สนับสนุนการทำกิจกรรม ส่งเสริมประชาธิปไตยของชาวเชียงใหม่ ร่วมกับศูนย์ประสานงานกลาง นปช.แดงเชียงใหม่

ชื่อบัญชี นปช.แดงเชียงใหม่ ธนาคารออมสิน เลขที่บัญชี 02 0012142 65 7 ( มีผู้รับผิดชอบบัญชี 3 ท่าน )

ติดต่อเรา deangchiangmai@gmail.com

ราบสวัสดี พี่น้องทุกๆท่านที่เข้ามาเยี่ยมเยือน บล็อค นปช.แดงเชียงใหม่ ขอเรียนชี้แจงสักนิดว่า เรา ”แดงเจียงใหม่” เป็นกลุ่มคนชาวเจียงใหม่ที่เคารพรัก กติกาประชาธิปไตย ต่อสู้และต่อต้านเผด็จการทุกรูปแบบ อยากเห็นประเทศชาติภายภาคหน้า มีความเจริญ ประชาชนรุ่นลูกหลานของเราอยู่อาศัยอย่างร่มเย็นเป็นสุขในประเทศของพวกเราเอง ไม่มีกลุ่มอภิสิทธิ์ชนกลุ่มใดมาสูบเลือดเนื้อ แอบอ้างบุญคุณเฉกเช่นในยุคนี้ที่พวกเราเห็น การที่จะได้รับในสิ่งที่มุ่งหวังก็ต้องมีการต่อสู้แสดงกำลังให้สังคมได้รับรู้ และเพื่อที่จะให้กลุ่มบุคคลที่มีอำนาจในปัจจุบันได้เข้าใจในสังคมที่ก้าวหน้าเปลี่ยนแปลงไป ไม่อาจฝืนต่อกระแสการพัฒนาของโลก การต่อสู้ร่วมกับผองชนทั่วประเทศในครั้งนี้ เรา “ แดงเจียงใหม่ “ ได้ร่วมต่อสู้ทุกรูปแบบ และในรูปแบบที่ท่านได้เข้ามาร่วมอยู่นี้ คือการเผยแพร่ข่าวสารต่อสังคม เรา “ แดงเจียงใหม่ “ ได้สร้างเวปบล็อคไว้ 2 ที่ คือที่นี่ “ แดงเจียงใหม่” สำหรับการบอกกล่าวในเรื่องทั่วไป และอีกที่หนึ่งคือ “ Daeng ChiangMai “ สำหรับข่าวสารที่เราเห็นว่ามีประโยชน์ต่อการรับรู้ข่าวสารในการร่วมทำกิจกรรมของพี่น้องประชาชน


เชิญร่วมสร้างขวัญ และกำลังใจให้เพื่อนพ้องน้องพี่ร่วมกันครับ
“แดงเจียงใหม่” " Daeng ChiangMai "

รักประชาธิปไตยไม่เอาเผด็จการ ต่อต้านการรัฐประหารทุกรูปแบบ สร้างขวัญกำลังใจและความสุขเพื่อปวงชน

การสังหารหมู่ที่กรุงเทพฯ : สมุดปกขาวโดยสำนักกฎหมาย Amsterdam & Peroff การสังหารหมู่ที่กรุงเทพฯ . ไพร่สู้บนเส้นทาง ๗๘ ปี ประชาธิปไตย ( ๒๔๗๕ - ๒๕๕๓ ) จรรยา ยิ้มประเสริฐ Voter's Uprising Thai

