.com/v/iwgD05JhYew

วันศุกร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ความมั่นคงของแดงสยาม โดย กาหลิบ


คอลัมน์ เมืองไทยหรือเมืองใคร?

เรื่อง ความมั่นคงของแดงสยาม

โดย กาหลิบ

น่า ประหลาดใจจริงๆ สำหรับแดงสยาม ซึ่งเป็นกลุ่มผู้สนับสนุนแนวความคิดปฏิวัติประชาธิปไตยไทยในขณะนี้ หลังการดักจับกุมตัว นายสุรชัย ด่านวัฒนานุสรณ์ หรืออาจารย์สุรชัย แซ่ด่าน ผู้ทำหน้าที่ประธานแดงสยามในข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพแล้ว มวลชนผู้สนับสนุนทั้งหลาย ถึงจะรู้สึกเศร้าใจและเกิดความรวนเรอยู่ในใจบ้างก็กลับเดินหน้าต่ออย่างไม่ สะทกสะท้าน ผู้มีแนวความคิดแดงสยามยังนัดหมายรวมกันต่อไปทั่วประเทศและในต่างประเทศ มีทั้งกลุ่มเล็กและกลุ่มใหญ่ แถมยังวางงานทั้งเปิดเผยและปิดลับกันอย่างเป็นระบบต่อเนื่อง เหมือนจะบอกให้ฝ่ายศักดินา-อำมาตย์ได้รู้ทีเดียวว่า เดินเกมผิดไปแล้วด้วยการจับกุมอาจารย์สุรชัย

เมื่อ หนึ่งขวบปีที่แล้วพอดิบพอดี คือวันพฤหัสบดีที่ ๒๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๕๓ แดงสยามประกาศตัวกลางท้องสนามหลวงอย่างกึกก้องท่ามกลางผู้สนับสนุนตาสว่าง จำนวนมาก คำประกาศในค่ำคืนนั้นยังคงเป็นหลักของวันนี้ ละจะเป็นหลักเรื่อยไปจนกว่างานปฏิวัติประชาธิปไตยยไทยสัมฤทธิ์ผล ลองอ่านทบทวนดูอีกสักครั้งแล้วจะรู้เองว่าแดงสยามเสนอแนวคิดใดต่อสังคมไทย และเหตุใดแนวทางอื่นที่น้อยไปกว่านี้จะประสบความล้มเหลวในการสร้าง ประชาธิปไตยอันแท้จริง:

คำประกาศแดงสยาม

วันพฤหัสบดีที่ ๒๕ กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๕๕๓

แดง สยามกำเนิดขึ้นในเมืองไทยแล้ว ตามสิทธิ เสรีภาพ และศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของปวงชนชาวไทย โดยไม่ต้องได้รับอนุญาตจากผู้ใด คนไทยทุกคนที่เคารพในตนเองและผู้อื่น ด้วยจิตใจอันเป็นประชาธิปไตยอย่างแท้จริง คือสมาชิกโดยธรรมชาติของแดงสยาม

นาน มาแล้วที่คนไทยถูกปฏิเสธสิทธิ เสรีภาพ และศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ โดยตกเป็นเครื่องมือของการโฆษณาชวนเชื่อด้วยอำนาจรัฐแบบเผด็จการ จนลุ่มหลงในทิศทางอันเป็นมิจฉาทิฐิ ระบบใดๆ ที่ถูกสร้างขึ้นมาในระบอบอันฉ้อฉล ย่อมนำมาซึ่งความเสื่อมทั้งของสังคมและสมาชิกทุกผู้ทุกนาม

เรา ถูกทำให้เชื่อว่าคนไทยไม่ต้องการความเปลี่ยนแปลง ทั้งๆ ที่ความเปลี่ยนแปลงสอดคล้องกับกฎเกณฑ์ทางประวัติศาสตร์และปรัชญาพื้นฐานของ ระบอบประชาธิปไตย

เราถูกทำให้เชื่อว่าประชาธิปไตยเป็นสิ่งเลวร้าย พรรคการเมืองไม่ใช่ทางออก สู้ระบอบเผด็จการอำมาตยาธิปไตยไม่ได้

เรา ถูกทำให้เชื่อว่าเศรษฐกิจอุปถัมภ์แบบอำมาตย์เป็นครรลองหลักของวิถีไทย ทั้งๆ ที่ผู้ชี้นำดำรงสภาพอยู่ในทุนนิยมชนิดล้าหลังและกำปัจจัยที่บันดาลความ มั่งคั่งทางเศรษฐกิจไว้ทั้งหมด

เรา ถูกทำให้เชื่อว่าเมืองไทยเป็นประชาธิปไตยแล้ว ทั้งๆ ที่กองทัพ ตุลาการ พรรคการเมือง ระบบราชการ ระบบการศึกษา สื่อมวลชน เป็นต้น ล้วนสนับสนุนความเป็นเผด็จการแทบทุกมิติ

แดง สยามต้องการให้ปวงชนชาวไทยได้รับสิทธิ เสรีภาพ และศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ โดยต่อสู้เพื่อให้เกิดประชาธิปไตยแท้จริงขึ้นในบ้านเมืองและจะต่อสู้โดยไม่ หยุดยั้งถึงจะใช้เวลานานขนาดข้ามรุ่นข้ามสมัย

