สนับสนุนการทำกิจกรรม ส่งเสริมประชาธิปไตยของชาวเชียงใหม่ ร่วมกับศูนย์ประสานงานกลาง นปช.แดงเชียงใหม่

ชื่อบัญชี นปช.แดงเชียงใหม่ ธนาคารออมสิน เลขที่บัญชี 02 0012142 65 7 ( มีผู้รับผิดชอบบัญชี 3 ท่าน )

ติดต่อเรา deangchiangmai@gmail.com

ราบสวัสดี พี่น้องทุกๆท่านที่เข้ามาเยี่ยมเยือน บล็อค นปช.แดงเชียงใหม่ ขอเรียนชี้แจงสักนิดว่า เรา ”แดงเจียงใหม่” เป็นกลุ่มคนชาวเจียงใหม่ที่เคารพรัก กติกาประชาธิปไตย ต่อสู้และต่อต้านเผด็จการทุกรูปแบบ อยากเห็นประเทศชาติภายภาคหน้า มีความเจริญ ประชาชนรุ่นลูกหลานของเราอยู่อาศัยอย่างร่มเย็นเป็นสุขในประเทศของพวกเราเอง ไม่มีกลุ่มอภิสิทธิ์ชนกลุ่มใดมาสูบเลือดเนื้อ แอบอ้างบุญคุณเฉกเช่นในยุคนี้ที่พวกเราเห็น การที่จะได้รับในสิ่งที่มุ่งหวังก็ต้องมีการต่อสู้แสดงกำลังให้สังคมได้รับรู้ และเพื่อที่จะให้กลุ่มบุคคลที่มีอำนาจในปัจจุบันได้เข้าใจในสังคมที่ก้าวหน้าเปลี่ยนแปลงไป ไม่อาจฝืนต่อกระแสการพัฒนาของโลก การต่อสู้ร่วมกับผองชนทั่วประเทศในครั้งนี้ เรา “ แดงเจียงใหม่ “ ได้ร่วมต่อสู้ทุกรูปแบบ และในรูปแบบที่ท่านได้เข้ามาร่วมอยู่นี้ คือการเผยแพร่ข่าวสารต่อสังคม เรา “ แดงเจียงใหม่ “ ได้สร้างเวปบล็อคไว้ 2 ที่ คือที่นี่ “ แดงเจียงใหม่” สำหรับการบอกกล่าวในเรื่องทั่วไป และอีกที่หนึ่งคือ “ Daeng ChiangMai “ สำหรับข่าวสารที่เราเห็นว่ามีประโยชน์ต่อการรับรู้ข่าวสารในการร่วมทำกิจกรรมของพี่น้องประชาชน


เชิญร่วมสร้างขวัญ และกำลังใจให้เพื่อนพ้องน้องพี่ร่วมกันครับ
“แดงเจียงใหม่” " Daeng ChiangMai "

รักประชาธิปไตยไม่เอาเผด็จการ ต่อต้านการรัฐประหารทุกรูปแบบ สร้างขวัญกำลังใจและความสุขเพื่อปวงชน

การสังหารหมู่ที่กรุงเทพฯ : สมุดปกขาวโดยสำนักกฎหมาย Amsterdam & Peroff การสังหารหมู่ที่กรุงเทพฯ . ไพร่สู้บนเส้นทาง ๗๘ ปี ประชาธิปไตย ( ๒๔๗๕ - ๒๕๕๓ ) จรรยา ยิ้มประเสริฐ Voter's Uprising Thai

วันอังคารที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2554

บทความที่๔๔๑.การอภิวัฒน์ในนิคารากัว



ช่วงนี้มีการกล่าวถึงประเทศนิคารากัว ในฐานะประเทศที่คุณทักษิณ ชินวัตรไป

เยือน จึงขอนำเรื่องราวของนิคารากัวที่น่าจดจำ ก็คือ การอภิวัฒน์ของประชาชน

โค่นล้มผู้กดขี่ ขูดรีด จนได้รับความสำเร็จ มาให้ได้ศึกษากันอีกครั้งดังนี้

บทเรียนจากการปฏิวัติในนิคารากัว

ข่าวการเคลื่อนไหวทางเมืองในประเทศอเมริกากลางดูเหมือนจะไม่ค่อยได้รับ

ความสนใจจากสื่อ มวลชนและคนทั่วไป อาจเป็นเพราะเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นมีผล

กระทบต่อไทยไม่มากนัก ข่าวเกี่ยวกับอเมริกากลางเพิ่งจะได้รับความสนใจก็ในปี

๒๕๒๒ เมื่อกระแสการต่อสู้คัดค้านอำนาจเผด็จการโซโมซาจากประชาชนได้ทวี

สูงขึ้น จนในที่สุดก็สามารถโค่นล้มระบบการปกครองของประธานาธิบดีโซโมซา

ลงได้ นับเป็นชัยชนะอันยิ่งใหญ่ของประชาชนนิคารากัวในการต่อสู้กับอำนาจ

เผด็จการ ที่ปกครองมาเกือบครึ่งศตวรรษ

การโค่นล้มระบอบเผด็จการโซโมซา โดยกองกำลังปฏิวัติของแนวร่วมรักชาตินิ

คารากัว ภายใต้การนำของแนวร่วมปลดปล่อยแซนดินิสต้า (Sandinista

Liberation National Front :FSLN) นั้น มีสิ่งที่น่าสนใจติดตามมาหลายอย่าง

โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกี่ยวกับการผนึกกำลังแนวร่วม การประสานรูปแบบการต่อสู้

