สนับสนุนการทำกิจกรรม ส่งเสริมประชาธิปไตยของชาวเชียงใหม่ ร่วมกับศูนย์ประสานงานกลาง นปช.แดงเชียงใหม่

ชื่อบัญชี นปช.แดงเชียงใหม่ ธนาคารออมสิน เลขที่บัญชี 02 0012142 65 7 ( มีผู้รับผิดชอบบัญชี 3 ท่าน )

ติดต่อเรา deangchiangmai@gmail.com

ราบสวัสดี พี่น้องทุกๆท่านที่เข้ามาเยี่ยมเยือน บล็อค นปช.แดงเชียงใหม่ ขอเรียนชี้แจงสักนิดว่า เรา ”แดงเจียงใหม่” เป็นกลุ่มคนชาวเจียงใหม่ที่เคารพรัก กติกาประชาธิปไตย ต่อสู้และต่อต้านเผด็จการทุกรูปแบบ อยากเห็นประเทศชาติภายภาคหน้า มีความเจริญ ประชาชนรุ่นลูกหลานของเราอยู่อาศัยอย่างร่มเย็นเป็นสุขในประเทศของพวกเราเอง ไม่มีกลุ่มอภิสิทธิ์ชนกลุ่มใดมาสูบเลือดเนื้อ แอบอ้างบุญคุณเฉกเช่นในยุคนี้ที่พวกเราเห็น การที่จะได้รับในสิ่งที่มุ่งหวังก็ต้องมีการต่อสู้แสดงกำลังให้สังคมได้รับรู้ และเพื่อที่จะให้กลุ่มบุคคลที่มีอำนาจในปัจจุบันได้เข้าใจในสังคมที่ก้าวหน้าเปลี่ยนแปลงไป ไม่อาจฝืนต่อกระแสการพัฒนาของโลก การต่อสู้ร่วมกับผองชนทั่วประเทศในครั้งนี้ เรา “ แดงเจียงใหม่ “ ได้ร่วมต่อสู้ทุกรูปแบบ และในรูปแบบที่ท่านได้เข้ามาร่วมอยู่นี้ คือการเผยแพร่ข่าวสารต่อสังคม เรา “ แดงเจียงใหม่ “ ได้สร้างเวปบล็อคไว้ 2 ที่ คือที่นี่ “ แดงเจียงใหม่” สำหรับการบอกกล่าวในเรื่องทั่วไป และอีกที่หนึ่งคือ “ Daeng ChiangMai “ สำหรับข่าวสารที่เราเห็นว่ามีประโยชน์ต่อการรับรู้ข่าวสารในการร่วมทำกิจกรรมของพี่น้องประชาชน


เชิญร่วมสร้างขวัญ และกำลังใจให้เพื่อนพ้องน้องพี่ร่วมกันครับ
“แดงเจียงใหม่” " Daeng ChiangMai "

รักประชาธิปไตยไม่เอาเผด็จการ ต่อต้านการรัฐประหารทุกรูปแบบ สร้างขวัญกำลังใจและความสุขเพื่อปวงชน

การสังหารหมู่ที่กรุงเทพฯ : สมุดปกขาวโดยสำนักกฎหมาย Amsterdam & Peroff การสังหารหมู่ที่กรุงเทพฯ . ไพร่สู้บนเส้นทาง ๗๘ ปี ประชาธิปไตย ( ๒๔๗๕ - ๒๕๕๓ ) จรรยา ยิ้มประเสริฐ Voter's Uprising Thai

วันอาทิตย์ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ซีรีส์สื่อใหม่กับความขัดแย้งทางการเมือง ตอน 11: โลกอนาคตที่ไม่มีการผูกขาดความจริง




Thu, 2010-11-18 15:49

ความขัดแย้งทางการเมืองที่ผ่านมา ส่งผลให้ สื่อทางเลือกหรือนิวมีเดียมีรูปแบบที่หลากหลายและนับวันจะมีบทบาทเพิ่มมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น อินเทอร์เน็ต เครือข่ายทางสังคมออนไลน์ เคเบิลทีวี หรือวิทยุชุมชน จนกระทั่งช่วง 3-5 ปีที่ผ่านมาซึ่งประเทศไทยเผชิญกับวิกฤตการณ์ความขัดแย้งทางการเมือง ก็ทำให้ยากที่ใครจะปฏิเสธได้ถึงนัยสำคัญที่มีต่อสังคมไทย กระทั่งเป็นที่จับตารอการทำความเข้าใจและอธิบาย