โดยประชาธิปไตยที่แท้จริงนั้น ต้องมีปัจจัยชี้ขาดดังต่อไปนี้

๑. อำนาจสูงสุดต้องเป็นของปวงชนชาวไทย

๒. บุคคลต้องมีเสรีภาพอันบริบูรณ์

๓. สังคมต้องเสมอภาค

๔. กฎมายต้องศักดิ์สิทธิ์และเป็นธรรมด้วยมาตรฐานเดียวกัน

๕. ผู้ถืออำนาจรัฐแทนประชาชนต้องมาจากการเลือกตั้ง

ขอ เชิญปวงชนชาวไทยได้ตื่นขึ้นรับความสว่างอันเกิดขึ้นจากระบอบประชาธิปไตย และเห็นความมืดมนของฝ่ายเผด็จการที่ครอบงำสังคมไทยมาจนกระทั่งปัจจุบัน เพื่อสร้างสังคมประชาธิปไตยแท้จริงขึ้นเพื่อตัวเราและปวงชนชาวไทยรุ่นต่อๆ ไป

นี่คือภารกิจ แดงสยาม”.

*******************************************************************************

นั่น คือคำอธิบายว่าแดงสยามต้องการสิ่งใด และเหตุใดแนวคิดแดงสยามจะยิ่งแข็งแกร่งขึ้นหลังจากที่ระบอบศักดินา-อำมาตย์ ตัดสินใจส่ง พลตรีสนั่น ขจรประศาสน์ มา ปรองดองกับบางคนในหมู่ พวกเราและหันมาฆ่าฟันแดงสยามด้วยอำนาจรัฐโดยหวังให้ราบคาบ

มวล ชนแดงสยามก็คือมวลชน นปช. แดงทั้งแผ่นดิน เพียงจบการศึกษาระดับมัธยมแล้วมาต่อในระดับอุดมศึกษา เพิ่มความเข้าใจทางสังคมตามความตาสว่างเท่านั้นเอง

ถึงเวลาและได้สติ เราค่อยมารวมกันก็ได้ครับ.

http://www.democracy100percent.blogspot.com/

วันพุธที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

คณะราษฎรและเสรีไทย ในสงครามมหาเอเชียบูรพา

คณะราษฎรและเสรีไทย
ในสงครามมหาเอเชียบูรพา



ใน วันที่ 8 ธันวาคม 2484 กองทัพญี่ปุ่นยกพลขึ้นบกที่ประจวบคีรีขันธ์และอีกหลายจังหวัดภาคกลาง เปิดฉากสงครามมหาเอเชียบูรพา มีการต่อสู้อย่างดุเดือดเป็นเวลา 3 วัน เพื่อต่อต้านการรุกรานของมหาอำนาจหนึ่งเดียวในทวีปเอเชียในเวลานั้น แต่แล้วรัฐบาลไทย โดย จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี ยอมยุติการต่อสู้กับกองกำลังญี่ปุ่น และประกาศหยุดยิงในวันที่ 11 ธันวาคม จากนั้นตัดสินใจเดินหน้าเข้าร่วมวงไพบูลย์และทำพิธีลงนามร่วมเป็นพันธมิตร กับญี่ปุ่น ที่อุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในวันที่ 21 ธันวาคม เพื่อให้กองทัพญี่ปุ่นเดินทัพผ่านแผ่นดินไทย และในที่สุดก็ประกาศสงครามกับฝ่ายสัมพันธมิตรอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2485 อันเป็นการละเมิดต่อประกาศพระบรมราชโองการปฏิบัติความเป็นกลาง พ.ศ. 2482

ฝ่ายอังกฤษจึงประกาศสงครามกับไทยเพื่อเป็นการตอบโต้ อย่างไรก็ตามนายปรีดี พนมยงค์ ในฐานะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในรัชการที่ 8 และคณะราษฎรฝ่ายพลเรือน เช่น นายทวี บุณยเกตุ และ นายควง อภัยวงศ์ เป็นต้น ไม่เห็นด้วยกับการให้ญี่ปุ่นละเมิดอธิปไตยและแสดงจุดยืนให้ปรากฏโดยเป็นผู้ นำในการจัดตั้งองค์การต่อต้านญี่ปุ่น หรือต่อมาเรียกว่า "ขบวนการเสรีไทย" ประกอบด้วยคนไทยทุกชั้นวรรณะ ทั้งที่อยู่ในประเทศและอยู่ต่างประเทศ ทั้งนี้นายปรีดีไม่ยอมร่วมลงนามในประกาศสงครามนั้นด้วยเหตุผลสำคัญที่ว่าหาก ลงนามไปแล้วก็ยากที่จะให้ประเทศสัมพันธมิตรเชื่อถือการปฏิบัติการของขบวนการ เสรีไทย

ในฐานะผู้สำเร็จราชการฯ และหัวหน้าเสรีไทยในรหัสนามว่า "รูธ" (Ruth) นายปรีดีต้องทำงานในลักษณะตีสองหน้าตลอดช่วงสงคราม ทั้งถือเป็นหัวใจของการปฏิบัติงานของขบวนการเสรีไทยทั้ง 3 สาย คือ สายสหรัฐอเมริกา ซึ่งมี ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช เป็นหัวหน้า สายอังกฤษ ซึ่งมี ม.จ.ศุภสวัสดิ์วงศ์สนิท สวัสดิวัตน์ เป็นหัวหน้า และสายในประเทศ ซึ่งนายปรีดีเป็นทั้งหัวหน้าและเป็นทั้งศูนย์กลางการประสานงานเสรีไทยทั้งขบวนเข้าด้วยกัน ถือเป็นงาน "ใต้ดิน" และต้อง "ปิดลับ" ในระดับสูงสุด พลพรรคเสรีไทยจะรู้จักกันเฉพาะในหน่วยของตน และหัวหน้าหน่วยจึงจะมีการรวมกลุ่มจัดสายบังคับบัญชากันเป็นชั้นๆ โดยมีเป้าหมายหลัก 3 ประการ คือ

