สนับสนุนการทำกิจกรรม ส่งเสริมประชาธิปไตยของชาวเชียงใหม่ ร่วมกับศูนย์ประสานงานกลาง นปช.แดงเชียงใหม่

ชื่อบัญชี นปช.แดงเชียงใหม่ ธนาคารออมสิน เลขที่บัญชี 02 0012142 65 7 ( มีผู้รับผิดชอบบัญชี 3 ท่าน )

ติดต่อเรา deangchiangmai@gmail.com

ราบสวัสดี พี่น้องทุกๆท่านที่เข้ามาเยี่ยมเยือน บล็อค นปช.แดงเชียงใหม่ ขอเรียนชี้แจงสักนิดว่า เรา ”แดงเจียงใหม่” เป็นกลุ่มคนชาวเจียงใหม่ที่เคารพรัก กติกาประชาธิปไตย ต่อสู้และต่อต้านเผด็จการทุกรูปแบบ อยากเห็นประเทศชาติภายภาคหน้า มีความเจริญ ประชาชนรุ่นลูกหลานของเราอยู่อาศัยอย่างร่มเย็นเป็นสุขในประเทศของพวกเราเอง ไม่มีกลุ่มอภิสิทธิ์ชนกลุ่มใดมาสูบเลือดเนื้อ แอบอ้างบุญคุณเฉกเช่นในยุคนี้ที่พวกเราเห็น การที่จะได้รับในสิ่งที่มุ่งหวังก็ต้องมีการต่อสู้แสดงกำลังให้สังคมได้รับรู้ และเพื่อที่จะให้กลุ่มบุคคลที่มีอำนาจในปัจจุบันได้เข้าใจในสังคมที่ก้าวหน้าเปลี่ยนแปลงไป ไม่อาจฝืนต่อกระแสการพัฒนาของโลก การต่อสู้ร่วมกับผองชนทั่วประเทศในครั้งนี้ เรา “ แดงเจียงใหม่ “ ได้ร่วมต่อสู้ทุกรูปแบบ และในรูปแบบที่ท่านได้เข้ามาร่วมอยู่นี้ คือการเผยแพร่ข่าวสารต่อสังคม เรา “ แดงเจียงใหม่ “ ได้สร้างเวปบล็อคไว้ 2 ที่ คือที่นี่ “ แดงเจียงใหม่” สำหรับการบอกกล่าวในเรื่องทั่วไป และอีกที่หนึ่งคือ “ Daeng ChiangMai “ สำหรับข่าวสารที่เราเห็นว่ามีประโยชน์ต่อการรับรู้ข่าวสารในการร่วมทำกิจกรรมของพี่น้องประชาชน


เชิญร่วมสร้างขวัญ และกำลังใจให้เพื่อนพ้องน้องพี่ร่วมกันครับ
“แดงเจียงใหม่” " Daeng ChiangMai "

รักประชาธิปไตยไม่เอาเผด็จการ ต่อต้านการรัฐประหารทุกรูปแบบ สร้างขวัญกำลังใจและความสุขเพื่อปวงชน

การสังหารหมู่ที่กรุงเทพฯ : สมุดปกขาวโดยสำนักกฎหมาย Amsterdam & Peroff การสังหารหมู่ที่กรุงเทพฯ . ไพร่สู้บนเส้นทาง ๗๘ ปี ประชาธิปไตย ( ๒๔๗๕ - ๒๕๕๓ ) จรรยา ยิ้มประเสริฐ Voter's Uprising Thai

วันอาทิตย์ที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2554

นักปรัชญาชายขอบ: "ม.112" ขัดต่อหลักความยุติธรรมอย่างไร

Tue, 2011-03-22 00:39

นักปรัชญาชายขอบ

ความตอนหนึ่งในข้อเขียนชื่อพลิกตำนาน-เบื้องลึก รัฐบุรุษอาวุโว ปรีดี พนมยงค์ (คอลัมน์ ข้างหลังเซียน มติชนรายวัน 20 มีนาคม 2554) อ้างถึงคำพูดของ "ดุษฎี พนมยงค์ บุญทัศนกุล" ทายาทลำดับที่ 5 จากทั้งหมด 6 คนของ "ปรีดี-พูนศุข พนมยงค์" ระบุว่า

