สุรพศ ทวีศักดิ์
ขณะที่คนของรัฐบาลพูดถึงพระที่มาร่วมชุมนุมกับเสื้อแดงเป็นเพียง 'คนห่มเหลือง' อย่างดูแคลน สุรพศ ทวีศักดิ์ ได้ลงพื้นที่ทำวิจัยกับพระสงฆ์ในการชุมนุม ทำให้ทราบว่าพระสงฆ์เหล่านี้มาเพื่อเตือนสติทั้งฝ่ายผู้ชุมนุมและรัฐบาล ย้ำเตือนถึงวิธีการสันติและเมตตาธรรม ขณะเดียวกันก็มีพื้นเพอยู่ใกล้ชิดกับชาวบ้าน เข้าใจปัญหาความไม่เป็นธรรมที่ชาวบ้านได้รับ
เห็นภาพพระสงฆ์ถูกจับมัดมือไพล่หลังติดกับเก้าอี้ (ดูจากหน้า 1 มติชน จะเห็นชัดกว่าดูจากช่อง “หอยม่วง”) ที่ ร.ต.ท.
ในทางกฎหมายเมื่อเจ้าหน้าที่ตำรวจจะจับกุมผู้กระทำความผิดที่เป็นนายทหาร สัญญาบัตรใน “เครื่องแบบ” จะต้องดำเนินการโดยละมุนละม่อม เช่น ไม่ใส่กุญแจมือ ให้มีนายทหารพระธรรมนูญเข้าร่วมฟังการสอบปากคำของเจ้าหน้าที่ตำรวจด้วย เป็นต้น แต่ทหารซึ่งได้รับ “สิทธิพิเศษ” ดังกล่าวนี้ กลับปฏิบัติต่อพระสงฆ์อย่างไม่เคารพต่อ “ผ้ากาสาวพัตร์” ซึ่งชาวพุทธถือว่าเป็นเสมือน “ธงชัยของพระอรหันต์”
จริงอยู่ แม้เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติอาจคิดเหมือน นาย
โดยที่ผู้เขียนได้ลงพื้นที่ทำวิจัยเกี่ยวกับการชุมนุมของพระสงฆ์ กลุ่มดังกล่าว ได้ทราบข้อมูลบางด้านจากปากของพระสงฆ์เอง จึงอยากนำเสนอสู่ผู้อ่านเพื่อให้พิจารณาความจริงอีกด้านของกลุ่มพระสงฆ์ที่ นายสุเทพพิพากษาว่าเป็นเพียง “คนห่มเหลือง”
พระที่ปรากฏในภาพประกอบการอภิปรายของ ร.ต.ท.
เหตุผลที่คล้ายกันคือ พระในชนบทจะผูกพันกับชาวบ้าน โดยปกติจะมีกิจกรรมหลายอย่างที่กระทำร่วมกัน เช่น งานบุญประเพณี การพัฒนาวัด พัฒนาชุมชน การมีส่วนร่วมปรึกษาหารือปัญหาต่างๆ ของชุมชน ในช่วงกว่าสี่ปีมานี้ปัญหาการแบ่งฝ่ายทางการเมืองไม่ได้มีการสนทนาถกเถียง กันเฉพาะในหมู่บ้านเท่านั้น แต่มีการไปพูดคุยกันในวัด หรือปรับทุกข์กับพระสงฆ์ และพระสงฆ์เองก็ซึมซับปัญหาต่างๆ ที่ชาวบ้านเขารู้สึกกัน เช่น ความไม่เป็นธรรม สองมาตรฐาน ความเหลื่อมล้ำ การสูญเสียสิทธิทางการเมืองที่เลือกรัฐบาลที่เขาชอบนโยบายแล้วต้องถูกล้มไป ด้วยวิธีรัฐประหาร ฯลฯ