1. ต่อสู้กับญี่ปุ่นผู้รุกราน
2. ปฏิบัติการให้ฝ่ายสัมพันธมิตรรับรองเจตนารมณ์ที่แท้จริงของราษฎรไทย
3. ให้สัมพันธมิตรรับรองว่าประเทศไทยไม่ตกเป็นฝ่ายแพ้สงครามร่วมกับญี่ปุ่น


วันที่ 24 กรกฎาคม 2487 จอมพล ป. พิบูลสงคราม ถูกกดดันให้ลงออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เนื่องจากการเสนอร่าง พ.ร.บ.ระเบียบราชการบริหารนครบาลเพชรบูรณ์ ไม่ผ่านความเห็นชอบจากสภาผู้แทนราษฎร โดยนายควง อภัยวงศ์ขึ้นเป็นรัฐบาลรักษาการณ์

ต่อมาในวันที่ 1 สิงหาคม 2487 พลโท พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา ประธานคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ได้กราบถวายบังคมลาออกจากตำแหน่ง สภาผู้แทนราษฎรจึงได้ลงมติแต่งตั้งให้นายปรีดี พนมยงค์ เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์แต่ผู้เดียว และ 24 สิงหาคม จอมพล ป. พิบูลสงคราม ถูกปลดจากตำแหน่งผู้บัญชาการทหารสูงสุด

ในเดือน พฤษภาคม พ.ศ. 2488 นายปรีดีแจ้งให้สัมพันธมิตรทราบว่า เสรีไทยจำนวน 8 หมื่นคนทั่วประเทศพร้อมที่จะลุกฮือขึ้นเพื่อทำสงครามกับทหารญี่ปุ่นอย่าง เปิดเผย แต่ฝ่ายสัมพันธมิตรอ้างเหตุผลทางยุทธศาสตร์ขอให้ชะลอแผนนี้ไว้ก่อน

แต่ แล้วในที่สุดฝ่ายญี่ปุ่นก็ยอมแพ้สงครามอย่างไม่มีเงื่อนไขในวันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2488 หลังจากเครื่องบินของสหรัฐอเมริกาไปทิ้งระเบิดปรมาณูที่เมืองฮิโรชิมาและนา งาซากิ เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม

และในเวลาอันรวดเร็ว ฝ่ายสัมพันธมิตรก็แจ้งแก่หัวหน้าขบวนการเสรีไทยว่า สัมพันธมิตรไม่ถือว่าประเทศไทยเป็นผู้แพ้สงคราม ประเทศไทยไม่ต้องถูกยึดครอง รัฐบาลไทยไม่ต้องยอมจำนน กองทัพไทยไม่ต้องวางอาวุธ และขอให้ท่านรีบออกแถลงการณ์ในนามผู้สำเร็จราชการฯ ปฏิเสธการประกาศสงครามระหว่างไทยกับสัมพันธมิตร เพื่อลบล้างข้อผูกพันทั้งหลายทั้งปวงที่รัฐบาลไทยในสมัยหนึ่งได้ทำไว้กับ ญี่ปุ่น

ดังนั้นในวันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2488 นายปรีดี พนมยงค์ ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในพระปรมาภิไธย สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล จึง "ประกาศสันติภาพ" ดังความบางตอนว่า

"ประเทศ ไทยได้เคย ถือนโยบายอันแน่วแน่ที่จะรักษาความเป็นกลางอย่างเคร่งครัด และจะต่อสู้การรุกรานของต่างประเทศทุกวิถีทาง ดังปรากฏเห็นได้ชัดจากการที่ได้มีกฎหมายกำหนดหน้าที่คนไทยในเวลารบ พ.ศ. 2484 อยู่แล้วนั้น ความจำนงอันแน่วแน่ดังกล่าวนี้ได้แสดงให้เห็นประจักษ์แล้ว เมื่อญี่ปุ่นได้ยาตราทัพเข้าในดินแดนประเทศไทยในวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2484 ได้มีการต่อสู้การรุกรานทุกแห่ง ทหาร ตำรวจ ประชาชน พลเมืองได้เสียชีวิตไปในการนี้เป็นอันมาก"

"เหตุการณ์ อันปรากฏเป็น สักขีพยานนี้ ได้แสดงให้เห็นอย่างแจ่มแจ้งว่าการประกาศสงครามเมื่อวันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2485 ต่อบริเตนใหญ่และสหรัฐอเมริกา ตลอดทั้งการกระทำทั้งหลายซึ่งเป็นปรปักษ์ต่อสหประชาชาตินั้น เป็นการกระทำอันผิดจากเจตจำนงของประชาชาวไทยและฝ่าฝืนขืนขัดต่อบทบัญญัติ แห่งรัฐธรรมนูญและกฎหมายบ้านเมือง"

"จึง ขอประกาศโดยเปิดเผยแทน ประชาชนชาวไทยว่า การประกาศสงครามต่อสหรัฐอเมริกาและบริเตนใหญ่เป็นโมฆะ ไม่ผูกพันประชาชนชาวไทย ในส่วนที่เกี่ยวกับสหประชาชาติ ประเทศไทยได้ตัดสินที่จะให้กลับคืนมาซึ่งสัมพันธไมตรีอันดี อันเคยมีมากับสหประชาชาติเมื่อก่อนวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2484 และพร้อมที่จะร่วมมือเต็มที่ทุกทางกับสหประชาชาติในการสถาปนาเสถียรภาพในโลก นี้"