ขณะเดียวกัน สื่อสารมวลชนไทยกระแสหลักเองก็ได้รับการวิพากษ์วิจารณ์อย่างมากถึงการทำ หน้าที่ตลอดช่วงความขัดแย้งดังกล่าว ไม่เพียงแต่การตั้งคำถามถึงจริยธรรม จรรยาบรรณ จุดยืน ตลอดจนท่าทีที่มีต่อความเคลื่อนไหวของกลุ่มคนต่างๆ ในบริบทของการแบ่งแยกขั้วแบ่งแยกข้างทางการเมือง จนนำไปสู่วิกฤติความน่าเชื่อถือของสื่อ และเป็นเหตุผลสำคัญประการหนึ่ง ที่ทำให้ช่องทางและการสื่อสารใหม่ๆ มีผู้ใช้เติบโตอย่างก้าวกระโดด และถูกใช้เป็นเครื่องมือเพื่อขับเคลื่อนความคิดและความเคลื่อนไหวทางการ เมืองอย่างไม่เคยมีมาก่อน

ประชาไท สัมภาษณ์นักคิด นักวิชาการ นักสื่อสารมวลชน และนักปฏิบัติการสื่อออนไลน์ 12 คน เพื่อร่วมถกเถียงในประเด็นดังกล่าว ซึ่งจะนำเสนออย่างต่อเนื่อง โดยความสนับสนุนของมูลนิธิไฮน์ริค เบิลล์ ซึ่งบทสัมภาษณ์อย่างละเอียดจะนำเสนอเป็นรูปเล่มต่อไป

มานะ ตรีรยาภิวัฒน์ นับเป็นหนึ่งในจำนวนไม่กี่คนของนักวิชาการด้านสื่อสารมวลชน ของไทยที่เริ่มหันมาสนใจและศึกษานิวมีเดียอย่างจริงจัง ในอดีตเขาเคยเป็นนักข่าวในเครือผู้จัดการในยุคพฤษภาเลือดปี 2535 ก่อนจะไปศึกษาต่อและมาเป็นอาจารย์สาขาวารสารศาสตร์ คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย จนกระทั่งปัจจุบัน และใช้เครือข่ายทางสังคม หรือโซเชียลมีเดีย ไม่ว่าทวิตเตอร์หรือเฟซบุ๊กสื่อสารกับผู้คน รวมถึงนักศึกษาของตัวเองอย่างใกล้ชิด

นิยามนิวมีเดีย

มานะเริ่มต้นด้วย นิยามของนิวมีเดียว่าในแวดวงวิชาการปัจจุบันก็ยังเถียงกันอยู่ว่าควรจะใช้คำ นี้ได้มากน้อยแค่ไหน เพราะหากอ้างอิงกับเทคโนโลยี เมื่อมีเทคโนโลยีที่ใหม่กว่า สิ่งที่เรียกว่าใหม่ในขณะนี้ก็กลายเป็นเก่าได้เสมอ อย่างไรก็ตาม ในความเข้าใจทั่วไป คำว่า นิวมีเดีย หมายถึงสื่อดิจิตอลซึ่งเป็นเว็บไซต์แบบ 2.0 คือ เป็นยุคที่ผู้รับสารสามารถเป็นผู้ผลิตเนื้อหาและเผยแพร่เองได้ด้วย อีกทั้งยังสามารถมีปฏิสัมพันธ์กันได้ระหว่างผู้บริโภคและผู้ผลิต ปรากฏการณ์เช่นนี้ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในกระบวนการสื่อสารแทบทุกวงการ ทั้งในทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง โดยเฉพาะในแวดวงสื่อที่กำลังเผชิญความท้าทายและต้องปรับตัวอย่างหนัก


ที่ผ่านมา กรอบเดิมของ สื่อสารมวลชนนั้นอยู่บนฐานที่เห็นผู้บริโภค passive คอยรับอย่างเดียว ถ้าหากมีความไม่เห็นด้วยกับผู้ส่งสารก็อาจมีช่องทางสื่อสารเสียงของตนบ้าง เพียงเล็กน้อย ทั้งยังขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของผู้ส่งสารเป็นหลักว่าจะให้ความสนใจแค่ไหน แต่เทคโนโลยีที่ก้าวหน้าขึ้นได้เพิ่มอำนาจให้ผู้รับสารชนิดที่ในต่างประเทศ ถึงกับใช้คำว่า We’re the media. เพราะตัวเราสามารถเป็นสื่อได้ด้วยตัวเอง การทำเว็บไซต์ก็ไม่ยากเหมือนสมัยก่อนแล้ว หน้าที่ของคนทำสื่อแบบเดิมๆ ที่เป็นผู้กำหนดว่าอะไรถูก อะไรผิด เหตุการณ์ไหนสำคัญพอที่จะเป็นข่าว หรือเรียกว่าการเป็น gate keeper จึงถูกลดบทบาทลงอย่างสำคัญ