ฉะนั้น เมื่อเห็นชาวบ้านเดินทางมาเผชิญความยากลำบาก เสี่ยงชีวิตเพื่อทวงความเป็นธรรม และสิทธิอำนาจของตนเอง พระท่านจึงตัดสินใจเดินทางมากับชาวบ้าน โดยเชื่อว่าการมาของท่านจะช่วยเป็นขวัญกำลังใจให้กับชาวบ้าน แต่เมื่อมาถึงสะพานผ่านฟ้า สนามหลวง ปรากฏว่าเมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2553 มีพระมาจากที่ต่างๆ กว่า 2,000 รูป จึงมีการจัดเต้นท์ให้พระสงฆ์ส่วนใหญ่รวมตัวกันอยู่ที่สนามหลวง มีบางส่วนอยู่เต้นท์ทางด้านประตูผี และมีการประชุมจัดตั้งกลุ่มของพระสงฆ์เป็น 2 กลุ่มคือ กลุ่มอาสาพัฒนาสันติวิธี และกลุ่มสังฆสามัคคี
มีพระระดับผู้บริหารของมหาวิทยาลัยสงฆ์บางรูป และอาจารย์มหาวิทยาลัยสงฆ์ที่เป็นฆราวาสบางคน มาคอยประสาน ดูแลให้การชุมนุมของพระสงฆ์เป็นไปด้วยความเรียบร้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดยข้อตกลงของพระสงฆ์ที่มาร่วมชุมนุมที่สำคัญมี 3 ประการ คือ
1. ต้องการให้สติแก่ทั้งฝ่ายรัฐบาลและกลุ่มผู้ชุมนุม
2. เรียกร้องให้ทั้งสองฝ่ายมีจิตเมตตาต่อกันในฐานะเป็นคนไทยด้วยกัน
3. เรียกร้องให้ทั้งสองฝ่ายไม่ใช้ความรุนแรงต่อกัน
มีการแสดงออกตามข้อตกลงดังกล่าว เช่น การขึ้นแถลงการณ์บนเวที ไปบิณฑบาตไม่ให้ฝ่ายรัฐบาลใช้ความรุนแรงที่กรมทหารราบที่ 11 ที่แยกราชประสงค์ ที่สี่แยกคอกวัว (ก่อนสลายการชุมนุมวันที่ 10 เมษายน) เมื่อเกิดเหตุปะทะคืนวันที่ 10 เมษายนมีการนำศพไปที่ด้านหลังเวทีให้พระสวดขณะที่เสียงปืนยังดังอยู่ และในเหตุการณ์คับขันที่ผู้ชุมนุมแตกตื่นบางครั้งพระสงฆ์ต้องขึ้นไปสวดมนต์ บนเวทีเพื่อเรียกสติกลับคืน ฯลฯ
อย่างไรก็ตาม ในการเคลื่อนไหวไปตามจุดต่างๆ ของกลุ่มผู้ชุมนุม บางครั้งเราได้เห็นภาพของพระสงฆ์บางรูปที่แสดงออกอย่างไม่สำรวม เช่น นั่งซ้อนท้ายมอเตอร์ไซค์ถือตีนตบ ถือเสาธง ฯลฯ แต่นั่นไม่ใช่การแสดงออกตามมติของกลุ่มพระสงฆ์ส่วนใหญ่ (เปรียบเทียบกับสันติอโศก จะเห็นว่าสมณสันติอโศกจะกำกับดูแลให้อยู่ในระเบียบได้ง่ายกว่า เพราะมาจากสำนักเดียวกัน)
ปัญหาว่า พระสงฆ์มาร่วมชุมนุมขัดต่อพระธรรมวินัย และคำสั่งมหาเถรสมาคมหรือไม่? เป็นเรื่องที่ถกเถียงได้ หรือเป็นเรื่องที่องค์กรที่รับผิดชอบจะพิจารณา แต่สำหรับพระสงฆ์ที่มาชุมนุมท่านมองว่า ที่ออกมาชุมนุมไม่ใช่เพื่อผลทางการเมืองที่จะเป็นประโยชน์แก่ตัวบุคคลหรือ พรรคการเมืองพรรคใดพรรคหนึ่งโดยเฉพาะ แต่มาชุมนุมเพราะเห็นว่าเป็นปัญหาของบ้านเมือง ชาวบ้านที่เป็นคนชั้นล่างเดือดร้อน ไม่ได้รับความเป็นธรรม ถูกเหยียดหยามว่าโง่ เป็นม็อบรับจ้าง ไม่มีอุดมการณ์ ฯลฯ