วันที่ 20 สิงหาคม รัฐบาลของนายควง อภัยวงศ์ ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี

วัน ที่ 1 กันยายน นายทวี บุณยเกตุ ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นนายกรัฐมนตรีในรัฐบาลรักษาการ ซึ่งรัฐมนตรีในรัฐบาลส่วนใหญ่อยู่ฝ่ายเสรีไทย และอีกเพียง 17 วันให้หลัง ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช เดินทางกลับจากสหรัฐอเมริกา เพื่อมาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี

จากนั้นในวันที่ 25 กันยายน 2488 นายปรีดีจึงประกาศยกเลิกขบวนการเสรีไทย

"ผู้ ที่ได้ร่วมงานกับข้าพเจ้าคราวนี้ ถือว่าทำหน้าที่เป็นผู้รับใช้ชาติ มิได้ถือว่าทำหน้าที่เป็นผู้กู้ชาติ การกู้ชาติเป็นการกระทำของคนไทยทั้งปวงซึ่งแม้ผู้ไม่ได้เข้าร่วมในองค์การ นี้โดยตรง ก็ยังมีอีกประมาณ 17 ล้านคน ที่ได้กระทำโดยอิสระของตนในการต่อต้านด้วยวิถีทางที่เขาเหล่านั้นสามารถทำ ได้"


พิมพ์ครั้งแรก โลกวันนี้ ฉบับวันสุข วันที่ 27 มิถุนายน – 2 กรกฎาคม 2552
คอลัมน์ พายเรือในอ่าง ผู้เขียน อริน

http://article.arinwan.com/2011/02/2475-2549-15.html?utm_source=twitterfeed&utm_medium=twitter

หยุดตาบอดคลำประชาธิปไตย

หยุดตาบอดคลำประชาธิปไตย

รุ่งโรจน์ วรรณศูทร


เป็นเรื่องเป็นไปไม่ได้ ที่ผมจะย้อนเวลากลับไปซุกตัวเงียบๆอยู่ในซอกหลืบของโลกหนังสือ ไม่ว่าจะในฐานะคนอยู่เบื้องหลัง หรือแม้กระทั่งพยายามเขียนสิ่งที่ตั้งใจจะเขียนเหมือนอย่างที่เป็นอยู่ใน เวลานี้ หรือไม่ก็พาตัวเข้าไปอยู่ในท่ามกลางมิตรสหายฝ่ายประชาธิปไตยอย่างที่ไมีมี ใครรู้จักเหมือนเมื่อก่อนเดือนธันวาคม 2552 ผมเขียนอะไรน้อยลง นำเสนออะไรน้อยลง กระทบกระทั่งผู้คนน้อยลง พลางก็นั่งดูการเคลื่อนไหวเป็นไป อย่างที่เห็นและเป็นอยู่ ด้วยข้อเท็จจริงที่ว่า ผมไม่ใช่นักพูดในที่สาธารณะ... อีกนัยหนึ่งคือ ผมไม่ได้เป็นนักวิชาการ อย่างที่ใครๆมักจะยัดเยียดให้ผมเป็น ผมเป็นแค่คนเรียนจบมัธยม ที่ไม่ยอมให้ตัวเองมีชีวิตอยู่กับความไม่รู้เท่านั้นเอง

จะเป็นด้วยวัยที่ความฮึกห้าวถูกแทนที่ด้วยความยับยั้งชั่งใจ หรือประสบการณ์เฉพาะตัวในการไม่ยอมก้อมหัวให้เผด็จการทรราชย์ และความมุ่งมั่นที่จะทุ่มอุทิศตัวแก่ภารกิจประชาธิปไตยนับจากวัยหนุ่มตลอด ระยะเวลาเฉียด 40 ปี คืออุปสรรคสำคัญในการสื่อสารกับผู้คนสมัยใหม่ และในจำนวนประสบการณ์นั้นคือประสบการณ์ที่หลายๆในขบวนสู้รบของประชาชนมักจะ กู่ร้องกันเสมอในยามยากลำบาก

"สู้..พ่ายแพ้ สู้ใหม่...พ่ายแพ้ สู้ใหม่จนชัยได้มา...."

ขณะเดียวกับที่วาทกรรมติดปากในระยะใกล้ๆ คือ คือ รู้หรือไหม ว่า... "ต่างฝ่ายต่างสู้อยู่กับใคร"

แต่คำถามที่มาก่อนคำถามอื่นก็ยังคงไม่ถูกถามอยู่นั่นเอง คือคำถามที่เกือบจะพบคำตอบที่เป็นสูตรสำเร็จคือ "รู้ๆกันอยู่แล้ว" หรือไม่ก็ "พูดไม่ได้" นั่นคือคำถามที่ว่า "สู้เพื่ออะไร"

แล้ว ขบวนก็ขับเคลื่อนไปวันต่อวัน สัปดาห์แล้วสัปดาห์เล่า เดือนแล้วเดือนเล่า ขบวนแถวที่ผู้คนมองเห็นแต่ฝูงชนเป็นกลุ่มก้อน คลุกเคล้าเข้าด้วยอารมณ์ความรู้สึกคล้ายคลึงกัน พูดจาไปในทิศทางเดียวกัน กับเรื่องราวเฉพาะหน้า กับเป้าหมายรูปธรรมเฉพาะหน้า สิ่งที่ยังคงขาดหาย คือ "การใส่ใจ" ที่จะรับฟังอย่างพินิจพิเคราะห์ใน "ความเห็นที่แตกต่าง" ออกไป รวมทั้งที่เริ่มตระหนักการวิเคราะห์รูปธรรมอย่างเป็นรูปธรรม