เป็นต้น

ในการต่อสู้กับผู้ปกครองเผด็จการนั้น นอกจากจะต้องกำหนดยุทธศาสตร์

ยุทธวิธีของการปฏิวัติให้สอดคล้องกับสภาพสังคมแล้ว ยุทธศาสตร์ ยุทธวิธีและ

รูปแบบของการต่อสู้ ก็จะต้องกำหนดให้สอดคล้องกับสภาพการต่อสู้ที่เป็นจริง

ด้วย จึงจะนำไปสู่ชัยชนะได้

ในทางหลักการแล้ว การจะต่อสู้เปลี่ยนแปลงไม่ควรปฏิเสธรูปแบบการต่อสู้ใดๆ

แต่จะใช้รูปแบบการต่อสู้ใด เมื่อไรนั้นก็จะต้องกำหนดจากสภาพการณ์ที่เป็นจริง

ระยะหรือขั้นตอนของการต่อสู้เป็นสำคัญ

การต่อสู้ของประชาชนนิคารากัว นอกจากจะต่อสู้ด้วยอาวุธแล้ว ยังประสานการ

ต่อสู้ทางการเมืองหลายรูปแบบด้วย ตั้งแต่ การชุมนุม ประท้วง เดินขบวน นัด

หยุดงาน หรือแม้กระทั่งการจับตัวประกัน

ในการดำเนินการต่อสู้นั้นนอกจากจะต้องมีกองหน้าของประชาชนเป็นส่วนนำแล้ว

การผนึกกำลังของประชาชนชั้นชนต่างๆก็เป็นสิ่งที่สำคัญมากที่สุดอันหนึ่ง บท

เรียนจากการปฏิวัตินิคารากัว ได้พิสูจน์ชี้ชัดว่า มีแต่ทำให้การผนึกกำลังของมวล

ประชามหาชนปรากฏเป็นจริงขึ้นเท่านั้น จึงจะสามารถโค่นล้มเผด็จการลงไปได้

ในที่สุด

นิคารากัว

เมื่อกลางปี พ.ศ. ๒๕๒๒ ประชาชนนิคารากัวได้โค่นล้มระบบเผด็จการของนาย

พลโซโมซาลง กองกำลังปฏิวัติของแนวร่วมรักชาติภายใต้การนำของขบวนการ

ซันดินิสต์ เข้ายึดเมืองหลวงมานากัว ในวันที่ ๑๙ กรกฎาคม นับแต่นั้นมานิคารา

กัวได้กลายเป็น เมกกะอีกแห่งหนึ่งของ นักแสวงบุญการปฏิวัติจากทุกมุม

โลก จากลาตินอเมริกาและยุโรป ทั้งนี้เพราะเอกลักษณ์ของการปฏิวัตินิคารากัว

เป็นสิ่งที่ควรแก่การศึกษาติดตาม ผลสะเทือนจากการปฏิวัตินิคารากัวนั้นใหญ่

หลวง สิ่งทีเรียกว่า ความวุ่นวายหรือ ไฟปฏิวัติที่กำลังลุกลามอยู่ในประเทศ

อเมริกากลางอื่นๆ ได้แก่ เอลซันวาดอร์ และกัวเตมาลา

นิคารากัวเป็นประเทศเล็กๆในอเมริกากลางแต่ประชาชนมีประวัตการต่อสู้อันยาว

นาน ขบวนการปฏิวัติซันดิ นิสต์สามารถโค่นล้มระบบเผด็จการลงได้ด้วยการ

ประสานรูปแบบการต่อสู้ และใช้ประโยชน์จากองค์ประกอบพื้นฐานของการต่อสู้

ได้อย่างมีศิลปะ บทเรียนจากการปฏิวัตินิคารากัวมีมากมายที่น่าศึกษา

การต่อสู้ของประชาชนนิคารากัว

ในตอนกลางพุทธศตวรรษที่ ๒๐ นิคารากัวก็เช่นเดียวกับประเทศอเมริกากลาง

อื่นๆที่ตกอยู่ภายใต้การยึดครองของสเปน ที่แผ่ตัวเข้ามาหาความมั่นคั่งและ

อาณานิคม จนกระทั่งกลางพุทธศตวรรษที่ ๒๓ นิคารากัว หลุดออกมาเป็น

อิสรภาพอยู่ได้ระยะหนึ่ง แต่ต่อมาเมืองชายฝั่งแบซิฟิกอันอุดมสมบูรณ์ ตกไปอยู่

ในความอารักขาของอังกฤษจนถึงปี พ.ศ. ๒๔๐๓ นิคารากัวกลับเป็นเอกราช

สมบูรณ์อีก พอปีพ.ศ. ๒๔๕๕ สหรัฐอเมริกาแผ่อิทธิพลเข้ามาภายในประเทศ

ถือสิทธิ์เด็ดขาดในการที่จะขุดคลองตัดผ่านประเทศ เช่นเดียวกับปานามา

ประชาชนนิคารากัวได้ทำการต่อต้าน ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๗๐ สหรัฐฯ ส่งกำลัง

ทหารเข้าทำการยึดครอง

ในระยะนี้เอง ขบวนการชาตินิยมนิคารากัวได้ลุกขึ้นสู้ภายใต้การนำของ โอกุสโต

เซซาร์ ซันติโน โดยตั้งกองกำลังที่เรียกว่า กองทัพปกป้องอธิปไตยแห่งชาติขึ้น

เพื่อปลดปล่อยประเทศออกจากอิทธิพลของสหรัฐฯ จนกระทั่งถึงปี พ.ศ. ๒๔๗๙

มีการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองที่สำคัญเกิดขึ้นคือ ตาโช โซโมซา ก้าวขึ้นมาเป็น

ประธานาธิบดีคนแรกของนิคารากัว โดยมีอิทธิพลของอเมริกาหนุนหลังอยู่

ตั้งแต่นั้นมานิคารากัวก็ตกเป็นทาสทั้งทางการเมืองและเศรษฐกิจของสหรัฐฯ

ตาโช ครองอำนาจอยู่ถึงยี่สิบปี ก่อนจะถูกลอบสังหารโดยขบวนชาตินิยมในปี

พ.ศ. ๒๔๙๙ ในระหว่างยี่สิบปีที่อยู่ในอำนาจ ครอบครัวโซโมซาได้วางตำแหน่ง

ทายาททางการเมืองไว้อย่างรัดกุม โดยส่งลูกชายคนโตและคนรองได้แก่ หลุยส์

และอานัสตาซิโอ ไปศึกษาในสหรัฐฯ คนแรกเรียนทางพลเรือน คนหลังเรียน

ทางทหาร จึงไม่น่าสงสัยเลยที่ครอบครัวเผด็จการโซโมซาสามารถแผ่ขยาย

อำนาจครอบครองผูกขาดทางการเมืองและเศรษฐกิจนิคารากัวไว้ได้ โดย อานัส

ตาซิโอ เป็นผู้ควบคุม หน่วยรบพิเศษ” (National Guard) ซึ่งเป็นหน่วยรบที่มี

ประสิทธิภาพสูงสุด (ฝึกโดยตรงโดยผู้เชี่ยวชาญชาวอเมริกัน) ทำการคุ้มครอง

ฐานอำนาจของตระกูลไว้

หลังจากตาโชถูกลอบสังหาร หลุยส์ โซโมซา ลูกชายคนโตได้รับเลือกเป็น

ประธานาธิบดีในปี พ.ศ. ๒๕๐๐ จนถึงปี พ.ศ. ๒๕๐๖ อำนาจหลุดมือจากตระกูล

โซโมซาไปเป็นเวลา ๕ ปีเพราะแพ้เลือกตั้ง ในช่วงสมัยหลุยส์เป็นประธานาธิบดีนี้

เองที่ขบวนการซันดินิสต์ ได้ก่อตั้งขึ้นเมื่อ ๒๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๐๔ ต่อมาตระกูล

โซโมซาได้กลับมาครองอำนาจอีกครั้งหนึ่งในปี ๒๕๑๐ โดย อานัสตาซิโอ น้อง

ชายของหลุยส์ได้นำกำลังหน่วยรบพิเศษเข้ายึดอำนาจ ฉีกรัฐธรรมนูญ และ

สถาปนาตัวเองขึ้นเป็นจอมเผด็จการทหารสมบูรณ์แบบด้วยความเห็นชอบจาก

วอชิงตัน จากนั้นก็กำจัดคู่แข่งขันทางการเมือง ทางเศรษฐกิจ ตระกูลโซโมซา

และบริวารทำการผูกขาดทางการเมือง ทางทหารและครอบงำทางเศรษฐกิจกว่า

ครึ่งประเทศ

เดือนธันวาคม พ.ศ. ๒๕๑๕ เกิดแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ในนิคารากัว ประชาชนตาย