วันพฤหัสบดีที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2554

อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชน


ภูมิเกล้า เดชเสน่ห์


.....
อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชน เป็นหลักการปกครองหลักที่ 1 ของระบอบประชาธิป
ไตย และเป็นหัวใจของระบอบประชาธิปไตย แต่ในประเทศไทย มีการอธิบายกันอย่าง
กว้างขวางว่าหัวใจของระบอบประชาธิปไตย คือเสรีภาพของประชาชน ซื่งเป็นการชักจูง
ประชาชนให้เข้าใจผิดต่อระบอบประชาธิปไตยอย่างร้ายแรง จนไม่รู้ว่าระบอบประชาธิป
ไตยคืออะไร
.....
ในบรรดาอำนาจทั้งหลายเหล่านั้น อำนาจของประเทศเป็นอำนาจสูงสุดคือสูงถึงขน
าดฆ่าคนได้ และสิทธิขาดโต้แย้งมิได้ จึงนิยมเรียกกันว่าอำนาจสูงสุดของประเทศ ดังที่
ใช้ในรัฐธรรมนูญฉบับแรก และต่อมาเรียกให้เป็นศัพท์ว่าอำนาจอธิปไตย ซื่งใช้ในกฏหม
ายรัฐธรรมนูญฉบับต่อๆมา จนถึงปัจจุบัน
.....
อำนาจของประเทศหรืออำนาจอธิปไตยนั้น มีอำนาจเดียวแต่แสดงออกเป็น 3 ด้าน
คือ (1) อำนาจนิติบัญญัติ (2) อำนาจบริหาร (3) อำนาจตุลาการ
.....
ผู้ปกครองประเทศนั้นกล่าวโดยกว้างมี 2 ชนิด คือ ชนส่วนน้อยและปวงชน (ประชา
ชน) ถ้าชนส่วนน้อยเป็นผู้ปกครองประเทศอำนาจอธิปไตยก็เป็นของชนส่วนน้อย ถ้าปว
งชนเป็นผู้ปกครองประเทศอำนาจอธิปไตยก็เป็นของปวงชน
.....
ถ้าอำนาจอธิปไตยเป็นของชนส่วนน้อยก็เป็นระบอบเผด็จการ ถ้าอำนาจอธิปไตยเป็
นของปวงชนก็เป็นระบอบประชาธิปไตย และแต่ละระบอบก็มีหลายรูป โดยสาระสำคัญ
แล้วระบอบเผด็จการหรือระบอบประชาธิปไตยนั้น ไม่ได้หมายความเป็นอย่างอี่น แต่หมายความว่าอำนาจอธิปไตยเป็นของชนส่วนน้อยหรือเป็นของปวงชนเท่านั้น
.....
แต่ชนส่วนน้อยหรือปวงชน ซื่งเป็นเจ้าของอำนาจของประเทศหรืออำนาจอธิปไตย
ไม่ได้เป็นผู้กุมอำนาจโดยตรง แต่มีผู้แทนเป็นผู้กุมอำนาจ และผู้แทนก็คือคณะการเมือง
กลุ่มการเมือง หรือพรรคการเมือง ซื่งเข้าไปกุมองค์กรแห่งอำนาจของประเทศหรืออำนา
จอธิปไตย อันได้แก่รัฐสภา คณะรัฐมนตรึและศาล เพื่อใช้องค์กรนี้รักษาผลประโยชน์
ผู้ที่ตนแทนถ้าแทนชนส่วนน้อยก็ใช้องค์กรนี้รักษาผลประโยชน์ของชนส่วนน้อย ถ้าแท
นปวงชนก็ใช้องค์กรเหล่านี้รักษาผลประโยชน์ปวงชน
.....
ทั้งนี้ จะรู้ได้ด้วยนโยบายของรัฐบาลเป็นสำคัญ ถ้านโยบายรักษาผลประโยชน์คนส่
วนน้อย ก็แสดงว่าอำนาจอธิปไตยเป็นของชนส่วนน้อย ถ้านโยบายของรัฐบาลรักษาผล
ประโยชน์ของปวงชน ก็แสดงว่าอำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชน
.....
ในปัจจุบัน อำนาจของประเทศหรืออำนาจอธิปไตยเป็นของกลุ่มผลประโยชน์ผูกขา
ด ซื่งเป็นชนส่วนน้อย ฉะนั้น ไม่ว่านโยบายใด ๆ ล้วนแต่มุ่งรักษาผลประโยชน์ชนส่วนน้
อยโดยไม่คำนึงถึงความเดือดร้อนของประชาชน
.....
ฉะนั้น จึงจำเป็นต้องเปลี่ยนมืออำนาจของประเทศหรืออำนาจอธิปไตยจากของกลุ่ม
ผลประโยชน์ผูกขาด มาเป็นของปวงชน เพื่อให้มีรัฐบาลที่ดำเนินนโยบายรักษาผลประ
โยชน์ของประชาชน
.....
การเปลี่ยนมืออำนาจของประเทศหรืออำนาจอธิปไตยเช่นนี้ คือหัวใจของการเปลี่ยน
ระบอบเผด็จการเป็นระบอบประชาธิปไตย "คือหัวใจของการปฏวัตฺประชาธิปไตย"
.....
โรงเรียนประชาธิปไตยแห่งชาติ
...............
มนัส เดชเสน่ห์.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น