บทที่ 1
การปฏิวัติชนชั้นนายทุนคืออะไร?
การปฏิวัติชนชั้นนายทุนหรือการปฏิวัติประชาธิปไตยคือ การเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช ที่อำนาจเป็นของพระมหากษัตริย์ เปลี่ยนแปลงเป็นระบอบประชาธิปไตย เสรีนิยมที่อำนาจเป็นของประชาชน อันเป็นผลจากความพัฒนาก้าวหน้าทางการผลิตของมนุษย์ ที่ทำให้มนุษย์เกิดการเปลี่ยนแปลงทางความคิดและความเชื่อความงมงายสู่ความ คิดที่เป็นวิทยาศาสตร์ โดยเฉพาะในประเด็นความเสมอภาคของมนุษย์ ซึ่งก็คือระบอบการปกครองที่ต้องยอมรับในเสรีภาพและความเสมอภาคของมนุษย์ด้วย กันอันเป็นที่มาแห่งอำนาจรัฐโดยมีหลักการพื้นฐานอันไม่อาจจะเบี่ยงเบนได้ที่ เป็นประชาธิปไตยสมบูรณ์ และได้เกิดขึ้นแล้วในโลกคือ อำนาจเป็นของประชาชน และประชาชนเป็นผู้ใช้อำนาจอธิปไตยของรัฐผ่านการเลือกตั้งทั้งหมด ตั้งแต่ระดับพื้นฐานจากหมู่บ้านจนถึงระดับประเทศ โดยประชาชน เป็นทั้งผู้เลือกตั้ง ผู้ออกกฎหมาย ผู้บริหารรัฐ (รัฐบาล) และเลือกตั้งทั้งศาลและอัยการด้วย
การปฏิวัติชนชั้นนายทุนเริ่มเกิดขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 16 ในภาคพื้นทวีปของยุโรป อันเป็นผลจากความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่เรียกว่า การฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรมในยุโรป หรือที่เรียกติดปากกันเป็นภาษาฝรั่งเศสว่า เรอเนสซองต์ (Renaissance) จน นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ของมนุษยชาติ คือ การเปลี่ยนแปลงในวิถีการผลิตการทำมาหากินของมนุษย์จากการทำนา ทำไร่ ทอผ้า ด้วยแรงงานคนและสัตว์เป็นการใช้เครื่องจักรทำให้มนุษย์ทำการผลิตได้ผลผลิต มากขึ้น ทำให้เกิดระบบการค้าขาย และเกิดการเปลี่ยนแปลงทางวิถีชีวิตของมนุษย์จากการผลิตเพียงแค่พออยู่พอกิน (เพราะเทคโนโลยีต่ำ) หรือมีเป้าหมายผลิตเพียงเพื่อการกินอยู่เท่านั้นเปลี่ยนเป็นการผลิตเพื่อ เป็นสินค้า คุณภาพชีวิตของมนุษย์จึงพัฒนาก้าวหน้าขึ้นเป็นลำดับอย่างรวดเร็วภายในระยะ เวลาประมาณ 500 ปีที่ผ่านมา กระบวนการเปลี่ยนแปลงทางการผลิตนี้ประวัติศาสตร์ของโลกได้บันทึกไว้ว่าคือ “การปฏิวัติอุตสาหกรรม”
การปฏิวัติอุตสาหกรรมจึงเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญของการเปลี่ยนแปลงความคิด ของมนุษย์จากความเชื่อของมนุษย์ที่มนุษย์หลอกลวงมนุษย์ในเรื่องการเชื่อผี สาง เทวดา พระเจ้า โดยเฉพาะการหลอกลวงที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือการหลอกลวงว่าพระเจ้าได้มอบอำนาจให้คนๆ หนึ่ง หรือคนตระกูลหนึ่ง หรือคนในกลุ่มหนึ่งเท่านั้นที่เป็นตัวแทนของพระเจ้าบนฟ้า หรือเป็นผู้มีบุญบารมี มาแต่ชาติปางก่อน หรือเกิดอยู่บนสวรรค์ และบัดนี้ได้ลงมาเกิดในโลกมนุษย์ จึงมีความชอบธรรมที่จะปกครองมนุษย์ทั้งหลายด้วยมนุษย์ตระกูลเดียวที่เรียก ว่า กษัตริย์และราชวงศ์