เมื่อความจริงไม่ใช่ เอกพจน์อีกต่อไป

ปัญหาต่อเนื่อง ตามมาก็คือ ในอนาคตหรือกระทั่งตอนนี้จึงไม่มีใครผูกขาดความจริงชุดเดียวอีกต่อไป เมื่อผู้บริโภคโดยเฉพาะคนชั้นกลางสามารถส่งสารได้มากขึ้น เรื่องหรือเหตุการณ์หนึ่งๆ จึงไม่มีความจริงชุดเดียว ไม่แปลกว่า ในอนาคต ความขัดแย้งในสังคมไทย ถ้าเรายังมองในลักษณะของการถูก การผิด ทุกเรื่องก็จะมีปัญหา

ฉะนั้น ในอนาคต เราจะอยู่ได้อย่างไรในเมื่อมีความจริงหลายๆ ชุด เราจะเรียนรู้ได้อย่างไร ที่จะเคารพความจริงอีกชุดหนึ่งหรืออีกหลายๆ ชุดที่แตกต่างจากเรา และจะเรียนรู้ได้อย่างไรว่าความจริงของเรามีจุดบกพร่องตรงไหน สามารถเรียนรู้ซึ่งกันและกันมากกว่าจะบังคับคนอื่นบอกว่าความจริงของคุณนั้น ผิดของฉันถูกคนเดียว ซึ่งในอนาคตเป็นเรื่องยากแล้ว และจะเป็นปัญหามากขึ้นถ้าเรายังไม่สามารถบริหารจัดการความต่างตรงนี้ได้มานะกล่าวและยกตัวอย่างว่า ดูจากวิกฤตการณ์ทางการเมืองที่ผ่านมา ทุกคนพยายามบอกว่า ข้อมูลฉันถูก ข้อมูลเธอผิด ทุกฝ่ายเหมือนกันหมด และทำให้เถียงกันไม่จบ


อย่างไรก็ดี ประเทศไทยไม่ใช่ ข้อยกเว้นที่ต้องเผชิญหน้ากับความขัดแย้งรูปแบบใหม่ในสังคมผ่านเทคโนโลยีที่ก้าวหน้า ขึ้นอยู่เพียงสังคมเดียว มานะบอกว่าในต่างประเทศก็ประสบปัญหานี้เช่นกัน เพียงแต่เขาเรียนรู้ในบางเรื่องจนผ่านการยอมรับ มีการถกเถียงอย่างเป็นเหตุเป็นผล ขยายขอบฟ้าการวิพากษ์วิจารณ์ และยอมรับซึ่งกันและกันมากกว่าสังคมไทย


ทางออกเพียงอย่างเดียวที่เขานำเสนอ คือ ทำอย่างไร เราจึงจะยอมรับว่ามันอาจมีความจริงที่หลากหลายมากกว่าความจริงหนึ่งเดียว เพราะเทคโนโลยีมันเปิดให้พื้นที่กับคนจำนวนมากสามารถให้ข้อมูล ทัศนคติ ความคิดเห็นที่หลากหลายขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในอนาคตอันใกล้นี้ เครื่องมืออย่างนิวมีเดียจะขยายตัวทั่วถึงมากขึ้น ไม่ใช่ของคนชั้นกลางเท่านั้น คนชั้นล่างจะมีโอกาสใช้มันสื่อสารได้มากขึ้น ซึ่งจะยิ่งเพิ่มพลังหรือเปิดความจริงได้อีกมากมายหลายชุด ซึ่งนั่นอาจยิ่งท้าทายสังคมไทยหนักกว่าเดิม


ขณะที่หลายคนกังวลว่าสื่อใหม่อาจเป็นตัวกระพือความขัดแย้งให้หนักหน่วงขึ้น มานะมองว่าเป็นเรื่องปกติและต้องอาศัยระยะเวลาในการเรียนรู้ แม้ไม่มีใครรู้ว่าช่วงเวลาของการเปลี่ยนผ่านด้านการสื่อสารนี้จะกินเวลายาว นานเท่าใด


มันต้องเรียนรู้ และคงมีช่วงเปลี่ยนผ่านอยู่เหมือนกัน พอมีสื่อใหม่ ความจริงไม่ได้มีชุดเดียว ความขัดแย้งเกิดขึ้นอยู่แล้ว ยิ่งยึดกุมความจริงแน่นหนาเท่าไรยิ่งมีปัญหา สงครามในเฟซบุ๊กเกิดขึ้นก็เกิดจากการยึดกุมความจริงของแต่ละฝ่าย ผ่านคลิป ยูทูป ยังไม่นับการดัดแปลง ตัดต่อ ล้อเลียน ที่นิวมีเดียสามารถทำได้หมด นั่นคืออีกระดับ ต้องเรียนรู้เรื่องการเท่าทันสื่อดิจิตอลมากขึ้นด้วยอาจารย์จากคณะนิเทศศาสตร์กล่าว