และบาดเจ็บเกือบสามหมื่นคน คนเสียหายทางวัตถุมากมาย นานาชาติส่งความ

ช่วยเหลือมหาศาลประมาณ ๘๐๐ ล้านดอลล่าร์มาช่วยประชาชนผู้ประสบภัย แต่

โซโมซาและบริวารที่ควบคุมกลไกการบริหารกลับฉ้อฉล โดยไม่คำนึงถึงความ

ทุกข์ยากของประชาชน นี่เป็นหัวเลี้ยวหัวต่อทางการเมืองของนิคารากัว

ระบบเผด็จการโซโมซาเริ่มถูกต่อต้านทางการเมืองจากประชาชนทุกระดับชั้น

ทางสังคม ในช่วงนี้เองที่ขบวนการซันดินิสต์เข้มแข็งขึ้นและได้รับการสนับสนุน

จากประชาชนและแนวร่วมอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน

แต่การต่อสู้ของขบวนการฯ ในช่วงนี้ก็ยังประสบความลำบาก หน่วยกองโจรขนาด

เล็กที่ปฏิบัติการอยู่ตามภูเขาและป่าทึบ ต้องเผชิญกับกำลังขนาดใหญ่ของรัฐบาล

บ่อยครั้งที่การล้อมปราบทำความเสียหายใหญ่หลวงให้แก่ขบวนการฯ ปลายปี

พ.ศ. ๒๕๑๗ ขบวนการฯ ทำการรุกครั้งใหญ่ หน่วยกล้าตายจำนวนหนึ่งบุกเข้าจับ

ตัวประกัน ๑๗ คน ๕ คนในนั้นเป็นรัฐมนตรีของรัฐบาล ขบวนการฯได้ตั้งข้อเรียก

ร้องให้ปล่อยนักโทษการเมือง ๒๐ คน ค่าไถ่ ๕ ล้านดอลล่าร์ รัฐบาลยอมตามข้อ

เรียกร้อง แต่หลังจากนั้นก็เริ่มปราบปรามรุนแรง มีการกวาดล้างกวาดจับทั่ว

ประเทศ การทรมานนักโทษการเมืองเป็นเรื่องปกติธรรมดา แต่การต่อสู้ของขบ

วนการซันดินิสต์แผ่ขยายมากขึ้นทุกที และประชาชนหันมาสนับสนุนยิ่งขึ้น ความ

ช่วยเหลือ มีทั้งให้กำลังใจ สนับสนุนทางการเงิน ให้ที่หลบซ่อนและอาหารจน

กระทั่งเข้าร่วมจับอาวุธสู้ก็มีมาก

ต้นปี พ.ศ. ๒๕๓๑ นักหนังสือพิมพ์ฝ่ายค้านผู้มีชื่อเสียงถูกลอบสังหารโดยพวก

ของโซโมซา การลอบสังหารนี่คือจุดชนวนสงครามการเมือง เพราะประชาชนนิ

คารากัวเต็มไปด้วยความเคียดแค้น และหมดความอดกลั้น ขบวนการซันดินิสต์

เริ่มรุกทันทีโดยบุกตีค่ายทหารตามเมืองใหญ่หลายแห่งพร้อมกัน ประชาชนใน

หลายเมืองลุกขึ้นสู้ เช่นเมืองมาซายา การต่อสู้ตามเมืองใหญ่ยืดเยื้ออยู่หนึ่ง

สัปดาห์

พอถึงเดือนมิถุนายนกองกำลังของขบวนการฯ เปิดการรุกครั้งใหญ่ด้วยการบุก

เข้าตีค่ายของ หน่วยรบพิเศษกลางเมืองหลวงมานากัว ติดตามมาด้วยการยึด

รัฐสภาในขณะที่สมาขิกรัฐบาลประชุมกัน เดือนถัดไปมีการหยุดงานทั่วประเทศ

วันที่ ๒๐ กันยายน หน่วยรบพิเศษของโซโมซาบุกเข้าตีเมืองเอสเตลิจนได้คืน

ฝ่ายรัฐบาลทำการสังหารหมู่เด็กและผู้หญิงจำนวนมาก ส่งผลให้มีผู้ลี้ภัยเข้าไป

คอสตาริกา และฮอนดูรัสถึงหนึ่งหมื่นหกพันคน

เดือนธันวาคมรัฐบาลประกาศสภาวะฉุกเฉินทั่วประเทศ เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.

๒๕๒๒ สหรัฐฯ ตัดความช่วยเหลือทางทหารต่อรัฐบาลเผด็จการของนายพลอา

นัสตาซิโอ โซโมซาในฐานะละเมิด สิทธิมนุษยชน

นิคารากัวเข้าสู่สงครามประชาชนเต็มรูปแบบ วันที่ ๑๗ กรกฎาคม นายพลโซโม

ซาและบริวารหนีออกนอกเมืองหลวง กองกำลังของประชาชนภายใต้การนำของ

ขบวนการซันดินิสต์เข้ากรุงมานากัวในวันที่ ๑๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๒๒

อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับการอภิวัฒน์ของชาวนิคารากัวได้ที่

http://socialitywisdom.blogspot.com/2007/02/blog-post_9207.html และ

http://socialitywisdom.blogspot.com/2007/02/blog-post_6841.html

Posted by แด่บรรพชนผู้อภิวัฒน์ ๒๔๗๕ at 4:39 PM สนใจเวปนี้

http://socialitywisdom.blogspot.com เข้าไปค้นคว้าเพิ่มเติมได้ครับ

****************************************************

*********************************************
เวเนซุเอลา: เส้นทางปฏิวัติยุคหลังประวัติศาสตร์

ภัควดี วีระภาสพงษ์
นักแปลและนักวิชาการอิสระ
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน

บทความวิชาการนี้ได้รับมาจากผู้เรียบเรียง เป็นเรื่องเกี่ยวกับ เหตุการณ์จลาจล

ของคนจนในเวเนซุเอลา ซึ่งทนรับความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและความ

ผันผวนไม่ไหว จึงก่อเกิดการลุกฮือขึ้นมาในที่สุด ทั้งนี้เป็นผลพวงมาจากอเมริกัน

มักใช้ละตินอเมริกาเป็นหนูทดลองทฤษฎีใหม่ๆ ส่วนทหารอาชีพของเวเนซุเอลา

มีสำนึกกับเรื่องเหล่านี้ไปในทางเห็นใจประชาชน


เวเนซุเอลา: เส้นทางปฏิวัติยุคหลังประวัติศาสตร์
ภัควดี วีระภาสพงษ์ : นักแปลและนักวิชาการอิสระ

"...วิกฤตการณ์ที่แท้จริงย่อมเกิดขึ้น เมื่อสิ่งที่กำลังตายยังไม่ตายสนิท
และสิ่งที่กำลังก่อเกิดยังก่อเกิดไม่เสร็จสิ้น..."
อันโตนิโอ กรัมชี

เรามักเห็นรายการบันเทิงทีวีนำเรื่องหน้าแตกของเหล่าดาราหรือคนดังมาให้คน

ดูขำขันเล่น ถึงขนาดมีการจัดอันดับว่า การปล่อยไก่โดยไม่ได้ตั้งใจของใครจะ

หน้าแตกได้ละเอียดกว่ากัน แต่หากจัดอันดับเรื่องหน้าแตกของนักวิชาการบ้าง

อันดับหนึ่งคงหนีไม่พ้นวลีสะท้านบรรณพิภพที่ประกาศถึง "จุดจบของประวัติ

ศาสตร์" ของฟรานซิส ฟูกุยามา

ประวัติศาสตร์พิสูจน์ให้ฟูกุยามาเห็นแล้วว่า ประวัติศาสตร์ยังไม่ยอมตายง่าย ๆ

และทุนนิยมยังไม่ชนะอย่างเด็ดขาด ประวัติศาสตร์สร้างความผิดคาดให้เราเสมอ

ในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 ไม่เคยมีใครคิดว่าการปฏิวัติสังคมนิยมจะเกิดขึ้นใน

ประเทศอ่อนแอล้าหลังอย่างรัสเซีย และในศตวรรษที่ 21 ละตินอเมริกาคือ

ภูมิภาคที่ไม่มีใครคาดคิดเช่นกันว่า มันจะกลายเป็นเวทีแนวหน้าของอุดมการณ์

สังคมนิยม

ย้อนกลับไป...แต่ไม่ต้องถึงจุดเริ่มต้น
เราคงไม่ต้องย้อนอดีตกลับไปถึง 500 ปีก่อน เมื่อคองควิสตาดอร์สแปเนียร์ดเดิน