ความเชื่ออย่างงมงายเช่นนี้ของมนุษย์เกิดขึ้นทั่วทั้งโลกในทุกทวีป ทั้งในยุโรป เอเชีย อาฟริกา เมื่อก่อน 500 ปีที่ผ่านมา หรือก่อนการปฏิวัติอุตสาหกรรมดังกล่าวข้างต้น โดยความเชื่อที่งมงายนี้ได้ก่อรูปขึ้นเรื่อยๆ หรือหลอกลวงกันมากขึ้นเรื่อยๆ โดยหาเหตุผลมาอุดช่องว่างที่มนุษย์พยายามค้นหาแสงสว่างด้วยเหตุผล จนก่อตัวขึ้นเป็นอำนาจรัฐ โดยมีทหาร ตำรวจ ศาล คุกตาราง เป็นเครื่องมือ คอยบีบบังคับให้ผู้คนต้องเชื่อในความงมงายเช่นนั้น โดยใช้ภาษาที่หลอกลวงอย่างไพเราะว่า “วัฒนธรรม” แต่ในขณะเดียวกันการต่อสู้ขัดแย้งทางวัฒนธรรมก็เกิดขึ้นตลอดเวลาโดยประชาชน จะโต้แย้งและตั้งคำถามและเมื่อผู้มีอำนาจสู้เหตุผลไม่ได้ก็จะใช้อำนาจรัฐทำ การฆ่าหรือจับติดคุกติดตะรางในข้อหาทรยศต่อพระเจ้าบ้าง ไม่เคารพประเพณีวัฒนธรรมบ้าง ทั้งนี้เพื่อให้ผู้คนหยุดคิดหาความจริงจนกลายเป็นระบบที่เข้มแข็งที่เรียก ว่า ระบบศาสนา และระบบการเมืองในยุคต้นของการตั้งรัฐ เช่น ศาสนากรีกโบราณ ศาสนาโชรีแอสเตอร์ (ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของศาสนายูดา ,คริสต์ และอิสลาม) และต่อมาพัฒนามาเป็นระบอบการปกครองอย่างเข้มแข็งที่เรียกว่า ระบอบกษัตริย์ หรือระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช ที่อำนาจทั้งหมดรวมศูนย์อยู่ที่กษัตริย์และราชวงศ์เท่านั้น ส่วนประชาขนนั้นเป็นข้าทาสที่ต้องทำนา ทำไรเลี้ยงดูกษัตริย์ โดยมีระบบศาลและทหารคอยควบคุมความคิดของประชาชน รวมตลอดถึงมีศาลศาสนาโดยเฉพาะศาลศาสนาคริสต์ในยุคกลางของยุโรปมีโทษที่ไม่ เชื่อฟังพระเจ้าคือประหารชีวิตด้วยการเผาทั้งเป็น นักวิทยาศาสตร์หลายคนเคยขึ้นศาลศาสนานี้แล้ว เช่น กาลิเลโอ ผู้เสนอทฤษฎีโลกกลม (ถึงแม้ว่าเวลาผ่านมาเป็น 1,000 ปีแล้ว ในหลายประเทศยังมีศาลศาสนาอยู่ เช่น ในประเทศที่ปกครองด้วยหลักศาสนาอิสลาม)
ทางวิชาการสาขารัฐศาสตร์ได้เรียกความเชื่อของมนุษย์ในระบบคิดการเมืองเช่น นี้ว่า ทฤษฎีรัฐแบบ “เทวะสิทธิ์” (Divine Right) คือ สิทธิที่มีอำนาจการปกครองมาจากพระเจ้า ซึ่งถือเป็นทฤษฎีกำเนิดรัฐที่โบราณที่สุด และเหลือน้อยที่สุดในโลก
ทฤษฎีรัฐแบบเทวะสิทธิ์นี้ได้อาศัยความเชื่อทางศาสนาที่มีพระเจ้ามีนรกสวรรค์ มีชาตินี้ชาติหน้าเป็นเครื่องมือและหลอกลวงให้มนุษย์จำยอมให้ตกเป็นทาสเพื่อ ให้ยอมทำงานหนักให้ และอาศัยศาสนามาแบ่งชนชั้นของมนุษย์ โดยให้มนุษย์ยอมรับการทำงานหนักรับใช้โดยไม่ได้รับค่าตอบแทน โดยครอบงำความคิดว่าทาสพวกนั้นเกิดจากพระเจ้ากำหนดบ้าง เกิดจากชาติที่แล้วไม่ได้ทำบุญบ้าง และในโลกมนุษย์ชาตินี้พวกทาสอย่าได้คิดมาชิงอำนาจจากกษัตริย์ เพราะจะเป็นบาปอย่างมหันต์ ทางแก้ความยากลำบากและทุกข์ยากในชาตินี้มีทางเดียวคือก้มหน้ารับกรรม และทำบุญกุศลเพื่อจะได้เกิดในชาติหน้าซึ่งจะมีชีวิตที่ดีขึ้น เช่น ศาสนาพราหมณ์ ก็จะกำหนดว่ามนุษย์เกิดมามีวรรณะติดตัวซึ่งพระพรหมเป็นผู้กำหนดมี 4 วรรณะ คือ กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร ซึ่งศูทรก็คือกรรมกรผู้ใช้แรงงานหรือนัยหนึ่งก็คือข้าทาสในสังคมในขณะนั้น นั่นเอง