ท่านจึงเห็นว่าการมาชุมนุมของท่านจะช่วยเป็นขวัญกำลังใจให้คน ส่วนใหญ่ซึ่งเป็นผู้เสียเปรียบ ให้รัฐบาลและสังคมเห็นว่า ปัญหาความแตกแยกของบ้านเมืองจำเป็นต้องได้รับการแก้ไขด้วยสันติวิธี คือการปฏิบัติตาม “ครรลอง” ของระบอบประชาธิปไตย
แต่ในที่สุดความรุนแรงและสงครามกลางเมืองก็เกิดขึ้น ข้อตกลง 3 ประการ ของพระสงฆ์ที่ออกมาชุมนุมไม่บรรลุผล ทว่าภาพของ “พระสงฆ์ที่ถูกจับมัดมือไพล่หลัง” และคำพิพากษาที่ว่าท่านเหล่านั้นเป็นเพียง “คนห่มเหลือง” ยิ่งสะท้อนทัศนะของฝ่ายผู้กุมอำนาจรัฐที่มองข้ามข้อเท็จจริงที่ว่า ปัญหาความแตกแยกทางความคิดไม่เพียงแต่สนทนาถกเถียงกันในหมู่บ้านเท่านั้น แต่ถูกนำไปสนทนาถกเถียง ปรับทุกข์ในวัดจำนวนมากในภาคเหนือและอิสาน
“ม็อบพระ” ที่เราเห็นผ่านสื่ออาจไม่น่าเลื่อมใสในสายตาของคนชั้นกลางในเมือง แต่สำหรับคนเสื้อแดง พระเหล่านั้นคือพระร่วมสุขร่วมทุกข์ที่พวกเขานับถือ ภาพของพระที่เดินไปมาในที่ชุมนุมของคนเสื้อแดงไม่ต่างอะไรกับพระที่เดินไปมา ในงานวัดทางภาคเหนือ ภาคอิสาน กลมกลืนและเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับชาวบ้าน พวกเขานับถือพระเหล่านั้น ทำบุญกับพระเหล่านั้น ผูกพัน ดูแลเอาใจใส่เหมือนเมื่ออยู่บ้านที่จากมา
บางทีเราไม่อาจตัดสินปรากฏการณ์ทางสังคมการเมืองด้วยทัศนะที่ยึดถูก-ผิด ขาว-ดำได้ การจะสร้างความปรองดองเราจำเป็นต้องมองความจริงหลายแง่มุม พระหนึ่งรูปถูกจับกุมราวผู้ก่อการร้าย ทำให้ชาวบ้านอีกเท่าไรที่เจ็บปวด พระคุณเจ้าระดับผู้บริหารของมหาวิทยาลัยสงฆ์ท่านหนึ่งเล่าให้ผู้เขียนฟังว่า กว่าร้อยละ 90 ของพระนิสิตมหาวิทยาลัยสงฆ์ “มีใจ” ให้กับคนเสื้อแดง เนื่องจากท่านเหล่านั้นมีพื้นเพเดิมมาจากครอบครัวคนชั้นกลางระดับล่างและคน รากหญ้าเป็นส่วนใหญ่
ฉะนั้น ไม่ว่าใครจะเรียกท่านเหล่านั้นว่าเป็น “พระสงฆ์” หรือ “คนห่มเหลือง” ก็ตาม แต่ท่านเหล่านั้นคือพลเมืองของ “รัฐประชาธิปไตย” แสดงออกถึง “ความเป็นมนุษย์” ที่รู้สึกผูกพัน เห็นอกเห็นใจชาวบ้านที่มีปัญหา ยอมเสียสละมาลำบากร่วมทุกข์ร่วมสุขและเสี่ยงตายกับชาวบ้าน หากไม่เห็นด้วยกับการออกมาชุมนุมของท่านเหล่านั้น ก็ควรเปิดใจรับฟังความเห็นของท่านบ้าง
ไม่ควรด่วนตัดสินอย่างหมิ่นแคลน เพราะนอกจากจะทำให้การปรองดองเป็นไปไม่ได้แล้ว ความแตกแยกยิ่งจะขยายกว้าง และร้าวลึกถึงจิตวิญญาณ!
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น