ผลงานอันดับ ๑ จากเรื่องยาวที่ตีพิมพ์ในหนังสือ VOICE OF TAKSIN
เล่าเรื่องฟังสบายๆ สไตล์ จักร ภูมิสิทธิ์
คู่มือประกอบการตัดสินใจว่า จะเลือกข้าง แดง หรือ เหลือง ดี
ต้องศึกษา
ประวัติศาสตร์การปฏิวัติชนชั้นนายทุน
สมยศ พฤกษาเกษมสุข บรรณาธิการ
สำนักพิมพ์สยามปริทัศน์
บทนำ
จากใจผู้เขียน
นับแต่ ชาร์ล ดาวิน นักวิทยาศาสตร์นามอุโฆษได้ประกาศสัจธรรมแห่งทฤษฎีวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต ซึ่งคัดค้านพระคัมภีร์แห่งศาสนายูดาและศาสนาคริสต์ที่กล่าวอ้างว่าพระยะโฮวา เป็นผู้สร้างมนุษย์ขึ้นจากผงคลีดิน นับแต่นั้นวิชาการเมืองและวิชาสังคมวิทยาก็ได้พัฒนากลายเป็นวิทยาศาสตร์แขนง หนึ่งที่เรียกว่า วิทยาศาสตร์การเมือง (Political Science) หรือ วิทยาศาสตร์สังคม (Social Science) โดยผู้รู้วิทยาศาสตร์ทางการเมืองและศาสตร์ทางสังคมทั้งหลายได้ทำการตรวจสอบ ประวัติศาสตร์ของมนุษย์ชาติใหม่เพื่อหากฎเกณฑ์ของสิ่งที่เรียกว่า “วิวัฒนาการของสังคมมนุษย์” เพื่อสร้างเป็นทฤษฎีไว้ใช้อธิบายและพยากรณ์การเปลี่ยนแปลงทางสังคมในแต่ละ รัฐ โดยไม่ต้องพึ่งพาหมอดูที่ใช้การพยากรณ์จากฤกษ์พานาทีและดวงดาว
สิ่งหนึ่งทีค้นพบและไม่อาจปฏิเสธได้ว่าในช่วงระยะเวลา 200 กว่าปีที่ผ่านมาเป็นช่วงระยะเวลาของการพังทลายของระบอบการปกครองแบบกษัตริย์ โบราณ หรือที่รู้จักในนามระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช และพัฒนาเข้าสู่ระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยในขอบเขตทั่วโลกด้วยปัจจัยและ เงื่อนไขของความเจริญทางวิทยาศาสตร์และความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีทางการผลิต ซึ่งได้ส่งผลให้เกิดระบบการสาธารณสุขที่ดี ผู้คนมีอายุยืนยาวขึ้น อัตราการตายของเด็กแรกคลอดน้อยลง ประชากรเพิ่มมากขึ้น เป็นผลระบอบกษัตริย์แบบโบราณที่อำนาจรัฐรวมศูนย์อยู่ที่องค์พระมหากษัตริย์ ไม่สามารถจะตอบสนองความต้องการของประชากรในเมืองที่มีขนาดใหญ่ได้ รวมตลอดทั้งกระบวนการทางความเชื่อและความคิดของมนุษย์ก็เปลี่ยนแปลงไปจาก ความเชื่อดั้งเดิมอย่างไม่อาจจะหลีกเลี่ยงได้
วิวัฒนาการ สังคมของมนุษย์ไม่มีถอยหลังดังจะเห็นได้ว่ามีแต่รัฐทุกรัฐพัฒนาไปสู่ระบอบ ประชาธิปไตย แต่ไม่มีแม้แต่รัฐเดียวที่ถอยหลังกลับไปสู่ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช
เราไม่อาจจะบอกได้ว่าระบอบประชาธิปไตยดีกว่าระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชแต่เราบอกได้เพียงว่าสิ่งนี้เป็นกฎแห่งวิวัฒนาการสังคม
ความสำคัญของวิชาวิทยาศาสตร์การเมืองอยู่ที่จะต้องนำทฤษฎีประสานกับ เหตุการณ์ทางสังคมเพื่อพยากรณ์ทิศทางการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองว่าจะไปในทิศ ทางใด และสำคัญยิ่งกว่านั้นก็คือ ต้องหาทางให้เกิดการเปลี่ยนผ่านทางสังคมและการเมืองอย่างละมุนละม่อม และเกิดความรุนแรงต่อชีวิตของผู้คนให้น้อยที่สุด แต่มิใช่การขัดขวางการเปลี่ยนแปลง
กฎเกณฑ์นี้มิใช่สิ่งใหม่แต่เป็นสิ่งที่อยู่ใกล้ตัวคนไทยที่สุดนั้นคือ พระสูตรแห่งพุทธโอวาทที่เรียกว่า “ปฏิจสมุปบาท” ที่สภาพสิ่งทั้งหลายไม่เที่ยงล้วนแล้วแต่ “เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป” และเกิดขึ้นใหม่วนเวียนอยู่เช่นนี้ทั้งชีวิต จิต วิญญาณ และระบอบการปกครองของมนุษย์ แต่เหตุใดคนไทย จึงมิได้ใช้ประโยชน์จากพระสูตรเหล่านี้?