เรือมาพิชิตดินแดนในภูมิภาคนี้และทำลายอารยธรรมของชาวอินเดียนแดง ไม่

ต้องเล่าย้อนถึงเวลาหลายร้อยปีหลังจากนั้นที่ชาวอินเดียนแดงถูกกดขี่ และชาว

แอฟริกันจำนวนมากถูกจับลงเรือมาขายเป็นทาสข้ามทวีป ไม่ต้องย้อนกลับไปถึง

ช่วงต้นศตวรรษที่ 19 เมื่อวีรบุรุษของชาวเวเนซุเอลาและอเมริกาใต้ ซีโมน โบลิ

วาร์ นำทัพปลดปล่อยดินแดนแห่งนี้จากการเป็นอาณานิคมของสเปน ทั้งยังก่อตั้ง

สาธารณรัฐแห่งโคลอมเบีย (ปัจจุบันคือเอกวาดอร์, โคลอมเบีย, ปานามาและ

เวเนซุเอลา) ความใฝ่ฝันอันยิ่งใหญ่ของเขาคือการรวบรวมดินแดนนี้เพื่อก่อตั้งเป็น

"The Gran Colombia" ที่กินอาณาเขตไปถึงเปรูกับโบลิเวีย

เราจะย้อนกลับไปใกล้ ๆ แค่สิบกว่าปีก่อน เมื่อ ค.ศ. 1989 ปีที่ประวัติศาสตร์

จารึกเหตุการณ์ที่เปลี่ยนโฉมหน้าการเมืองโลกหลายอย่าง มันเป็นปีที่กำแพง

เบอร์ลินพังทลายและการสังหารหมู่ที่จัตุรัสเทียนอันเหมิน แต่เหตุการณ์หนึ่งที่

เป็นแค่ข่าวเล็ก ๆ หรือไม่เป็นข่าวเลยในสื่อมวลชนกระแสหลัก คือการจลาจลใน

เมืองหลวงคารากัสของเวเนซุเอลา

คงเพราะมันเป็นการจลาจลในประเทศแถบละตินอเมริกาที่อะไร ๆ ก็เกิดขึ้นได้

แต่มันส่งผลสะเทือนอย่างลึกซึ้งต่อประชาชนในประเทศนี้ และกลายเป็นชนวน

ของแรงกระเพื่อมที่ส่งผลมาถึงปัจจุบัน การจลาจลครั้งนี้เรียกขานกันว่า

เหตุการณ์คารากาโซ (El Caracazo)

วันที่ 27 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1989 เช้าวันจันทร์เริ่มต้นเหมือนวันอื่น ๆ ผู้คนจาก

ชุมชนแออัดยากจน (barrios) ที่ตั้งบนเนินเขาล้อมรอบเมืองคารากัส เดินลงมา

ตามทางลาดชันไปที่ถนนใหญ่ พวกเขาไปรอรถประจำทางเพื่อไปทำงานหรือไป

เรียนหนังสือเหมือนทุก ๆ วัน แต่ในวันนั้น พวกเขากลับพบว่า ค่ารถโดยสารขึ้น

ราคาไปถึงสองเท่าและบัตรลดของนักศึกษาใช้ไม่ได้แล้ว

ประชาชนเริ่มจับกลุ่มพูดคุยกัน มีการโต้เถียงทะเลาะระหว่างผู้โดยสารกับคนขับรถ

โดยไม่มีการเตรียมการ ไม่มีการจัดตั้ง ไม่มีแกนนำ การประท้วงก่อหวอดขึ้นมา

ตามสถานีรถโดยสารทั่วย่านชานเมืองคารากัส และตามชุมทางสถานีที่เชื่อม

เมืองหลวงกับเมืองรอบนอก กล่าวกันว่าความรุนแรงครั้งแรกสุดปะทุขึ้นที่ท่ารถ

นูเอโวเซอร์โก ในใจกลางเมือง รถเมล์ถูกพลิกคว่ำและเผาวอด ภายในไม่กี่ชั่วโมง

คารากัสก็ปั่นป่วนไปทั้งเมือง

เหตุการณ์บานปลายกลายเป็นจลาจล มีการปิดถนน บุกรุกร้านค้า เผาศูนย์การค้า

ใหญ่ ๆ และประชาชนขนสินค้าออกไปแจกจ่ายกันเอง พอถึง 6 โมงเย็น

ประชาชนหลายหมื่นคนออกมามีส่วนร่วมประท้วงบนถนน ถนนสายหลักทุกสาย

ในคารากัสถูกปิดตาย มันให้บังเอิญที่กองกำลังตำรวจเองก็กำลังนัดหยุดงาน

ประท้วงขอขึ้นค่าจ้าง ความกะทันหันของเหตุการณ์นี้ทำให้รัฐบาลไม่ทันตั้งตัว

เมื่อข่าวโทรทัศน์แพร่ภาพประชาชนเข็นรถที่เต็มไปด้วยอาหาร สินค้าและเสื้อผ้า

ประชาชนในเมืองอื่นจึงเอาอย่างตามบ้าง การประท้วงขยายวงไปทุกเมืองใหญ่

ทั้งเมืองมาราไก, วาเลนเซีย, บาร์กีซีเมโต, ซิวดัดกายอานาและเมรีดา

คำขวัญที่ประชาชนตะโกนและเขียนไว้บนกำแพงคือ "ประชาชนหิวโหย", "

ประชาชนโกรธแค้น" และ "พอกันทีกับคำหลอกลวง" ขณะที่บุกเข้าไปขนสินค้า

ตามร้านค้าและซูเปอร์มาร์เก็ต พวกเขามักร้องเพลงชาติไปด้วย มีหลายคนแบก

ธงชาติ และมีหลายที่ที่ประชาชนจัดระเบียบการปล้นร้านค้าโดยเข้าแถวกันอย่าง

สงบเรียบร้อย

เป็นเวลา 24 ชั่วโมง ที่ไม่มีเจ้าหน้าที่รัฐบาลคนไหนโผล่หน้ามาให้เห็น จนกระทั่ง

เที่ยงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ รัฐมนตรีมหาดไทยจึงออกโทรทัศน์แถลงการณ์ว่า

