สนับสนุนการทำกิจกรรม ส่งเสริมประชาธิปไตยของชาวเชียงใหม่ ร่วมกับศูนย์ประสานงานกลาง นปช.แดงเชียงใหม่

ชื่อบัญชี นปช.แดงเชียงใหม่ ธนาคารออมสิน เลขที่บัญชี 02 0012142 65 7 ( มีผู้รับผิดชอบบัญชี 3 ท่าน )

ติดต่อเรา deangchiangmai@gmail.com

ราบสวัสดี พี่น้องทุกๆท่านที่เข้ามาเยี่ยมเยือน บล็อค นปช.แดงเชียงใหม่ ขอเรียนชี้แจงสักนิดว่า เรา ”แดงเจียงใหม่” เป็นกลุ่มคนชาวเจียงใหม่ที่เคารพรัก กติกาประชาธิปไตย ต่อสู้และต่อต้านเผด็จการทุกรูปแบบ อยากเห็นประเทศชาติภายภาคหน้า มีความเจริญ ประชาชนรุ่นลูกหลานของเราอยู่อาศัยอย่างร่มเย็นเป็นสุขในประเทศของพวกเราเอง ไม่มีกลุ่มอภิสิทธิ์ชนกลุ่มใดมาสูบเลือดเนื้อ แอบอ้างบุญคุณเฉกเช่นในยุคนี้ที่พวกเราเห็น การที่จะได้รับในสิ่งที่มุ่งหวังก็ต้องมีการต่อสู้แสดงกำลังให้สังคมได้รับรู้ และเพื่อที่จะให้กลุ่มบุคคลที่มีอำนาจในปัจจุบันได้เข้าใจในสังคมที่ก้าวหน้าเปลี่ยนแปลงไป ไม่อาจฝืนต่อกระแสการพัฒนาของโลก การต่อสู้ร่วมกับผองชนทั่วประเทศในครั้งนี้ เรา “ แดงเจียงใหม่ “ ได้ร่วมต่อสู้ทุกรูปแบบ และในรูปแบบที่ท่านได้เข้ามาร่วมอยู่นี้ คือการเผยแพร่ข่าวสารต่อสังคม เรา “ แดงเจียงใหม่ “ ได้สร้างเวปบล็อคไว้ 2 ที่ คือที่นี่ “ แดงเจียงใหม่” สำหรับการบอกกล่าวในเรื่องทั่วไป และอีกที่หนึ่งคือ “ Daeng ChiangMai “ สำหรับข่าวสารที่เราเห็นว่ามีประโยชน์ต่อการรับรู้ข่าวสารในการร่วมทำกิจกรรมของพี่น้องประชาชน


เชิญร่วมสร้างขวัญ และกำลังใจให้เพื่อนพ้องน้องพี่ร่วมกันครับ
“แดงเจียงใหม่” " Daeng ChiangMai "

รักประชาธิปไตยไม่เอาเผด็จการ ต่อต้านการรัฐประหารทุกรูปแบบ สร้างขวัญกำลังใจและความสุขเพื่อปวงชน

การสังหารหมู่ที่กรุงเทพฯ : สมุดปกขาวโดยสำนักกฎหมาย Amsterdam & Peroff การสังหารหมู่ที่กรุงเทพฯ . ไพร่สู้บนเส้นทาง ๗๘ ปี ประชาธิปไตย ( ๒๔๗๕ - ๒๕๕๓ ) จรรยา ยิ้มประเสริฐ Voter's Uprising Thai

วันพุธที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

นักปรัชญาชายขอบ :มองความยุติธรรมของสังคม-การเมืองไทย ผ่านทฤษฎีความยุติธรรม ของ จอห์น รอลส์