จนถึงเวลานี้ ในประเทศนี้ยังไม่เคยเกิดสิ่งที่เรียกว่า "แนวร่วมแห่งชาติ" ที่มีเป้าหมายเป็นเอกภาพชัดเจน ทั้งในรูปแบบความคิดทางประชาธิปไตย และทั้งที่เป็นเค้าโครงรูปการปกครองที่กำลังฟันฝ่าให้ได้มาก น่าเสียดาย ที่หลายคนยังคงยืนยันว่า "งวงคือช้าง" ขณะที่อีกหลายคนประกาศหนักแน่นว่า "งาคือช้าง"หรือที่ยิ่งไปกว่านั้นคือ "หางคือช้าง"

จากประสบการณ์ความเจ็บปวดชอกช้ำในความเป็นฝ่ายถูกกระทำมาตลอด 2 ปี บางทีนี่อาจถึงเวลาแล้วที่ประชาชน โดยเฉพาะประชาชนเสื้อแดง จะต้องเปิดใจให้กว้าง เพื่อจะค้นพบให้ได้ว่า "ช้างประชาธิปไตย" มีรูปร่างหน้าตาที่เป็นองค์รวมอย่างไร.

ประชาธิปไตยจงเจริญ ประชาชนจงเจริญ
ด้วยภราดรภาพ
รุ่งโรจน์ วรรณศูทร
10 ตุลาคม 2553; 01:46 น.

วันจันทร์ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

เสวนา ไทย อินโด มาเลย์: เผยประสบการณ์สื่ออินเทอร์เน็ตถูกปิดกั้น


Fri, 2011-02-18 02:01


เสรีภาพอินเทอร์เน็ตไทยเข้าขั้นเลวร้าย ตัวกลางถูกกดดัน อินโดนีเซีย เผชิญกลุ่มเคร่งศาสนา มาเลเซียเจอสารพัดกฎหมายควบคุมสื่อ


17 ก.พ.54 ศูนย์นโยบายสื่อมวลชนไทย คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาฯ ร่วมกับเครือข่ายพลเมืองเน็ต และซีป้า (Southeast Asia Press Alliance – SEAPA) จัดเสวนา เสรีภาพอินเทอร์เน็ตในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้: แนวคิดใหม่ อุปสรรคใหม่ (A Public Forum on Internet Freedom in Southeast Asia: New Frontier, New Barrier)” ที่ห้อง 210 ตึกมหาจุฬาลงกรณ์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

สุภิญญา กลางณรงค์, สตีเวน กัน บรรณาธิการบริหารมาเลเซียกินี และเมกิ มาจิออโน เจ้าหน้าที่พันธมิตรสื่อเสรี (AIJ) ร่วมอภิปรายหัวข้อการเมืองดิจิตอลทศวรรษหน้า : การปิดกั้นอินเทอร์เน็ตและเสรีภาพในการแสดงความเห็น (Southeast Asia’s Digital Politics in next Decade : Implications for Internet Censorship and Freedom of Expression)”


สุภิญญา กลางณรงค์
คณะกรรมการรณรงค์เพื่อการปฏิรูปสื่อ (คปส.)


ตั้งแต่ปี 2549 เป็นต้นมา มีการปิดกั้นเว็บไซต์เป็นจำนวนมาก รวมทั้งมีการปิดกั้นเว็บไซต์ YouTube.com เป็นเวลานาน และช่วงปีที่ผ่านมามีการใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ส่งผลให้เสรีภาพอินเทอร์เน็ตไทยเลวร้ายลงกว่าปี 2549 ที่มีการใช้กฎอัยการศึกทั่วประเทศ


ทางการปิดกั้นเว็บไซต์โดยไม่รอคำสั่งจากศาล พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ซึ่งเร่งออกโดยสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ก็เป็นกฎหมายที่ไม่สมบูรณ์ เมื่อบังคับใช้จึงเห็นความผิดพลาด และความไม่ชัดเจน

โดยปรกติการปิดกั้นเว็บไซต์ในประเทศไทยต้องขอคำสั่งจากศาล แต่งานวิจัยพบว่า มีการปิดกั้นยูอาร์แอลกว่า 70,000 ยูอาร์แอล โดยไม่มีคำสั่งจากศาลแต่ใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน และกระทรวงเทคโนโลยีและสารสนเทศ (ไอซีที) มีคำสั่งให้จับตาตัวแทนผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (ISP) จำนวน 125 ราย ซึ่งให้บริการในประเทศไทย


ขณะที่ ISP ร้องเรียนว่าไม่มีแนวปฏิบัติที่ชัดเจนว่าจะปิดกั้นเว็บไซต์ใด แต่ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ กลับลงโทษผู้ให้บริการ ตัวอย่างเช่น กรณีของจีรนุช เปรมชัยพร ผู้อำนวยการเว็บไซต์ประชาไท ซึ่งเสี่ยงต่อการติดคุก 50 ปี จากการนับจำนวนยูอาร์แอลที่ถูกกำหนดโทษ คดีของประชาไทจึงบ่งชี้อนาคตได้ว่า ISP จะต้องรับผิดชอบมากน้อยเพียงใด ซึ่ง ISP เป็นเพียงตัวกลางที่ให้ข้อมูลข่าวสารไหลผ่าน เปรียบเหมือนคนส่งจดหมาย