บทที่ 2
การต่อสู้ทางความคิดก่อนเปลี่ยนยุคสมัย
โลกมนุษย์ของเรานั้นมีสภาวะเป็นอนิจจัง คือมีการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา และสิ่งทั้งหลายที่อยู่ในโลกใบนี้ เช่น ร่างกาย สิ่งของ ก็เกิดการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาเช่นเดียวกัน ซึ่งเป็นสัจธรรมของศาสนาพุทธที่พระภิกษุพร่ำสอนเราอยู่ทุกวันว่า สังขารไม่เที่ยง วิญญาณไม่เที่ยง ซึ่งระบบการปกครองของมนุษย์บนโลกนี้ไม่ว่าประเทศใดก็ไม่เที่ยงเหมือนกัน
เมื่อเทคโนโลยีทางการผลิตเปลี่ยนไป ความคิดของมนุษย์ก็เปลี่ยนไปยิ่งเมื่อความเจริญทางวิทยาศาสตร์สูงขึ้น เรื่อยๆ มนุษย์ก็มีความฉลาดมากขึ้นเรื่อยๆ เป็นเงาประกบไปกับการพัฒนาการทางเทคโนโลยี
ในระหว่างการพัฒนาความคิดของมนุษย์นั้น แม้จะมีคนบางคนโดยเฉพาะคนที่มีอำนาจรัฐพยายามจะโกหกหลอกลวงให้ประชาชนหลง เชื่อในสิ่งเก่าๆ และถึงขนาดปิดกั้นการเรียนรู้ เพื่อไม่ให้ประชาชนมีโอกาสศึกษาเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ เพราะเกรงว่าจะปกครองได้ยาก แต่ในความเป็นจริงก็ไม่อาจจะขัดขวางพัฒนาการของมนุษย์ได้ ดังนั้นหากเราอ่านหนังสือประวัติศาสตร์ หรือแม้อ่านคัมภีร์ไบเบิลของศาสนาคริสต์ หรืออ่านพระไตรปิฎกของศาสนาพุทธ เราก็จะพบความจริงว่า มนุษย์มีการต่อสู้ทางความคิดความเชื่อกันอยู่ตลอดเวลา และจะเกิดแนวคิดใหม่ที่ดีขึ้นเรื่อยๆ โดยจะสะสมปริมาณทางความคิดมากขึ้นๆ เรื่อยๆ จนถึงจุดๆ หนึ่งก็จะเกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ขึ้นทีหนึ่งที่เรียกว่าเกิดการปฏิวัติ เปลี่ยนแปลงระบบสังคม และเมื่อสังคมวางระบบคิดใหม่แล้วจะเกิดการเปลี่ยนแปลงพัฒนาขึ้นอีกในลักษณะ ที่มีการสะสมทางปริมาณใหม่ที่ดีกว่าเดิมอีกจนถึงจุดๆ หนึ่งที่อิ่มตัวก็จะเกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่อีก ระบบสังคมมนุษย์ในโลกนี้จะมีลักษณะพัฒนาการเช่นนี้ไปเรื่อยๆ ไม่หยุดหย่อน
การต่อสู้ทางความคิดระหว่างเก่ากับใหม่ เราสามารถเห็นได้ตั้งแต่ครั้งพุทธกาลเช่นเมื่อครั้งที่เจ้าชายสิทธัตถะเกิด ขึ้นบนโลกนี้นั้น ระบบการปกครองของพราหมณ์ครอบงำทั่วทั้งอินเดีย ซึ่งความเชื่อทางการเมืองแบบพราหมณ์ที่เชื่อว่าคนจะดีหรือเลว เกิดจากวรรณะชาติกำเนิดนั้นก็มีสืบเนื่องมายาวนาน โดยถือว่าคนในวรรณะกษัตริย์ กับวรรณะพราหมณ์เป็นคนดีมาแต่ชาติกำเนิด เพราะเกิดจากปากของพระพรหม แต่เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะได้ออกบวชจนสำเร็จพระอรหันต์แล้ว ก็ได้ประกาศล้มล้างระบบความคิดของพราหมณ์ โดยนำเสนอเปลี่ยนหลักการความเชื่อดั้งเดิมทั้งหมดในเวลานั้นว่า “คนใดจะดีหรือเลวนั้นเกิดจากการกระทำ (หรือผลแห่งกรรม)ในชาตินี้ของแต่ละคน กษัตริย์ก็เลวได้ พราหมณ์ก็เลวได้ หากประพฤติเลว” เป็นต้น