รัฐบาลจะไม่ยินยอมให้เกิด "ความรุนแรง" เช่นนี้ แต่การที่รัฐมนตรีมหาดไทย

เป็นลมไประหว่างแถลงการณ์หน้าจอทีวี มันยิ่งทวีบรรยากาศของความปั่นป่วน

จนตกเย็น ประธานาธิบดีคาร์โลส อันเดรส เปเรซและคณะรัฐมนตรีจึงออกทีวี

ประกาศภาวะฉุกเฉิน แม้ว่ามีทหารในกองทัพบางส่วนไม่ยอมรับคำสั่งจาก

ประธานาธิบดี แต่สุดท้าย กองทัพก็ยอมออกปฏิบัติการทางทหาร ยึดครองถนน

และบุกเข้าไปในชุมชนแออัด กวาดจับประชาชนหลายพันคนขณะเข้ารื้อค้นเพื่อ

ริบสินค้าที่ขโมยมา

ประชาชนบางคนแค่โผล่หน้าออกมาดูทางหน้าต่าง ก็ถูกทหารที่กำลังประสาท

เสียยิงตาย การปราบปรามเป็นไปด้วยความรุนแรง พอถึงวันเสาร์ที่ 4 มีนาคม

เวเนซุเอลาก็เข้าสู่ภาวะเงียบสงัด รัฐบาลระบุจำนวนคนตายแค่ 372 คน แต่ตัว

เลขที่แท้จริงน่าจะมีประชาชนถูกฆ่าตายไปเกือบ 3000 คน โดยมีอย่างน้อย 2000

คน เสียชีวิตในเมืองคารากัส ยังไม่นับผู้บาดเจ็บอีกหลายพันคน

เหตุการณ์คารากาโซ สร้างรอยแผลไว้ในใจของชาวชุมชนแออัดจำนวนมาก ใน

ด้านหนึ่ง เหตุการณ์นี้ทำให้ประชาชนบางส่วนเริ่มรวมตัวกันจัดตั้งเพื่อเรียกร้อง

รัฐบาลในเรื่องต่าง ๆ ในช่วงราว 10 ปี ระหว่าง ค.ศ. 1989 ไปจนถึงปีที่อูโก ชาเวซ

ชนะการเลือกตั้งครั้งแรกในปี ค.ศ. 1998 มีการประท้วงที่จดบันทึกไว้อย่างเป็น

ทางการเกิดขึ้นทุกวัน เฉลี่ยวันละ 2 ครั้ง นี่ยังไม่นับการประท้วงที่ไม่มีการบันทึก

การเมืองของเวเนซุเอลาเริ่มย้ายจากระบบพรรคการเมืองและรัฐสภาไปมีชีวิต

ชีวาบนท้องถนน

และในอีกด้านหนึ่ง เหตุการณ์คารากาโซถือเป็นชนวนและแรงบันดาลใจที่ทำให้

ทหารบางส่วนในกองทัพพยายามทำรัฐประหารแต่ล้มเหลวในปี ค.ศ. 1992

บริบทแวดล้อม: ชะตากรรมของการเป็นหลังบ้านสหรัฐฯ
ลัทธิทุนนิยมในสหรัฐอเมริกาใช้ละตินอเมริกาเป็นห้องทดลองขนาดใหญ่มาเป็น

เวลานมนาน ทุกสิ่งทุกอย่างที่สหรัฐฯ ต้องการ จะถูกทดสอบที่ละตินอเมริกาเป็น

อันดับแรก เมื่อสหรัฐฯ ต้องการระบบเผด็จการทหารไว้ทำลายขบวนการ

ประชาชนและลัทธิคอมมิวนิสต์ สหรัฐฯ ก็นำมาใช้ในละตินอเมริกาเป็นต้นแบบ

บราซิล, อาร์เจนตินา, ชิลี คือระบอบเผด็จการทหารที่โหดร้ายป่าเถื่อนที่สุดที่

มนุษยชาติเคยเห็นมา พอศัตรูคอมมิวนิสต์ถูกกวาดล้างราบคาบ เมื่อสหรัฐฯ เริ่ม

ผ่อนคลายความตึงเครียดทางด้านการเมือง สหรัฐฯ ก็ใช้ละตินอเมริกาเป็นสนาม

ทดลองลัทธิเสรีนิยมใหม่ การทดลองย้ายมาเน้นหนักทางด้านเศรษฐกิจ

กระบวนการที่เกิดขึ้นคือการรื้อโครงสร้างอุตสาหกรรมภายในประเทศ เงินทุน

จากต่างประเทศหลั่งไหลเข้ามา แนวคิดเบื้องหลังก็คือทดลองดูว่า ประเทศเหล่า

นี้สามารถดำเนินเศรษฐกิจฟองสบู่ไปได้ยาวไกลสักแค่ไหน และจะเป็นอย่างไร

เมื่อเงินทุนไหลออก ตัวอย่างที่ถือเป็นต้นแบบของการทดลองครั้งนี้คือ ชิลี ภาย

ใต้การปกครองของนายพลปิโนเชต์, บราซิลภายใต้ประธานาธิบดีคาร์โดโซ,

และอาร์เจนตินาภายใต้รัฐบาลหลายชุด

ระหว่างช่วงปี ค.ศ. 1990-2002 บรรษัทข้ามชาติเข้าครอบงำกิจการในภูมิภาคนี้

กว่า 4000 แห่ง ทั้งธนาคาร โทรคมนาคม ขนส่ง น้ำมันและเหมืองแร่ ทำให้ระบบ

เศรษฐกิจในภูมิภาคนี้ถดถอย การไหลเข้าออกของเงินทุนเป็นไปเพื่อเก็งกำไร

สินค้านำเข้าเข้ามาทำลายการผลิตในท้องถิ่น รายได้ส่วนใหญ่กระจุกตัวอยู่ในมือ

คนกลุ่มน้อย ตลาดภายในประเทศถูกทำลาย

ประเทศอย่างอาร์เจนตินาที่เคยมีตลาดภายในประเทศเข้มแข็งและแรงงานค่อน

ข้างมีความรู้มีฝีมือ ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นเลวร้ายมาก เดี๋ยวนี้คนระดับอาจารย์และนัก

วิชาชีพชาวอาร์เจนตินา ต้องไปรับจ้างทำความสะอาดบ้านในย่านคนรวยของชิลี

ในประเทศที่ยากจนกว่าอย่างเอกวาดอร์และโบลิเวีย ลัทธิเสรีนิยมใหม่ทำลาย

ตาข่ายทางสังคมที่มีน้อยอยู่แล้วจนพินาศหมด ถึงขั้นเป็นภัยคุกคามต่อชีวิตของ

คนจนส่วนใหญ่

เวเนซุเอลาก็หนีไม่พ้นการตกเป็นหนูทดลอง แต่มันอาจจะแตกต่างไปจาก

ประเทศอื่น ๆ อยู่บ้าง ตรงที่เวเนซุเอลามีแหล่งทองคำสีดำ นั่นคือ น้ำมัน

ยุทธศาสตร์การพัฒนาของเวเนซุเอลาตั้งอยู่บนน้ำมันเป็นสำคัญ ในช่วงทศวรรษ

1970 รัฐบาลของประธานาธิบดีเปเรซที่ได้รับเลือกตั้งเข้ามาเป็นครั้งแรก จัดการ

โอนกิจการน้ำมันมาเป็นของชาติ ผลักดันให้มีการพัฒนาด้านอุตสาหกรรมขนาน

ใหญ่ ลงทุนในด้านสาธารณูปโภคและอุตสาหกรรมหนัก เช่น เหล็ก อลูมิเนียม

และถ่านหิน

การมุ่งพัฒนาประเทศในด้านอุตสาหกรรมและละเลยภาคชนบท ทำให้เกิดการ

อพยพครั้งใหญ่ของประชากรเข้ามาสู่เมือง ในช่วง 40 ปีที่ผ่านมา เวเนซุเอลา

กลายเป็นประเทศสังคมเมือง 87% ของประชากร 25 ล้านคนอาศัยอยู่ในเมือง

ขณะเดียวกัน มูลค่าของเกษตรกรรมในจีดีพีก็ลดต่ำลงเหลือแค่ 6% ในปี

ค.ศ.1999 ต่ำที่สุดในละตินอเมริกา เวเนซุเอลากลายเป็นประเทศเดียวในทวีปนี้

ที่นำเข้าผลผลิตทางการเกษตรและอาหารทั้งหมด ทั้งนี้เพราะอุตสาหกรรม

น้ำมันทำให้ค่าเงินของเวเนซุเอลาแข็ง จนผลผลิตในท้องถิ่น ทั้งภาคเกษตรและ

อุตสาหกรรม ไม่สามารถแข่งขันในตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศได้

พอเข้าสู่ช่วงทศวรรษ 1980 กระแสลัทธิเสรีนิยมใหม่เริ่มเข้ามามีอิทธิพลต่อ

นโยบายของประเทศ ประธานาธิบดีลูอิส แอร์เรรา ลดภาษีนำเข้าจาก 300%

เหลือน้อยกว่า 100% พร้อมกับตัดลดงบประมาณสาธารณะลง เวเนซุเอลาเริ่ม

ก้าวเข้าสู่การปรับโครงสร้างเศรษฐกิจตามแนวทางเสรีนิยมใหม่ ซึ่งไม่เพียงส่ง

ผลกระทบต่อคนระดับล่าง แม้แต่ชนชั้นกลางและนายทุนท้องถิ่นบางส่วนก็

พลอยย่ำแย่ไปด้วย ระบอบประชาธิปไตยแบบเลือกตั้งผู้แทนของเวเนซุเอลาที่ดู

เหมือนมีความมั่นคงมากกว่าประเทศอื่นในภูมิภาคนี้ตลอดมา เริ่มสั่นคลอนและ

ประสบกับภาวะวิกฤตศรัทธา

เมื่อประธานาธิบดีเปเรซได้รับเลือกตั้งกลับเข้ามาเป็นครั้งที่สองในปี ค.ศ. 1989

เขาลงมือปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจอย่างเข้มงวด ตามแนวทางของไอเอ็มเอ