"ดุษฎี" เริ่มน้ำตาคลอเมื่อต้องพูดถึงความรู้สึกของผู้เป็นพ่อหลังเกิดกรณีสวรรคตรัชกาลที่ 8 ว่า

"ทุกคนชอบถาม แต่คุณพ่อไม่เคยบอกอะไรกับลูกหรือแม้แต่คุณแม่ คุณพ่อเคยพูดกับนักเรียนไทยในอังกฤษบอกว่าประวัติศาสตร์เมื่อถึงเวลาแล้ว ประวัติศาสตร์จะบอกเองว่าได้เกิดอะไร นี่คุณพ่อพูดแค่นี้ คุณพ่อมีความดีอยู่อย่างคือไม่เคยใส่ร้ายใคร คุณพ่อเป็นนักวิทยาศาสตร์สังคมและเป็นคนไม่พูดเรื่อยเปื่อยโดยไม่มีหลักฐาน ยืนยันไม่ใส่ร้ายใคร"

ยิ่งหากให้สรุปถึงเหตุการณ์ที่ "รัฐบุรุษอาวุโส" เคยเสียใจที่สุดนั้น "ดุษฎี" พูดด้วยน้ำเสียงสั่นเครือว่า

"คุณพ่อไม่ได้พูด...แต่พวกเราพูด แต่ละไว้จุด จุด จุด บอกแล้วว่าไม่พูดย้อนหลังพูดแต่ข้างหน้า"

คำถามที่เราควรถามต่อ ความเป็นมนุษย์ของตนเองคือ หากเราเป็นคนในตระกูล พนมยงค์เราจะรู้สึกคับแค้นใจเพียงใดที่จำเป็นต้องไม่พูดความจริงทั้งที่รู้อยู่เต็มอกว่าการพูดความจริงนั้นมันยุติธรรมต่อความเป็นมนุษย์ของ เราในแง่ที่ว่าทุกคนควรมีเสรีภาพในการพูดความจริงเพื่อปลดเปลื้องตนเองจากการเข้าใจผิดของ สังคม หรือจากการถูกลงโทษ (ทางสังคม ฯลฯ) ที่ไม่เป็นธรรม

และหากมองในมิติทางสังคม-การเมืองในสังคมเสรีประชาธิปไตย เราจะตอบได้อย่างไรว่า สังคมที่ไม่อนุญาตให้ประชาชนพูดความจริงด้านลบของบุคคลสาธารณะใดๆ เป็นสังคมที่มีความยุติธรรมในความสัมพันธ์ระหว่างรัฐ (ชนชั้นปกครอง) กับประชาชน !

นี่คือหัวใจของปัญหาแห่งประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 หรือที่นิยมเรียกกันว่า กฎหมายหมิ่นพระบรมราชานุภาพและบทบัญญัติมาตรา 8 วรรค 1 แห่งรัฐธรรมนูญที่ว่าองค์พระมหากษัตริย์ทรงดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้

ในทางนิติปรัชญา กฎหมายคือเครื่องมืออำนวยความยุติธรรม ซึ่งหมายความว่ากฎหมายจะต้องบัญญัติขึ้นบน หลักความยุติธรรม” (principle of justice) บางอย่าง

เช่นในสังคมเสรีประชาธิปไตยกฎหมายต้องบัญญัติขึ้นบนหลักความยุติธรรมพื้นฐาน 2 ประการ คือ หลักเสรีภาพ และหลักความเสมอภาค

ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 และมาตรา 8 แห่งรัฐธรรมนูญ คือกฎหมายที่ขัดกับหลักความยุติธรรมพื้นฐานทั้งสองประการโดยตรง เพราะเป็นกฎหมายที่วางระบบความสัมพันธ์ระหว่างชนชั้นปกครองกับประชาชนอย่างอ ยุติธรรม
เนื่องจาก 1) กำหนดสถานะความไม่เท่าเทียมในความเป็นคนระหว่างชนชั้นปกครองกับประชาชน 2) จำกัดเสรีภาพในการตรวจสอบของประชาชน คือประชาชนไม่มีสิทธิ์ตั้งคำถาม วิพากษ์วิจารณ์ สืบค้นหาความจริงหรือข้อเท็จจริงด้านลบของบุคคลที่มีสถานะพิเศษตามข้อ 1)

หากมองในระดับลึก สังคมที่ยอมรับกฎหมายที่ขัดต่อหลักความยุติธรรมเช่นนั้น ย่อมเป็นสังคมที่ยอมรับระบบอันอยุติธรรมต่อ ความเป็นมนุษย์ของตนเอง !