เมื่อ ISP หรือตัวกลางเจออุปสรรคเช่นนี้ อาจตัดสินใจลดความเสี่ยงโดยการปิดตัวเอง ซึ่งในขณะที่ประชาไทเปิดเวทีให้ประชาชนได้แสดงออกซึ่งความคิดเห็น เว็บบอร์ดอื่นๆ กลับปิดตัวลง


การควบคุมเนื้อหาทางอินเทอร์เน็ต ควรมีมาตรฐานบางอย่างที่ประนีประนอม ซึ่งไม่ได้หมายความว่า ISP ไม่ต้องมีความรับผิดชอบ แต่อาจใช้วิธีการสอดส่องกันเองแทนการตื่นตระหนกของรัฐบาลและการลงโทษอย่าง รุนแรง ประเทศไทยผ่านวิกฤติมาหลายครั้ง การที่ผู้คนได้แสดงความคิดเห็นเพื่อระบายความในใจ จะทำให้รู้สึกดีขึ้นในภาวะที่เกิดวิกฤติ


การที่รัฐบาลวิตกกังวลต่อการที่มีผู้แสดงความคิดเห็นทางอินเทอร์เน็ตเป็น จำนวนมาก ว่าจะกระทบต่อความมั่นคง ปีที่แล้วมีผู้แสดงความคิดเห็นในอินเทอร์เน็ตเป็นจำนวนมาก และส่วนใหญ่เป็นการคัดค้านการยุบสภาตามข้อเรียกร้องของ นปช. ผู้ที่ใช้อินเทอร์เน็ตส่วนใหญ่เป็นชนชั้นกลางที่สนับสนุนรัฐบาล เหตุใดรัฐบาลจึงเกิดความกลัว


รัฐบาลควรเปลี่ยนนโยบายเสียใหม่ เพราะการปิดกั้นนั้นไม่ได้ผล ประเทศไทยกำลังจะเปลี่ยนผ่าน หลายฝ่ายตื่นตระหนกง่าย จึงเกิดปฏิกิริยาสุดโต่ง ทำให้เกิดการต่อสู้กันระหว่างขั้วต่างๆ ถ้ามองจากมุมของรัฐบาล อาจจะไม่ง่ายที่จะวางกรอบของเสรีภาพอินเทอร์เน็ต ขั้วของฝ่ายอำนาจนิยมอาจโจมตีรัฐบาลว่าไม่ปิดเว็บไซต์ และหากรัฐบาลปิดกั้นเว็บไซต์ก็อาจมีแรงต้านจากขั้วเสรีนิยมที่มีจำนวนมาก ขึ้นทุกที ซึ่งไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะคนรุ่นใหม่


ทิศทางข้างหน้า ประเทศไทยกำลังเดินมาถึงทางแยก วันหนึ่งหากมีคนเข้าถึงอินเทอร์เน็ตมากขึ้น ในอนาคตอันใกล้เราไม่สามารถยับยั้งการใช้อินเทอร์เน็ตได้ และปัจจุบันมีคนใช้โซเชียลมีเดียมากขึ้น ที่สุดแล้วรัฐบาลไทยจะเดินนโยบายตามแบบรัฐบาลจีน หรือใช้รูปแบบที่ยืดหยุ่นตามแบบของประเทศประชาธิปไตย

ประเทศไทยอยู่ในจุดที่ไม่สามารถถอยหลังกลับได้แล้ว ฮิลลารี่ คลินตัน กล่าวว่า อินเทอร์เน็ตไม่ได้ทำอะไร แต่การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นโดยคน อินเทอร์เน็ตคือการเชื่อมโยงให้เข้าถึงกัน วัฒนธรรมอินเทอร์เน็ตคือการแบ่งปัน ยิ่งแบ่งปันมากข้อมูลข่าวสารก็แพร่กระจายไปได้มาก


ขอให้รัฐบาลไทยโชคดี และฉลาดพอที่จะทำเรื่องนี้ และสามารถผ่านเรื่องนี้ไปได้ ที่สุดแล้วประเทศไทยน่าจะพบทางของตัวเอง และเป็นตัวอย่างของภูมิภาคนี้

เมกิ มาจิออโน (Megi Margiono)
เจ้าหน้าที่ฝ่ายรณรงค์ พันธมิตรสื่อเสรี (Advocacy Officer, Alliance of Independent Journalist -AIJ)


ผมอยากแบ่งปันประสบการณ์ของอินโดนีเซีย เราไม่ได้เจออุปสรรคเฉพาะแต่รัฐบาล เรายังเจอกลุ่มอนุรักษ์นิยมทางศาสนา ซึ่งเรียกร้องให้รัฐบาลควบคุมอินเทอร์เน็ตมากขึ้น


รัฐบาลจะเซ็นเซอร์ภาพลามกอนาจารบนอินเทอร์เน็ตและดูแลอย่างใกล้ชิดเพื่อ คุ้มครองเด็ก ซึ่งความจริงแล้วจำนวนการใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อดูภาพลามกมีอยู่ไม่มาก คนส่วนใหญ่ใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อติดตามข่าวสาร และเพื่อใช้เฟซบุ๊ก ดังนั้นความตื่นตระหนกของรัฐบาลต่อการใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อดูภาพลามกจึงเป็น เรื่องไม่จริง


10 ปีที่ผ่านมานี้ ผู้คนหันมาสนใจข่าวสารบ้านเมืองมากขึ้น แต่กลุ่มเคร่งศาสนายังคงข้ออ้างเดิมๆ คือภาพลามกอนาจารอยู่ตลอดเวลา