ฟและธนาคารโลก ยกเลิกการควบคุมราคาสินค้าและบริการ ลดค่าเงิน ลด

กำแพงภาษีนำเข้าลงเรื่อย ๆ ขึ้นราคาสินค้าและบริการด้านสาธารณูปโภค ลด

ภาษีให้ภาคธุรกิจและปล่อยเสรีอัตราดอกเบี้ย

วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 1989 การขึ้นราคาสาธารณูปโภคของรัฐบาลถูกนำมาใช้เป็น

ครั้งแรก น้ำมันขึ้นราคาไป 10% และค่าโดยสารขนส่งมวลชนขึ้นไปถึง 30% ใน

ชั่วข้ามคืน วันนี้เองที่กลายเป็นจุดเริ่มต้นของเหตุการณ์คารากาโซ หรืออีกนัยหนึ่ง

ชาวเวเนซุเอลาแสดงปฏิกิริยาต่อนโยบายเสรีนิยมใหม่อย่างที่รัฐบาลไม่เคยคาด

คิดมาก่อน

ชนชั้นกึ่งกรรมาชีพและกึ่งกระฎุมพี
แม้น้ำมันจะนำความมั่งคั่งมาสู่ประเทศ แต่มันก็บิดเบือนระบบเศรษฐกิจและทำให้

เวเนซุเอลามีการแบ่งแยกทางชนชั้นอย่างรุนแรง ทั้ง ๆ ที่เวเนซุเอลาเป็นแหล่ง

น้ำมันที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในโลก ผลิตน้ำมันได้ถึง 2.6 ล้านบาร์เรลต่อวัน เป็นผู้

ผลิตน้ำมันดิบที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 3 ในโอเปค รองจากซาอุดีอาระเบียและ