นักปรัชญาชายขอบ

หากคิดแบบนักปรัชญาตะวันตกสมัยใหม่ ความยุติธรรมถือเป็นสัญญาประชาคมที่เป็นรากฐานของระบบสังคม-การเมือง นักปรัชญาที่เสนอความคิดเช่นนี้อย่างชัดเจน คือ จอห์น รอลส์ (John Rawls) ในหนังสือชื่อ ทฤษฎีความยุติธรรม” (A Theory of Justice) รอลส์ เสนอว่า หลักความยุติธรรมคือสัญญาประชาคมที่เป็นรากฐานของสังคม-การเมือง รัฐธรรมนูญ การปกครองของรัฐ การบัญญัติ/การใช้กฎหมายต้องสอดคล้องกับหลักความยุติธรรมอันเป็นรากฐานของ สังคม-การเมืองนั้นๆ

ในทฤษฎีความยุติธรรม รอลส์ เสนอหลักความเที่ยงธรรมในการสร้างหลักความยุติธรรม และเสนอหลักความยุติธรรมไว้อย่างน่าสนใจ โดยสรุปดังนี้

1. หลักความเที่ยงธรรมในการสร้างหลักความยุติธรรม คือหลักความเที่ยงธรรม (the principle of fairness) ในการตกลงใจกำหนดหลักความยุติธรรม (the principle of justice) ที่ใช้ปฏิบัติแก่ทุกคนอย่างเท่าเทียม สาระสำคัญของหลักการที่ว่านี้คือ หลักความยุติธรรมที่เป็นธรรมแก่ทุกคนจริงๆ ต้องกำหนดขึ้นจากการยอมรับสถานะที่เท่าเทียมในความเป็นมนุษย์รูปแบบความยุติธรรมที่เริ่มจากความเท่าเทียมในความเป็นมนุษย์ ย่อมเป็นรูปแบบที่ทุกคนยอมรับได้ และส่งผลให้เกิดความเป็นธรรมแก่ทุกคนอย่างเท่าเทียม

หลักการสร้างหลักความยุติธรรมจากสถานะที่เท่าเทียมของมนุษย์ เป็นไปได้เมื่อเราคิดสร้างหลักความยุติธรรมจาก สถานะแรกเริ่ม” (the original position) คือสถานะที่ผู้มาร่วมตกลงสร้างหลักความยุติธรรมมีความเท่าเทียมกันในลักษณะ ที่ว่า ทุกคนต่างอยู่ภายใต้ ม่านแห่งความไม่รู้” (the veil of ignorance)

คือ ขณะที่มาร่วมตกลงกันสร้างหลักความยุติธรรมต่างคนต่างก็ไม่รู้ว่าตัวเองมี สถานะทางสังคมเช่นไร อยู่ในชนชั้นไหน มีความสามารถทางสติปัญญาอย่างไร โง่ ฉลาด รวย จน ฯลฯ รู้แต่เพียงว่าตนเองเป็นมนุษย์ผู้มีเหตุผลที่ต่างมุ่งประสงค์ต่อการสร้าง สรรค์ผลประโยชน์หรือสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับตนเอง และรู้ถึงความเป็นไปได้ว่าหลังจากร่วมกันตกลงสร้างหลักความยุติธรรมเสร็จ แล้ว ต่างคนต่างออกไปจากม่านแห่งความไม่รู้ ย่อมมีความเป็นไปได้ที่แต่ละคนอาจจะมีสถานะทางสังคมอย่างไรก็ได้ เป็นคนรวย คนจน คนโง่ คนฉลาด ฯลฯ ก็ได้

รอลส์ เชื่อว่าการร่วมกันตกลงสร้างหลักความยุติธรรมจากสถานะแรกเริ่มที่ทุกคนเท่า เทียมกันเช่นนี้ จะไม่มีใครคิดสร้างหลักความยุติธรรมที่จะเป็นประโยชน์เฉพาะแก่ตัวเขาเอง แต่จะคิดสร้างหลักความยุติธรรมที่เกิดประโยชน์แก่ตนเองและคนอื่นๆ อย่างเท่าเทียมกัน เนื่องจากหลักความยุติธรรมที่เป็นประโยชน์แก่ทุกคนอย่างเท่าเทียมกันเท่า นั้น ที่จะเป็นหลักประกันว่าทุกคนที่ร่วมตกลงเรื่องหลักความยุติธรรมหลังออกไปจาก ม่านแห่งความไม่รู้แล้ว ไม่ว่าเขาจะเป็นใคร เป็นคนชั้นสูง กลาง ต่ำ โง่ ฉลาด ฯลฯ ย่อมได้รับการปกป้องอย่างเท่าเทียมจากหลักความยุติธรรมเดียวกันนี้