ก่อนที่จะเกิดการปฏิวัติของชนชั้นนายทุนในช่วง 500 กว่าปีที่ผ่านมา มีการเสนอแนวคิดที่โต้แย้งอำนาจของกษัตริย์มากขึ้น ซึ่งในขณะนั้นยังไม่มีประเทศใดในโลกมีการปกครองด้วยอำนาจของประชาชนที่ ดำเนินการโดยประชาชน และเพื่อประชาชน ดังนั้นการต่อสู้ทางความคิดของมนุษย์ที่ตอบโต้ระบอบกษัตริย์จึงเป็นเรื่อง ที่ยิ่งใหญ่ของมนุษย์อย่างมาก เหตุผลที่มนุษย์ตอบโต้กันในเวลานั้น วันนี้ฟังดูเป็นเรื่องตลกเพราะใครๆ ก็รู้ว่าความจริงก็เป็นเช่นนั้น แต่วันนั้นในอดีตเมื่อหลายร้อยปีก่อน คนทั่วไปเขาคิดกันไม่ออกเมื่อใครได้ยินเข้าก็ต้องฉุกคิดได้ กล่าวคือในขณะนั้นทุกคนยังเชื่อมั่นในระบอบการปกครองของกษัตริย์โดยเชื่อ มั่นว่ากษัตริย์เป็น สมมุติเทพ และพระเจ้าเป็นผู้ประทานกษัตริย์ให้ลงมาเกิดในโลกมนุษย์เพื่อมาปกครองมนุษย์ ด้วยกัน โดยกษัตริย์ ในหลายประเทศในยุโรปก็มีความเชื่อมั่นในระบอบการปกครองของตนว่าไม่อาจจะ เปลี่ยนแปลงเป็นรูปแบบอื่นได้เช่นกัน จึงกดขี่ขูดรีดประชาชนอย่างหนัก โดยเก็บภาษีสารพัดเพื่อนำไปบำรุงบำเรอความสุขให้แก่ตัวเองและราชวงศ์ในขณะ ที่ประชาชนไม่มีบ้านเรือนจะอยู่ กษัตริย์ก็สร้างวังไม่หยุดไม่หย่อน ในขณะที่ประชาชนอดอยากพวกกษัตริย์ก็กินทิ้งกินขว้าง จนประชาชนก็ทนไม่ไหวแต่ก็ไม่กล้าที่จะล้มระบอบกษัตริย์ เพราะเชื่อในพระเจ้า เนื่องจากพวกพระที่ราชสำนักเลี้ยงดูก็ทำการสั่งสอนหลอกลวงให้เชื่อในพระเจ้า หนักเข้าไปอีกว่าพระเจ้าเป็นผู้ประทานกษัตริย์และทุกสิ่งทุกอย่างที่เห็นมา ให้ แม้แต่จะกินข้าวก็ต้องขอบคุณพระเจ้า แล้วจะทำลายกษัตริย์ได้อย่างไร ประกอบกับก็ไม่รู้ว่าจะมีระบอบการปกครองแบบใดมาทดแทนได้ ในภาวการณ์กดขี่ไม่ไหว จะเดินหน้าก็ไม่รู้จะไปทิศทางใด ในภาวะเช่นนี้ก็เกิดนักคิดที่นำเสนอให้กล้าต่อสู้กับระบอบกษัตริย์ได้ เช่น ก่อนการปฏิวัติชั้นนายทุนในฝรั่งเศสในปี ค.ศ.1789 จังจาค รุสโซ นักปรัชญาชาวสวิสก็ได้เสนอแนวคิดว่า
“แม้ เราจะเชื่อมั่นในพระเจ้าว่ามีอยู่จริง และพระเจ้าประทานทุกสิ่งทุกอย่างให้แก่มนุษย์เรา ในขณะที่พรเจ้าประทานสิ่งที่มนุษย์พึงพอใจ แต่พระเจ้าก็ประทานความเจ็บป่วยให้แก่มนุษย์เราด้วย ดังนั้นถ้าหากเราถือว่า สิ่งที่พระเจ้าประทานให้เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์แก้ไขไม่ได้แล้ว ถ้าเช่นนั้นทำไมเมื่อเราเจ็บป่วยจึงต้องไปหาหมอรักษาด้วยเล่า?”