อิหร่าน โดยมีสหรัฐฯ เป็นลูกค้านำเข้าน้ำมันรายใหญ่สุด แต่ชาวเวเนซุเอลาถึง

80% กลับมีชีวิตอยู่ในความยากจน

เช่นเดียวกับประเทศอื่น ๆ ในละตินอเมริกา การแบ่งแยกทางชนชั้นใน

เวเนซุเอลามีความเหลื่อมซ้อนกับการกดขี่ทางเชื้อชาติ นี่คือประเทศที่ประชากร

67% เป็นเมสติโซ (สายเลือดผสม) 10% เป็นคนผิวดำ มีชนกลุ่มน้อยเพียง 23%

ที่เป็นคนผิวขาว เจ้าที่ดินส่วนใหญ่มีเชื้อสายยุโรป

เวลามีการเดินขบวนประท้วง แค่มองดูสีผิว เราก็รู้ว่าขบวนนั้นเป็นฝ่ายไหน ฝ่ายที่

สนับสนุนรัฐบาลชาเวซส่วนใหญ่จะมีผิวสีคล้ำ หรือที่มีคำเรียกอย่างดูแคลนใน

สังคมเวเนซุเอลาว่า pardos ซึ่งมีความหมายว่า เชื้อสายของทาสผิวดำ ในขณะ

ที่ฝ่ายต่อต้านชาเวซส่วนใหญ่จะเป็นคนผิวขาว ฝ่ายหลังมักเหน็บแนมพวก

chavistas (ผู้สนับสนุนชาเวซ) ว่า เป็นนิโกรหรือ lumpen (มีความหมายคล้าย ๆ

พวกร้อยพ่อพันแม่หรือพันทาง) ซึ่งแสดงถึงความรังเกียจทางเชื้อชาติปนกับความ

เกลียดกลัวในทางอุดมการณ์

นโยบายเสรีนิยมใหม่ซ้ำเติมความไม่เท่าเทียมให้ยิ่งรุนแรงกว่าเดิม การปรับโครง

สร้างทางเศรษฐกิจทำให้ค่าแรงดิ่งเหว และการใช้จ่ายในภาคสังคมของรัฐถูกตัด

ทิ้ง สัดส่วนของประชากรที่มีชีวิตต่ำกว่าเส้นแบ่งความยากจนเพิ่มขึ้นจาก 36%

ในปี ค.ศ. 1984 เป็น 66% ในปี 1995 จำนวนคนที่มีชีวิตในความยากจนสุดขีด

เพิ่มขึ้นถึง 3 เท่า จาก 11% เป็น 36% การว่างงานในเมืองเพิ่มมากกว่าสองเท่า

ในขณะที่ส่วนแบ่งรายได้แห่งชาติของคนจนที่สุดที่มีอยู่ 2 ใน 5 ของประชากร

ระหว่างปี ค.ศ. 1981-1997 ตกลงจาก 19.1% เหลือแค่ 14.7% คนรวยที่สุดที่มี

แค่ 1 ใน 10 ของประชากร กลับมีรายได้เพิ่มขึ้นจาก 21.8% เป็น 32.8% พร้อม ๆ

กับชนชั้นกลางค่อย ๆ หดตัวลงไป

การเติบโตเป็นประเทศสังคมเมืองของเวเนซุเอลาไม่ได้มีการวางแผนที่ดี

ประชากรจากชนบทที่อพยพเข้ามาหางานทำในเมือง ต่างสร้างที่อยู่อาศัยกันตาม

มีตามเกิดบนเนินเขาที่ล้อมรอบเมืองหลวงคารากัส พวกเขาสร้างบ้านจากเศษอิฐ

เศษไม้ สังกะสี หรือวัสดุอะไรก็แล้วแต่เท่าที่จะหาได้ เพิงพักของคนจนสร้างขึ้น

มาอย่างแออัด จนกลายเป็นชุมชนสลัมที่เรียกว่า barrios ไม่มีเอกสารสิทธิ์ใน

ที่ดิน ไม่มีระบบสาธารณูปโภค ไม่มีถนนหรือท่อน้ำทิ้ง ไม่มีสถานีอนามัย มิหนำซ้ำ

ชุมชนหลายแห่งยังสร้างบนพื้นที่ที่เสี่ยงต่อปัญหาดินถล่มเมื่อเกิดพายุฝน เช่น

ในปี ค.ศ. 1999 พายุฝนที่เกิดนอกฤดูกาลทำให้เกิดดินถล่มอย่างรุนแรง เป็นเหตุ

ให้มีผู้เสียชีวิตหลายพันคน

คนจนในชุมชนแออัดเหล่านี้ ส่วนใหญ่เป็นแรงงานรับจ้างชั่วคราว หรือเป็นแรง

งานในเศรษฐกิจนอกระบบ หรือที่แย่กว่านั้นคือเป็นคนว่างงาน เศรษฐกิจนอก

ระบบในที่นี้ไม่ได้หมายถึงธุรกิจที่ผิดกฎหมาย แต่หมายถึงการทำงานสุจริตที่

อาจต้องทำผิดกฎข้อบังคับบางข้อเพื่อความอยู่รอด เช่น หาบเร่แผงลอย รับจ้าง

ทำงานเล็กๆ น้อยๆ หรือขายของโดยไม่ได้จดทะเบียนการค้า ขายอาหารโดยไม่

ได้ขออนุญาตจากเทศบาล ผลิตของเล็กๆ น้อยๆ ขายโดยไม่มีใบอนุญาต เป็นต้น

แรงงานนอกระบบเหล่านี้ เนื่องจากความที่มันอยู่นอกระบบ จึงไม่มีสวัสดิการ

สังคม ไม่มีการจัดตั้ง ไม่มีองค์กรสหภาพ

แรงงานในระบบของเวเนซุเอลาส่วนใหญ่อยู่ในอุตสาหกรรมน้ำมัน อุตสาหกรรม

ขนาดใหญ่และข้าราชการ องค์กรทางด้านสหภาพแรงงานดั้งเดิมที่ใหญ่ที่สุดใน

เวเนซุเอลาคือ Confederacion de Trabajadores de Venezuela (CTV) แต่

แทนที่ CTV จะเป็นตัวแทนของชนชั้นแรงงาน มันกลับกลายเป็นแค่เครื่องมือ

ของพรรคการเมืองเพื่อใช้ควบคุมขบวนการแรงงาน สมาชิกสหภาพส่วนใหญ่มา

จากอุตสาหกรรมน้ำมันและภาคราชการ รัฐบาลจึงเข้าไปครอบงำได้ง่าย สมาชิก

สหภาพ CTV คิดแต่จะหาอภิสิทธิ์ให้ตัวเอง มากกว่าจะร่วมมือกับแรงงานนอก

ระบบที่เป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศ

เศรษฐกิจที่ตั้งอยู่บนน้ำมันทำให้ชนชั้นกระฎุมพีของเวเนซุเอลา มุ่งหาความมั่งคั่ง

จากค่าสัมปทานน้ำมันมากกว่าจะลงทุนในภาคการผลิตจริง พวกเขามีวิธีคิดแบบ

หัวหน้ามาเฟียมากกว่าผู้ประกอบการ แสวงหาการบริโภคมากกว่าการสะสมทุน

ความคลั่งไคล้ในการบริโภคถึงกับทำให้ครอบครัวที่มีอันจะกินจำนวนมาก ซื้อที่

อยู่อาศัยไว้ในรัฐฟลอริดา เพื่อบินไปช้อปปิ้งสินค้าในวันหยุดสุดสัปดาห์

ลักษณะการเมืองของเวเนซุเอลาตกอยู่ในวังวนของระบบอุปถัมภ์ เป็นการเมือง

ระบบสองพรรคใหญ่ที่ผลัดกันครองอำนาจ แต่แทบไม่มีนโยบายที่แตกต่างกันเลย

สองพรรคดังกล่าวนั้นคือ พรรค Accion Democratica (AD) เป็นพรรคของชน

ชั้นกระฎุมพีและนักธุรกิจ และ พรรค Comite de Organizacion Politica

Electoral Independiente (COPEI) พรรคของคาทอลิกอนุรักษ์นิยม

ในอดีตที่ผ่านมา ประชาชนสนับสนุนและเป็นสมาชิกสองพรรคนี้ เพื่อหวังส่วน

แบ่งจากเศษเดนความมั่งคั่งที่เหลืออยู่ พรรคการเมืองทั้งสองอ้างว่า มีสมาชิกถึง 3

และ 2 ล้านคนตามลำดับ เฉพาะในเมืองหลวงคารากัส มีประชาชนถึง 150,000

คน ที่เป็นสมาชิกพรรคใดพรรคหนึ่ง แต่การดำเนินนโยบายลัทธิเสรีนิยมใหม่

ทำลายความชอบธรรมทางการเมืองของสองพรรคนี้ลงอย่างมาก

ชายชาติทหารลูกชาวนา: กองทัพกับอุดมการณ์แบบใหม่
ท่ามกลางความปั่นป่วนในเหตุการณ์คารากาโซ ทหารส่วนหนึ่งในกองทัพไม่ยอม

ปฏิบัติตามคำสั่งรัฐบาลที่ให้ปราบปรามประชาชน ทหารบางคนถึงกับเข้าไปช่วย

จัดระเบียบประชาชนในการปล้นซูเปอร์มาร์เก็ต เมื่อถูกสั่งให้ออกปฏิบัติการ พัน

ตรีฟรานซิสโก คาร์เดนาส ถามพลทหารใต้บังคับบัญชาว่า "ใครเป็นสมาชิกคัน

ทรีคลับ [สโมสรของมหาเศรษฐี] ยกมือขึ้น!" ไม่มีพลทหารคนไหนยกมือ ทุก

คนนิ่งเงียบ คาร์เดนาสจึงบอกพลทหารว่า "ประชาชนที่อยู่ที่นี่ก็เหมือนพวกเรา

พวกเขาเป็นชาวบ้าน เป็นพี่น้องของเรา ห้ามยิงถ้าไม่มีคำสั่ง ห้ามยิงเด็ดขาดนอก

จากเราถูกโจมตี!"

การเข้าข้างประชาชนของทหารส่วนหนึ่งในกองทัพเวเนซุเอลา ไม่ได้เกิดมาจาก

ความบังเอิญ แต่เกิดขึ้นมาอย่างเป็นกระบวนการ และกลายเป็นตัวแปรหนึ่งที่

สำคัญอย่างยิ่งในเส้นทางสู่การปฏิวัติโบลิวาร์ของเวเนซุเอลา

กองทัพเวเนซุเอลาแตกต่างจากกองทัพในประเทศละตินอเมริกาอื่น ๆ ตรงที่ไม่

ได้ส่งทหารไปรับการฝึกอบรมใน Escuela de las Americas (School of the

Americas--SOA) ซึ่งเป็นโรงเรียนฝึกการสู้รบสำหรับทหารในละตินอเมริกา ตั้ง

อยู่ที่ฟอร์ทเบนนิง รัฐจอร์เจีย โดยได้รับการสนับสนุนจากเพนตากอนและรัฐบาล

สหรัฐฯ SOA เน้นฝึกอบรมทหารในด้านการปราบจลาจล การซุ่มยิงระยะไกล

หน่วยคอมมานโดและการทำสงครามจิตวิทยา การสืบราชการลับของกองทัพ

และยุทธวิธีในการสอบปากคำผู้ต้องหา SOA มีส่วนพัวพันกับรัฐก่อการร้ายในยุค

ทศวรรษ 1970 เช่น กองพันมรณะในเอลซัลวาดอร์ ซึ่งปราบปรามประชาชน

อย่างโหดร้ายทารุณ

ไม่กี่ปีมานี้เนื่องจากการปักหลักประท้วงของนักกิจกรรมในสหรัฐฯ และประเทศอื่น

ๆ กองทัพอเมริกันจึงยุบ SOA เพียงเพื่อจะเปลี่ยนชื่อเป็น "Western Hemisphere

Institute for Security Cooperation"