2. หลักความยุติธรรม เมื่อคิดสร้างหลักความยุติธรรมจากจุดเริ่มที่เที่ยงธรรมดังกล่าว หลักความยุติธรรมที่ได้ ย่อมไม่อาจเป็นอื่นนอกไปจากสองหลักนี้ คือ

1) หลักเสรีภาพ(the principle of freedom) คือหลักการที่ว่าปัจเจกบุคคลทุกคนต้องมีเสรีภาพอย่างสมบูรณ์และมีอย่างเท่า เทียมกัน ได้แก่การมีเสรีภาพขั้นพื้นฐานต่างๆ เช่น เสรีภาพในการพูด เสรีภาพในการแสดงออกทางการเมือง การก่อตั้งสมาคม เสรีภาพในการตัดสินผิดชอบชั่วดีด้วยตนเอง (freedom of conscience) เสรีภาพที่จะมีสิทธิในทรัพย์สินส่วนตัว เป็นต้น

2) หลักความแตกต่าง(the principle of difference) คือ หลักการยกเว้นให้มีการปฏิบัติต่อสมาชิกของสังคมแตกต่างกันได้หากการปฏิบัติ นั้นเป็นไปเพื่อช่วยเหลือคนที่ด้อยกว่าหรือคนเสียเปรียบในสังคม เช่น เป็นความยุติธรรมที่รัฐจะนำภาษีของคนรวยไปสร้างระบบสวัสดิการต่างๆ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของคนยากจน คนชั้นล่าง คนพิการ ฯลฯ ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น เป็นต้น

ตามความคิดของรอลส์ หลักความยุติธรรมที่ว่าทุกคนต้องมีเสรีภาพอย่างเท่าเทียมเป็นหลักการที่สำคัญกว่า ฉะนั้น หากหลักการข้อที่สองขัดแย้งกับหลักการข้อแรกในลักษณะที่ว่าจำเป็นต้องเลือก หลักการใดหลักการหนึ่ง รอลส์ก็เสนอว่าต้องเลือกหลักการข้อแรก

อย่างไรก็ตาม เมื่อเราพูดถึง เสรีภาพคำนี้จะมีความหมายก็ต่อเมื่อเราบอกได้ว่า เสรีภาพจากอะไรหรือจากพันธนาการอะไร ซึ่งเราอาจมองได้หลักๆ สองอย่างคือ เสรีภาพจากความกลัว และเสรีภาพจากความขาดแคลน ฉะนั้น แม้หลักเสรีภาพตามข้อแรก (ซึ่งสาระสำคัญเป็นเสรีภาพจากความกลัวการข่มขู่คุกคามจากอำนาจรัฐ ฯลฯ) จะถูกนำมาใช้ได้จริงก็อาจไม่เพียงพอ จึงจำเป็นต้องมีหลักความแตกต่างข้อที่สองมาหนุนเสริมให้สมาชิกของสังคม สามารถมีเสรีภาพจากพันธนาการอื่นๆ เช่น ความขาดแคลนปัจจัยพื้นฐานต่างๆ ความด้อยโอกาส ความยากจน ความเจ็บป่วย เคราะห์ร้ายจากภัยพิบัติต่างๆ เป็นต้น

ความยุติธรรมตามระบบสังคม-การเมืองไทย

ความยุติธรรมตามระบบสังคม-การเมืองไทย คือ ความยุติธรรมภายใต้ระบอบการปกครองที่เรียกว่าระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะทางวัฒนธรรมการปกครองของสังคมไทย