ปีที่แล้วมีเหตุการณ์เจ้าหน้าที่ ปปช. 2 คนโดนตำรวจจับกุมและตั้งข้อหาทุจริต มีผู้ใช้เฟซบุ๊กกว่า 1 ล้านเรียกร้องให้ปล่อยตัวเจ้าหน้าที่ทั้งสองคน อีกกรณีหนึ่ง ผู้หญิงคนหนึ่งถูกโรงพยาบาลเรียกค่าปรับเป็นเงินจำนวนสูงมาก มีการรณรงค์บนอินเทอร์เน็ตเพื่อขอบริจาคเงินเหรียญ ปรากฏว่าจำนวนเงินที่ได้รับบริจาคมามีจำนวนสูงกว่าค่าปรับของโรงพยาบาลมาก


กระทรวงไอซีทีของอินโดนีเซีย เสนอกฎหมายควบคุมเว็บไซต์ลามกและการดูหมิ่นศาสนา มีการตั้งกลุ่มรณรงค์บนเฟซบุ๊ก เพื่อต่อต้านกฎหมายฉบับนี้ มีผลทำให้รัฐบาลยอมเลื่อนการออกกฎหมายฉบับนี้ออกไป

รัฐมนตรีไอซีทีซึ่งมาจากพรรคอนุรักษ์นิยมบอกว่า มีเว็บไซต์ลามกอนาจารมากกว่า 1 พันล้านหน้า และยังมีเว็บไซต์ที่มีเนื้อหาลบหลู่ศาสนา จึงจำเป็นต้องมีการควบคุม


กลุ่มเคร่งศาสนาบอกว่ารัฐบาลควรเซ็นเซอร์ภาพลามก เนื่องจากเป็นอันตรายยิ่งกว่าลูกระเบิดเสียอีก และยังบอกว่าเฟซบุ๊กเป็นสิ่งต้องห้ามตามกฎหมายอิสลาม เพราะทำให้คนประพฤติผิดศีลธรรม และมีผู้ใช้เฟซบุ๊กเป็นช่องทางในการขายบริการทางเพศ รวมไปถึงบอกว่าอเมริกาใช้อินเทอร์เน็ตในการรุกรานทางวัฒนธรรม และอินเทอร์เน็ตเป็นเครื่องมือของ CIA ในการคุกคามอิสลาม


อีกมุมหนึ่งของอินโดนีเซีย มีการเรียกร้องเสรีภาพบนอินเทอร์เน็ต เช่น กลุ่มสื่อมวลชน เพราะอินเทอร์เน็ตเป็นเครื่องมือในการแสดงออกถึงเสรีภาพ โดยไม่ต้องการการควบคุม ในภาคธุรกิจเกี่ยวกับ ISP บอกว่าต้องลงทุนสูงมากเพื่อกรองข้อมูลซึ่งจะทำให้ต้นทุนของพวกเขาสูงขึ้น ส่วนเอ็นจีโอบอกว่าการกรองข้อมูลนั้นจะไม่ได้ผลและให้ผลไม่คุ้ม กลุ่มสิทธิมนุษยชนบอกว่า อินเทอร์เน็ตเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชนในการได้รับข้อมูลข่าวสาร


กฎหมายควบคุมอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ มีบทลงโทษรุนแรง กำหนดโทษจำคุก 6 ปี และหากเป็นการลบหลู่ศาสนาอาจมีโทษจำคุกถึง 16 ปี ในอินโดนีเซีย การเขียนข้อความยั่วยุให้คนเกลียดชัง อาจมีโทษทางอาญา และเรามีกฎหมายกำหนดให้มีการกรองข้อมูลอินเทอร์เน็ต และมีกฎหมายลักษณะเดียวกับ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ของไทย ซึ่งมีโทษหนักมากกับการก่ออาชญากรรมคอมพิวเตอร์


นักข่าวใช้อินเทอร์เน็ตในการส่งข่าวสาร และอินเทอร์เน็ตเป็นช่องทางในการรณรงค์ทางสังคมต่างๆ ตามความเห็นของผม อินเทอร์เน็ตไม่ได้มีพลังอำนาจอะไร แต่ผู้ที่ใช้มันคือประชาชน เพราะฉะนั้นเราจึงต้องเพิ่มอำนาจให้กับประชาชน


สตีเวน กัน (Steven Gan)
บรรณาธิการบริหารหนังสือพิมพ์มาเลเซียกินี (Editor in Chief Malaysiakini.com)


เราเริ่มทำมาเลเซียกินี ปี 1999 (พ.ศ.2542) มีนักข่าว 4 คน ถึงตอนนี้เรามีนักข่าว 15 คน และเสนอข่าวเป็น 4 ภาษา เพราะเรามีหลากหลายชาติพันธุ์ มาเลเซียกินีมีลักษณะค่อนข้างพิเศษคือ ผู้อ่านต้องจ่ายค่าสมาชิกปีละประมาณ 1,500 บาท เพื่อเข้ามาอ่านข่าว


ในมาเลเซีย มีการควบคุมสื่ออยู่ 2 ระดับ คือ การใช้กฎหมายอย่างเข้มงวด และการเป็นเจ้าของสื่อ

การเป็นเจ้าของสื่อ เป็นประเด็นที่สำคัญมากในมาเลเซีย เพราะเรามีสื่อกระแสหลักที่พรรคการเมืองเป็นเจ้าของและเป็นผู้ควบคุม การมีสื่อต้องมีใบอนุญาต ซึ่งรัฐบาลจะเป็นผู้ออกให้แบบปีต่อปี แต่การใช้กฎหมายต่อไปนี้ทำให้การควบคุมสื่อมีประสิทธิภาพมากกว่า