เป็นที่น่าเสียดายอย่างยิ่งที่วิชาเหล่านี้ถูกปิดกั้นและบิดเบือนจากนัก วิชาการที่อวดอ้างตัวเองเป็นผู้รู้ในรั้วมหาวิทยาลัยและเรียกตัวเองว่า “อาจารย์”
พวกนักวิชาการผู้ทรยศต่อวิชาชีพของไทยวันนี้ได้รวมหัวกันออกมาป่าวร้อง ทั้งโกหก บิดเบือน และขัดขวางกฎแห่งวิวัฒนาการสังคม ด้วยเพียงเพราะได้เศษเนื้ออาหารและเกียรติยศจอมปลอมจากระบอบอำมาตย์ จนกระทั่งเห็นการสังหารหมู่ประชาชนอย่างโหดร้ายเป็นเรื่องที่สมควรแล้ว หรือเห็นว่าชีวิตของมนุษย์เป็นเพียงเศษเสี้ยวธุลีของอาคารการค้าตึกเวิลด์เทรดเท่านั้น
พวก เขาไม่รู้หรอกหรือว่าระบอบอำนาจใดก็ตามที่เห็นชีวิตมนุษย์ไร้ค่าเป็นเพียง แค่ผักปลานั้นคือสัญญาณที่กำลังบอกว่าระบอบอำนาจนั้นกำลังจะล่มสลายการพัง ทลายและพัฒนาการของระบอบการปกครองในอดีตของมนุษยชาติทั่วโลกล้วนมีจุดเริ่ม ต้นจากสิ่งนี้ ดังจะเห็นได้จากการพังทลายของระบอบปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชโดยมี ราชวงศ์ชิงของจีนในปี ค.ศ 1911 เป็นต้น ไม่เว้นแม้แต่ระบอบอำนาจเผด็จการของสามัญชนในศตวรรษที่ 20 ต่อเชื่อมศตวรรษที่ 21 เช่นระบอบอำนาจของฮิตเลอร์แห่งเยอรมันในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่สังหารหมู่ชาวยิวด้วย ข้อหา “ขอพื้นที่ทางเศรษฐกิจคืนจากชาวยิว” หรือกรณีซัดดัม ฮูเซน แห่งอิรักที่ทำการ “กระชับพื้นที่” จนทำให้ชาวคริสต์ชนกลุ่มน้อยประเทศล้มตายจำนวนมาก ซึ่งในขณะที่จอมเผด็จการทั้งหลายยังมีอำนาจอยู่ โทรทัศน์ วิทยุ ของกรมประชาสัมพันธ์ก็ออกข่าวรณรงค์ครอบงำความคิดให้ประชาชนชื่นชมการฆ่า หมู่ประชาชนนั้นๆ แต่สุดท้ายระบอบอำนาจรัฐนั้นก็พังทลาย
มีนักวิชาการสามานย์ที่พยายามจะสร้างวาทะกรรมว่า “ผู้ชนะคือผู้เขียนประวัติศาสตร์” แต่ยังไม่มีผู้ชนะคนใดที่สามารถเขียนประวัติศาสตร์ชื่นชมกับการสังหารหมู่ ประชาชนแล้วป้ายสีว่าเป็นผู้ก่อการร้ายได้ยาวนาน ไม่ว่าจะเป็นผู้ชนะอย่างพระนางมาลีอังตัวเนต พระเจ้าซาร์นิโคลัส พระนางซูสีไทเฮา หรือแม้แต่ผู้ชนะ อย่างฮิตเลอร์, มุโสสินี และซัดดัม ฮูเซน แห่งอิรักในยุคปัจจุบัน
ผู้เขียนได้ใช้เวลาศึกษาและค้นคว้าเรียบเรียง “ประวัติศาสตร์การปฏิวัติของชนชั้นนายทุน” เล่มนี้ขึ้นเพียงเป็นเครื่องเตือนใจคนไทยทั้งหลาย ว่าสังคมจะเปลี่ยนผ่านอย่างสันติได้มนุษย์ในสังคมจะต้องพยายามศึกษาบทเรียน ทางอ้อมด้วยการศึกษาประวัติศาสตร์อย่างเป็นวิทยาศาสตร์เพื่อทำความเข้าใจกับ วิกฤติการณ์ทางสังคมไทยในเวลานี้ และนำบทเรียนจากประวัติศาสตร์มาปรับใช้อย่างมีสติเพื่อหาหนทางให้เกิดการ เปลี่ยนแปลงผ่านสังคมไทยอย่างสันติ และยังติดตามด้วยนโยบายการไล่ล่าสังหารคนเสื้อแดงที่เป็นอยู่ในขณะนี้ทั้งๆ ที่ภาวะวิกฤตของการชุมนุมผ่านไปแล้ว
ประวัติศาสตร์การปฏิวัติชนชั้นนายทุนในประเทศอังกฤษน่าจะเป็นเครื่องเตือนใจ ผู้คนในสังคมไทยวันนี้ และช่วยกันค้นคว้าต่อยอดกันต่อไปว่าประวัติศาสตร์ของอังกฤษได้ผ่านความ รุนแรงจากการปะทะกันระหว่างฝ่ายกษัตริย์และฝ่ายชนชั้นนายทุนในอดีตที่มีความ รุนแรงมากกว่าเหตุการณ์ในประเทศไทยในขณะนี้อีกหลายร้อยเท่า แต่ทำไมประเทศอังกฤษยังสามารถรักษาสถาบันพระมหากษัตริย์ไว้ได้ และได้กลายเป็นต้นแบบหนึ่งของระบอบประชาธิปไตยที่เรียกว่า “ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข” และสามารถพัฒนาให้อังกฤษเป็นมหาอำนาจประเทศหนึ่งในโลกได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น