กองทัพเวเนซุเอลาไม่ได้ส่งทหารไปฝึกอบรมที่ SOA เวเนซุเอลามีวิทยาลัยกอง

ทัพประจำชาติของตนเอง และมีหลักสูตรที่ผ่านการปฏิรูปในปี ค.ศ. 1971 เปิด

โอกาสให้ทหารเรียนวิชาทหารควบคู่ไปกับการศึกษาระดับมหาวิทยาลัยของ

พลเรือน นั่นหมายความว่า นายทหารรุ่นใหม่ได้รับการศึกษาทางด้านทฤษฎีการ

เมืองที่หลากหลายกว่าเดิม และได้ใช้ชีวิตในมหาวิทยาลัยเหมือนนักศึกษาทั่วไป

ได้ถกเถียงแลกเปลี่ยนความคิดกับเพื่อนนักศึกษาหัวก้าวหน้าคนอื่น ๆ ที่ไม่ใช่

ทหาร การปฏิรูปครั้งนั้นยังทำให้โครงสร้างของกองทัพมีความเป็นประชาธิปไตย

มากกว่าเดิมด้วย อย่างน้อยการเลื่อนตำแหน่งก็เปลี่ยนมาให้น้ำหนักต่อผลงาน

มากกว่าสายสัมพันธ์ทางชาติตระกูล

แม้ว่ากองทัพเป็นเครื่องมือสำคัญของรัฐในการค้ำจุนความเหลื่อมล้ำของชนชั้น

และการกระจายความมั่งคั่งอย่างไม่เป็นธรรม แต่ทหารส่วนใหญ่ในกองทัพกลับ

มีพื้นเพมาจากชนชั้นล่างที่ยากจนหรือชาวนาในชนบท

พลเอกวิลเฟรโด รามอน ซิลวา นายทหารผู้สนับสนุนการปฏิวัติโบลิวาร์คนหนึ่ง

เป็นตัวอย่างที่ดีของทหารรุ่นแรกที่จบจากวิทยาลัยในหลักสูตรใหม่ รามอน ซิลวา

เป็น 1 ในพี่น้อง 11 คนที่เกิดในเมืองเล็ก ๆ ชื่อ ลา มีเอล จากครอบครัวยากจน

แม่เป็นผู้ช่วยพยาบาล พ่อเป็นคนขับรถบรรทุก

"พวกเราที่อยู่ในชนบทรู้เห็นการกดขี่ที่พวกเจ้าที่ดินทำต่อชาวนา พวกนั้นปล้น

ที่ดินของเราไปและเหยียบย่ำรังแกพวกเรา ผมเติบโตมากับเรื่องพวกนี้ ครอบ

ครัวผมมีชีวิตอยู่กับเรื่องพวกนี้"

ในหลักสูตรกองทัพใหม่ ทหารหนุ่มได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ของตนกับนัก

ศึกษาหัวก้าวหน้า ได้อ่านงานเขียนทางทฤษฎีที่รวมทั้งมาร์กซ์และเลนินด้วย นี่

เป็นข้อขัดแย้งที่พวกนายทหารรุ่นเก่านึกไม่ถึงมาก่อน พลเอกรามอน ซิลวายังจำ

ได้ดีถึงความเกลียดชังที่นายทหารรุ่นเก่ารู้สึกต่อพวกตน จนถึงจุดหนึ่งที่งาน

เขียนของมาร์กซ์และประวัติศาสตร์สังคมบางเล่ม ถูกสั่งห้ามไม่ให้นักศึกษา

ทหารอ่าน

ข้อแตกต่างจากประเทศอื่น ๆ ในละตินอเมริกาอีกประการหนึ่งคือ นายทหาร

เหล่านี้มีประสบการณ์การสู้รบกับกองทัพจรยุทธ์ที่ไม่รุนแรงมากนัก แทนที่จะสู้

รบนองเลือด พวกเขากลับพบแต่ความทุกข์ยากของชาวบ้านในชนบท ซึ่งแตก

ต่างราวฟ้ากับดินเมื่อเปรียบกับความมั่งคั่งของชนชั้นสูงที่บางครั้งพวกเขามี

โอกาสได้สมาคมด้วย พลเอกรามอน ซิลวา เล่าว่า:

"พวกเราที่จบการศึกษามาด้วยกัน จึงเริ่มพูดคุยกันในยามว่างและตั้งคำถามกับตัว

เองว่า นี่เรากำลังต่อสู้กับอะไรกันแน่ เราถูกสั่งให้ตามล่ากองทัพจรยุทธ์ แต่สิ่งที่

เราเห็นมีแต่ความทุกข์ยากลำบากแสนสาหัสของประชาชน มีหลายครั้งที่เราเอา

อาหารไปแลกกับไก่ที่ชาวบ้านเลี้ยงไว้ และบางครั้งก็แจกอาหารให้พวกเขาเลย

เพราะเราเห็นแต่ความยากจนข้นแค้น...

"วันนี้เราอยู่ในชนบทกับชาวนา เห็นแต่ความยากไร้ พออีกวันเราเข้ามาในเมือง

เข้าพบนายกเทศมนตรีหรือแม้กระทั่งประธานาธิบดี แล้วเห็นแต่ความหรูหรา

ฟุ่มเฟือย วิสกี้ที่มีให้ดื่มไม่อั้น ความสุรุ่ยสุร่ายอย่างเหลือเชื่อ พอเห็นภาพที่ขัด

แย้งแตกต่างขนาดนี้ เราอดถามตัวเองไม่ได้ว่า: 'นี่เรากำลังต่อสู้เพื่ออะไร? เรา

จะยอมให้ความยากแค้นดำเนินต่อไป ปล่อยให้ชาวนาทุกข์เข็ญ ในขณะที่คน

กลุ่มนี้ยังเอาแต่ผลประโยชน์ใส่ตัวอย่างนั้นหรือ?' "

ทหารเหล่านี้ต้องเผชิญกับความรู้สึกขัดแย้ง ระหว่างวินัยกับความคิดอิสระ การ

เป็นชนชั้นล่างกับการไต่เต้าเข้าสู่สังคมของชนชั้นสูง การเป็นทหารอาชีพกับการ

เป็นมนุษย์คนหนึ่งในสังคม นายทหารอีกคนหนึ่งคือ พลเอกเวอร์จิลิโอ ลาเมดา

เคยกล่าวไว้ว่า:

"เมื่อมีใครบอกผมว่า เขาเป็นทหารอาชีพ ผมมักถามกลับไปว่า ทหารอาชีพ

หมายถึงอะไร? หมายความว่าคุณจะกอดอกยืนดูเฉย ๆ ถ้าปัญหาที่เกิดขึ้นเป็น

ปัญหาทางการเมือง ปัญหาทางสังคม คุณจะทำอะไรต่อเมื่อปัญหานั้นเป็นปัญหา

ในกองทัพล้วน ๆ เท่านั้นหรือ? การเป็นทหารอาชีพหมายถึง การรู้ว่าคุณต้องรับ

ใช้ใครเป็นหลักและภารกิจของทหารคืออะไร ภารกิจของทหารคือการปกป้องดิน

แดน ปกป้องอำนาจอธิปไตย แต่อำนาจอธิปไตยคือประชาชน"

บริบทแวดล้อมนี้เองที่ทำให้นายทหาร 4 คน คือ อูโก ชาเวซ, ราอูล บาดูเอล, อู

ร์ดาเนตา แอร์นันเดซ และเฟลีเป อันโตนิโอ อะโคสตา คาเลซ ทำสัตย์สาบาน

ร่วมกันก่อตั้งขบวนการลับชื่อ กลุ่ม MBR-200 ขึ้นในวันที่ 17 ธันวาคม 1982 พล

เอกลูอิซ เฟลีเป อะโคสตา คาเลซ น้องชายของเฟลีเป อันโตนิโอ เล่าให้ฟังถึง

คำพูดที่พี่ชายพูดกับพ่อตอนวันหยุดสุดสัปดาห์ หลังจากทั้งสี่ทำสัตย์สาบานกัน

แล้วว่า:

"พ่อครับ พวกเราเพิ่งทำสัตย์สาบานกันที่ซามาน เด เกรา เราตั้งปณิธานว่าจะต้อง

มีความเปลี่ยนแปลงในเวเนซุเอลา ความเปลี่ยนแปลงทางความคิด ความเปลี่ยน

แปลงทางประชาธิปไตย ประชาชนต้องมีส่วนร่วม ประชาชนต้องมีปากเสียง และ

ความต้องการของประชาชนต้องได้รับการตอบสนองด้วยนโยบายสาธารณะของ

รัฐบาล" Create Date : 24 พฤษภาคม 2549
http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=grassroot&month=05-

2006&date=24&group=3&gblog=1