คอลัมน์ เมืองไทยหรือเมืองใคร?
เรื่อง สิทธิที่จะไม่ถูกฆ่า
โดย กาหลิบ
ใน ขณะที่ฝ่ายต่อต้านรัฐบาลลิเบียเข้ายึดฐานน้ำมันทางภาคตะวันออกของประเทศ ที่เรียกว่า ราส ลานูฟ ได้สำเร็จนั้น รัฐบาลลิเบียภายใต้ พันเอกมูฮัมมา กัดดาฟี่ ก็เข้าตีคืนด้วยอาวุธหนักอย่างต่อเนื่อง ผู้คนล้มตายกันมหาศาล ขณะที่เขียนอยู่นี้ ฝ่ายกัดดาฟี่สามารถยึดเมืองบินจาวัดคืนมาได้แล้วหนึ่งเมือง บินจาวัดอยู่ห่างจาก ราส ลานูฟ เพียงประมาณ ๖๐ กิโลเมตร อีกไม่กี่ชั่วโมงคงจะถึงฐานที่มั่นหลักของผู้ต่อต้านรัฐบาล
เลขาธิการ องค์การสหประชาชาติคือ นายบัน คี มูน รีบแต่งตั้งผู้แทนพิเศษคนใหม่ไปพร้อมกับทีมตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนเพื่อ สกัดกั้นการทำลายล้างครั้งใหญ่ จะเป็นผลขนาดไหนทั่วโลกกำลังคอยลุ้นอยู่
ส่วนสหรัฐอเมริกาลอยเรืออยู่เฉยๆ เหมือนยังตัดสินใจไม่ได้ว่าจะทำอะไรต่อไปดี
ท่ามกลางความตึงเครียดและความสนใจอย่างสูงของประชาคมโลก สังเกตไหมว่า ได้เกิดอะไรที่น่าจับตามองขึ้นในกรณีนี้
ฝ่ายประชาชนที่รัฐบาลลิเบียเรียกว่า “กบฏ” นั้น เข้ายึดเมืองทางภาคตะวันออกและตะวันตกของประเทศด้วยกองกำลังประชาชนที่ติด อาวุธหนัก เมื่อถูกฝ่ายรัฐบาลรุกไล่ ก็ใช้อาวุธที่มีเข้าตอบโต้อย่างรุนแรงปานกัน ฝ่ายรัฐบาลที่เป็นกองกำลังทหารราบจึงได้ล่าถอยไปยกหนึ่ง
องค์การ สหประชาชาติและองค์การระหว่างประเทศอีกหลายหน่วย แสดงท่าทีสนับสนุนทันที เนื้อความอาจแตกต่างกันบ้าง แต่สาระคือฝ่ายประชาชนมีสิทธิที่จะใช้อาวุธปกป้องตัวเองอย่างเต็มที่เพราะ รัฐบาลกัดดาฟี่ใช้อาวุธสงครามห้ำหั่นประชาชนก่อน แถลงการณ์หลายหน่วยงานเกือบจะพูดด้วยซ้ำว่าใครมีอาวุธควรส่งไปช่วยประชาชน ชาวลิเบียที่กำลังต่อสู้เพื่อป้องกันชีวิตและสิทธิทางการเมืองของตน
เห็น หรือไม่ว่าเมื่อมวลชนถูกสังหาร ทำร้าย และปราบปรามด้วยกำลังจนเป็นที่ประจักษ์สนับสนุน การใช้อาวุธเพื่อตอบโต้ป้องกันตัวก็กลายเป็นความชอบธรรมขึ้นมา
คำ ถามคือสถานการณ์ในลิเบียต่างอะไรกับการใช้กำลังปราบปรามมวลชนฝ่าย ประชาธิปไตยในเมืองไทยเมื่อเดือนเมษายน พ.ศ.๒๕๕๒ เดือนเมษายน พ.ศ.๒๕๕๓ และเดือนพฤษภาคม พ.ศ.๒๕๕๓
คำตอบคือ ไม่แตกต่างกันเลย
ผู้ชูธง “สงบ สันติ และปราศจากอาวุธ” ในการรณรงค์ของไทยอย่างชนิด คำขวัญข้าใครอย่าแตะ เห็นตัวอย่างลิเบียอย่างนี้แล้ว ได้คิดอะไรขึ้นมาบ้างหรือไม่?
การ ประกาศตัวเองว่าจะไม่ใช้อาวุธไม่ว่าจะในกรณีใดๆ นั้น นอกจากจะช่วยฆ่ามวลชนฝ่ายตัวเองครั้งแล้วครั้งเล่าแล้ว ยังไม่ใช่สิ่งที่เรียกว่าเป็นกระแสหลักของประชาคมระหว่างประเทศอีกด้วย เพราะประชาคมระหว่างประเทศรวมทั้งองค์การสหประชาชาติเขาสนับสนุนสิ่งที่ เรียกว่า the rights of self-defense หรือสิทธิในการป้องกันตัวเองของมนุษย์ทุกผู้ทุกนาม
ใช่ แล้ว องค์การสหประชาชาติในวันนี้พูดเสียงดังฟังชัดว่ามนุษย์ทุกคนที่ถูกไล่ล่าฆ่า ฟันด้วยมือของรัฐบาลตัวเอง และด้วยอาวุธที่เอาภาษีอากรจากน้ำพักน้ำแรงของตนไปซื้อ อย่างคนไทยเสื้อแดงเมื่อปี พ.ศ.๒๕๕๒ และ ๒๕๕๓ สามารถเอาอาวุธที่มีขึ้นมาปกป้องตัวเองตามสิทธิของความเป็นคนได้
คำขวัญที่พูดติดปากจนแทบไม่ต้องคิดว่า “สงบ สันติ และปราศจากอาวุธ” ถึงคราวต้องเปลี่ยนเป็น “สิทธิอันชอบธรรมในการป้องกันตนเองของประชาชน” แล้วหรือยัง?
ตาม หลักกฎหมายสากล การป้องกันตัวมิใช่การรุกรานและไม่ถือเป็นการสั่งสมอาวุธไว้ประกอบอาชญากรรม แต่เป็นการป้องกันสิทธิของมนุษย์โดยธรรมชาติ หากพิสูจน์เช่นนี้ได้ในศาลสถิตยุติธรรมที่ยุติธรรมจริง ผู้ถูกกล่าวหาก็จะพ้นผิดทุกเมื่อ
ขณะ นี้เรากำลังชวนมวลชนมาชุมนุมกันใหม่ ซึ่งมวลชนก็จะมากันมากมายอย่างเต็มใจและด้วยความเสียสละ เราจะทำอย่างไรมิให้สถานการณ์เผชิญหน้ากับฝ่ายรัฐจบลงด้วยความเจ็บปวดรวด ร้าวเช่นที่เคยเป็นมาอีก
มาเริ่มตรงสิทธิในการป้องกันตัวเองอย่างมวลชนลิเบียดีไหม?
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น