กฎหมายความลับทางราชการ เป็นกฎหมายที่โบราณมาก ทำให้รัฐบาลขาดความโปร่งใส ในสมัยนายกฯ มหาเธร์ ได้แก้กฎหมายให้มีโทษจำคุกไม่ต่ำกว่า 1 ปีโดยไม่สามารถจ่ายเป็นเงินค่าปรับได้ ทำให้สื่อทำงานได้ยากลำบากมาก เพราะเอกสารราชการมีแต่ตราประทับเอกสารลับ


กฎหมายความมั่นคงภายใน ให้อำนาจทางการจับกุมคุมขังใครก็ได้นาน 2 ปี และสามารถคุมขังต่อไปได้เรื่อยๆ ไม่มีข้อจำกัด


การหมิ่นศาล หรือการดูหมิ่น ไม่นานมานี้มีกฎหมาย 35 ฉบับที่ปิดกั้นเสรีภาพสื่อ รัฐเป็นผู้ผูกขาดความจริงผู้เดียว จนกระทั่งมหาเธร์เปิดพื้นที่ไซเบอร์ขึ้นและให้สัญญาว่าจะไม่มีการปิดกั้นอิน เทอร์เน็ต สิ่งเดียวที่ผมสนับสนุนมหาเธร์คือเรื่องนี้ มาเลเซียกินีจึงฉกฉวยโอกาสโดยใช้ช่องทางนี้ในการตั้งสื่ออินเทอร์เน็ต ซึ่งไม่ต้องมีใบอนุญาต และสามารถตั้งตัวเองเป็น content provider แต่รัฐบาลก็สามารถใช้กฎหมายอื่นๆ เช่น กฎหมายความมั่นคง ซึ่งมีมาตั้งแต่ 1948 โดยใครยุยงปลุกปั่นให้เกิดความแตกแยกระหว่างชาติพันธุ์ต่างๆ หรือการตั้งคำถามหรือการดูหมิ่นภูมิบุตราจะถูกกฎหมายนี้เล่นงาน


10 ปีมานี้ เราถูกคุกคาม 2 ครั้ง ครั้งแรกปี 2003 จากการนำเสนอจดหมายของผู้อ่าน ซึ่งเขียนล้อเลียน UMNO Youth ทำให้ตำรวจบุกมาที่สำนักงานของเรา สิ่งแรกที่ตำรวจทำคือ ให้ทุกคนถอยออกมาจากคอมพิวเตอร์ ห้ามแตะต้องคอมพิวเตอร์ และตำรวจต้องการรู้อีเมลของผู้ที่เขียนจดหมายฉบับนั้น ซึ่งเราบอกว่าให้ไม่ได้เพราะเราสัญญาว่าจะปกป้องผู้เขียน แม้เขาจะใช้ชื่อปลอมก็ตาม เพราะเนื้อหาสำคัญกว่าตัวผู้เขียน เรายืนกรานกับตำรวจว่าจะไม่ให้ชื่อผู้เขียนอย่างเด็ดขาด ตำรวจจึงยึดเอาคอมพิวเตอร์ไปทั้งหมด

ตำรวจที่มาเป็นเจ้าหน้าที่ระดับล่าง ไม่มีความรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์เลย ทีแรกเขาจะเอาจอไปด้วย และให้นักข่าวเขียนชื่อลงบน CPU เครื่องที่แต่ละคนใช้ ขณะนั้นเป็นเวลาบ่ายโมงและมีฝนตก ตำรวจใช้เวลาอยู่ประมาณ 4 ชั่วโมง เราจึงมีเวลาโทรเรียกเพื่อนนักข่าวมาทำข่าวให้ จากนั้น 5 โมงเย็นเราก็จัดแถลงข่าว ค่ำวันนั้น จากการสื่อสารกันโดยเอสเอ็มเอส มีการชุมนุมประท้วงและมีพรรคฝ่ายค้าน ภรรยานายอันวา อิบราฮิม มาให้กำลังใจกับมาเลเซียกินี ด้วย ปรกติตำรวจจะไม่ยอมให้มีการประท้วง แต่น่าแปลกใจที่เขาอนุญาต ต่อมาเราก็ได้คอมพิวเตอร์คืน และ 2 ปีต่อมาก็มีการถอนข้อหาทั้งหมด


มาเลเซียกินี เคยรายงานข่าวการประท้วงของชาวมุสลิมต่อชาวฮินดู ซึ่งไปสร้างวัดฮินดูในพื้นที่ของอิสลาม เรานำเสนอภาพวิดีโอของการนำหัววัวมาใช้ในการประท้วง ซึ่งทำให้ชาวฮินดูไม่พอใจมาเลเซียกินีอย่างมาก รัฐบาลมีคำสั่งให้ถอดวิดีโอนั้นออกไป แต่เราไม่ยอม เพราะเป็นการนำเสนอข้อเท็จจริง


รัฐบาลมีความพยายามจะให้สื่อออนไลน์ หรือบล็อกเกอร์ต้องขอใบอนุญาต ซึ่งเป็นการจำกัดเสรีภาพของเรา ยังมีกฎหมายอีกฉบับหนึ่งซึ่งรัฐบาลกำลังเตรียมการอยู่ และเราจะทำการต่อต้านต่อไป

หมายเหตุ : การเสวนาในหัวข้อ “Internet Politics : Lesson learnt from Egypt to Prachatai.com” ประชาไทจะนำเสนอในตอนต่อไป


http://prachatai.com/journal/2011/02/33174