กรณีชะตากรรมของรัฐบุรุษอาวุโส ปรีดี พนมยงค์และครอบครัวก็ดี กรณีนางสาวดารณี ชาญเชิงศิลปะกุล ก็ดี หรือประชาชนทุกคนที่ถูกจำกัดเสรีภาพในการพูดความจริงคือผู้ที่ได้รับความ อยุติธรรมจากกฎหมายดังกล่าว

เพราะโดยความเป็นมนุษย์ในแง่มโนธรรมสำนึก ไม่ยุติธรรมเลยที่มนุษย์เราจะถูกบังคับหรือกำหนดโดยกฎหมายให้ต้องเคารพ สักการะบุคคลใดๆ ก็ตาม เพราะการเคารพสักการะหรือความศรัทธาเชื่อถือเป็นอิสระทางจิตใจของแต่ละบุคคล

และไม่ยุติธรรมเลยที่ประชาชนต้องถูกจำกัดเสรีภาพในการพูดถึงความจริงทั้ง ด้านบวกและลบของบุคคลสาธารณะใดๆ ที่ยังชีพด้วยภาษีของประชาชน และยิ่งเป็นความโหดร้ายต่อจิตใจมนุษย์หากชีวิตเขาต้องยอมจำทนไม่พูดความจริง ที่ควรจะพูด (อย่างที่ครอบครัวปรีดี พนมยงค์ประสบ)

นอกจากมาตรา112 และรัฐธรรมนูญมาตรา 8 จะขัดกับหลักความยุติธรรมตามระบอบประชาธิปไตยดังกล่าวแล้ว ยังขัดแย้งโดยตรงต่อระบบความเชื่อที่ว่า พระมหากษัตริย์ทรงทศพิธราชธรรมหรือ ปกครองแผ่นดินโดยธรรม

เพราะหากปราศจากเสรีภาพในการตรวจสอบแล้วประชาชนจะ รู้” (ไม่ใช่เชื่อ”) ได้อย่างไรว่า พระมหากษัตริย์ปฏิบัติตามทศพิธราชธรรมหรือปกครองแผ่นดินโดยธรรมจริงหรือไม่?

นี่คือประเด็นสำคัญอีกประเด็นหนึ่ง หากเรายอมรับว่าระบบความเชื่อที่ว่าพระมหากษัตริย์ทรงทศพิธราชธรรมเป็นระบบความเชื่อที่มาจากพุทธศาสนา เราจำเป็นต้องยอมรับต่อไปว่าคุณธรรมหรือความดีงามตามกรอบคิดของพุทธศาสนานั้นสัมพันธ์อย่างจำเป็นกับการตรวจสอบ

เพราะตามหลักกาลามสูตร สัจจะและความดีงามทางศีลธรรมม่อาจถูกยืนยันได้ด้วย อำนาจและการสร้างความเชื่อแต่ถูกยืนยันหรือรับรองด้วย เสรีภาพในการตรวจสอบอย่างเต็มที่

ฉะนั้น ไม่ว่าจะมองจากหลักความยุติธรรมตามระบอบประชาธิปไตย หรือหลักการพระมหากษัตริย์ทรงทศพิธราชธรรมมาตรา 112 และรัฐธรรมนูญมาตรา 8 ย่อมสมควรถูกยกเลิก หรือแก้ไขปรับปรุงให้ไปกันได้กับหลักเสรีภาพและความเสมอภาค

จึงเป็นเรื่องสมเหตุผลอย่างยิ่งที่คนเสื้อแดงรณรงค์ยกเลิก ม.112 และที่จริงแกนนำ แกนนอน และพรรคการเมืองที่คนเสื้อแดงสนับสนุน ควรมีวาระที่ชัดเจนและจริงจังมากขึ้นในการรณรงค์เรื่องนี้ !

http://www.prachatai.com/journal/2011/03/33664

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น