แนว คิดปรัชญาของรุสโซนี้ได้อธิบายให้เห็นชัดเจนว่า แม้พระเจ้าจะประทานกษัตริย์ให้แก่มนุษย์ แต่เมื่อกษัตริย์สร้างความเดือดร้อนให้แก่มนุษย์ ดังนั้นมนุษย์ย่อม มีสิทธิ์ที่จะแก้ปัญหาที่ตัวกษัตริย์ได้
อีกความคิดเห็นหนึ่งของนักคิดก่อนที่จะเกิดการปฏิวัติใหญ่ของชนขั้นนายทุนใน ฝรั่งเศส โดยแนวคิดของราชสำนักได้ครอบงำความคิดของประชาชน “พระเจ้าเป็นผู้ประทานอำนาจมาให้แก่กษัตริย์ ดังนั้นประชาชนที่เชื่อในพระเจ้าจะล้มล้างอำนาจของกษัตริย์ ซึ่งไม่เพียงแต่เป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายเท่านั้น แต่ยังเป็นการกระทำบาปต่อพระเจ้าที่ทุกคนนับถือด้วย” ซึ่งก็เกิดกระแสความคิดโต้แย้งอย่างชาญฉลาดโดยไม่ปฏิเสธอำนาจแห่งพระเจ้าตาม ความเชื่อของคนส่วนใหญ่ในขณะนั้นว่า
“มนุษย์ เชื่อในพระเจ้าว่าเป็นผู้ประทานอำนาจให้แก่กษัตริย์จริง แต่พระเจ้าประทานอำนาจให้แก่ประชาชนก่อน แล้วประชาชนจึงมอบอำนาจนั้นคืนให้แก่กษัตริย์ เพื่อให้ปกครองประชาชนให้มีความสุขตามพระประสงค์ของพระเจ้า ดังนั้นเมื่อกษัตริย์ไม่สามารถจะปกครองให้ประชาชนมีความสุขได้ ประชาชนจึงมีความชอบธรรมที่จะเอาอำนาจที่พระเจ้าประทานมาให้ นั้นกลับคืนจากกษัตริย์ได้”
ดังนั้น หากเราได้ศึกษารูปธรรมการต่อสู้ทางความคิดก่อนที่จะเกิดการเปลี่ยนแปลงระบอบ การปกครองทางสังคมแล้ว เราจะทราบได้ทันทีว่ามนุษย์ทุกยุค ทุกสมัยมีพลังวิริยภาพในตัวของมนุษย์เองในการแสวงหาเหตุผลที่จะเปลี่ยนแปลง สภาพแวดล้อมของการดำรงชีวิตไปสู่สิ่งที่ดีกว่าอย่างไม่รู้จักจบสิ้น และยิ่งหากเราเห็นการต่อสู้ทางความคิดใหม่มากขึ้นเท่าใดนั่นก็คือสัญญาณทาง ธรรมชาติที่บ่งบอกเราว่าการเปลี่ยนแปลงของระบอบสังคมครั้งใหญ่ กำลังใกล้จะเกิดขึ้นแล้วดังเช่นสังคมไทยในขณะนี้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น