สถานะแรกเริ่มของสมาชิกแห่งสังคมภายใต้ระบอบสังคมการ-เมืองเช่นนี้ คือสถานะแห่งความไม่เท่าเทียมในความเป็นมนุษย์หากมองจากทฤษฎีความยุติธรรมของรอลส์ สถานะแห่งความไม่เท่าเทียมในความเป็นมนุษย์คือ สถานะที่ไม่เที่ยงธรรม

เมื่อสถานะที่ไม่เที่ยงธรรมเป็น สถานะแรกเริ่มหรือเป็นจุดตั้งต้นของการสร้างหลักความยุติธรรม จึงเป็นไปไม่ได้ที่จะทำให้สามารถสร้างหลักความยุติธรรมที่ 1) ทุกคุณมีเสรีภาพอย่างสมบูรณ์และมีอย่างเท่าเทียม 2) หากจะมีการปฏิบัติที่แตกต่างในทางสังคมก็ต่อเมื่อการปฏิบัตินั้นเป็น ประโยชน์แก่การช่วยเหลือคนที่เสียเปรียบในสังคม

แต่เป็นไปได้อย่างแน่นอนที่สถานะแรกเริ่มที่ไม่เที่ยงธรรมจะนำไปสู่หลัก ความยุติธรรมของระบบสังคม-การเมืองที่ 1) สมาชิกแห่งสังคมสามารถมีหรือใช้เสรีภาพเมื่อและต่อเมื่อการมีหรือการใช้ เสรีภาพนั้นไม่กระทบต่อสถานะ อำนาจ ผลประโยชน์ของชนชั้นที่เหนือกว่า 2) หากจะมีข้อยกเว้นในการปฏิบัติต่อบุคคลที่แตกต่างกันไม่จำเป็นว่าการปฏิบัติ นั้นจะเกิดประโยชน์แก่คนที่เสียเปรียบในสังคมหรือไม่ แต่จำเป็นเสมอที่ต้องยกเว้นเพื่อปกป้องสถานะ อำนาจ และผลประโยชน์ของชนชั้นที่ได้เปรียบในสังคม ดังข้อสังเกตของ ธงชัย วินิจจะกูล ที่ว่า

การปราบปราม เช่น ฆ่าที่ผ่านมาในประเทศไทยไม่ได้เป็นเรื่องซับซ้อนมากนักในการที่จะชี้ถูก ชี้ผิด หาผู้กระทำผิด และผู้ถูกกระทำ หากมีการยึดมั่นในหลักการความเป็นธรรม และความเท่าเทียมภายใต้กฎหมาย แต่ความยุติธรรมในสังคมไทยจะต้องไม่ไประคายเคืองอำนาจครอบงำและระเบียบสังคม ของชนชั้นนำ อุปสรรคต่อความยุติธรรมอยู่ตรงนี้(http://prachatai.com/journal/2010/11/31766)

สิ่งที่เรียกว่า อำนาจครอบงำและระเบียบสังคมของชนชั้นนำหากมองตามทฤษฎีความยุติธรรมของรอลส์ ก็คืออำนาจครอบงำและระเบียบที่ถูกสถาปนาขึ้นจากสถานะแรกเริ่มที่ไม่เที่ยง ธรรม หรือสถานะที่ไม่เท่าเทียมในความเป็นมนุษย์

ฉะนั้น เราจะพูดถึง (อย่าว่าแต่เรียกร้องเลย) ความยุติธรรมที่แท้จริง (เช่น ตามทฤษฎีของรอลส์) ไม่ได้ ถ้าไม่มีการสถาปนาหลักความยุติธรรมจากสถานะที่เที่ยงธรรม

หรือ ความยุติธรรมจะเกิดขึ้นไม่ได้ ถ้าไม่สามารถสร้างระบบสังคม-การเมืองจากพันธสัญญาแห่งความยุติธรรมที่สถาปนา ขึ้นบนจุดยืนของการยอมรับ หรือเคารพหลัก ความเท่าเทียมในความเป็นมนุษย์ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นที่เที่ยงธรรมของการบัญญัติกฎหมาย หรือการปฏิบัติใดๆ ที่เป็นธรรมแก่ทุกคนอย่างเท่าเทียม!

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น