โลกเปลี่ยน สื่อเปลี่ยน...รัฐไม่ (เคย) เปลี่ยน

ในสถานการณ์ความ ขัดแย้งอันแหลมคม แม้ว่าหลายคนจะมองว่า สื่อใหม่มีบทบาทในการทำความจริงให้หลากหลาย แต่ความน่าเชื่อถือก็ยังคงรวมศูนย์อยู่กับสื่อดั้งเดิม เสมือนมวยคนละรุ่นโดยเฉพาะในเรื่องความน่าเชื่อถือของสื่อใหม่ มานะไม่กังวลกับประเด็นดังกล่าวเพราะเห็นว่าสื่อใหม่ไม่ได้มีกลุ่มเดียว เช่นเดียวกับสื่อกระแสหลักก็ไม่ได้มีกลุ่มเดียวเช่นกัน ดังนั้น ต้องมองกว่ามันไม่ใช่การต่อสู้กันระหว่างสื่อใหม่กับสื่อกระแสหลัก ในความขัดแย้ง แต่สื่อใหม่ถูกใช้เป็นเครื่องมือของทุกฝ่าย


แม้แต่รัฐเองก็กระโดดเข้ามาพยายามควบคุมในโลกใหม่ใบนี้ เช่น การออก พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 และกำลังอยู่ระหว่างยกร่างกฎหมายเพื่อควบคุมโลกออนไลน์อีกหลายฉบับ แต่เขามองว่า อย่างไรเสียรัฐก็ยังคงตามไม่ทันการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น และไม่มีทางประสบความสำเร็จในการควบคุม


ถึงที่สุดรัฐยังใช้ตรรกะในการควบคุมข้อมูลข่าวสารแบบเดิม เหมือนหนังสือพิมพ์ วิทยุ ทีวี แต่สื่อใหม่มันไม่ใช่ มันขยายตัวเร็วมาก ปากต่อปาก เป็น viral ต่อให้มี พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ก็ยังถูกใช้ด้วยตรรกะแบบเดิม ซึ่งมันไม่สามารถหยุดความคิดเห็นที่แตกต่างได้อยู่แล้ว พอเป็นไปไม่ได้ ยิ่งกระพือให้ความขัดแย้งมากขึ้น แสดงความคิดเห็นรุนแรงขึ้น หรือสร้างเป็นเครือข่ายได้มากขึ้นด้วยซ้ำไป อันนี้ต้องบอกว่ารัฐทุกยุคสมัย เพื่อความแฟร์ว่าไม่ใช่เฉพาะรัฐยุคนี้ เป็นกรอบคิดของคนมีอำนาจที่พยายามควบคุมไม่ให้มีความเห็นที่แตกต่าง เชื่อว่าความจริงต้องมีชุดเดียว ประวัติศาสตร์ต้องมีชุดเดียว โดยอ้างว่าเพื่อความสุขสงบของสังคม ในอนาคตมันจะไม่ใช่แบบนี้อีกต่อไป


อีกสิ่งหนึ่งที่บ่งชี้ว่ารัฐไม่เปลี่ยนไปตามยุคสมัยก็คือ การกระโดดเข้ามาเล่นและแทรกแซงกระบวนการตรวจสอบกันเองภายในสังคมไซเบอร์ ซึ่งมานะเห็นว่าสื่อใหม่มีการควบคุม ตรวจสอบกันเองอย่างเข้มข้นอยู่แล้วโดยธรรมชาติของการสื่อสารสองทาง แม้ว่าในช่วงแรกๆ จะมีการสร้างบรรยากาศการตรวจสอบกันเองที่น่าห่วงกังวล เช่น ขบวนการล่าแม่มด หรือโซเชียลแซงชั่นที่ไล่ล่านำข้อมูลส่วนตัวของผู้ที่สังคมนั้นเห็นว่าเป็น อันตรายต่อความมั่นคงมาเปิดเผยเพื่อหามาตรการจัดการทางสังคม แต่ถึงที่สุด มานะเห็นว่าปรากฏการณ์นี้ไม่ได้เกิดขึ้นกับฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเท่านั้น แต่กลายเป็นต่างคนต่างล่ากันและกัน โดยมีรัฐเข้ามาขยายปัญหาด้วยการนำข้อมูลดังกล่าวไปทำการจับกุมดำเนินคดี


มันเป็นสิ่งที่ไม่ควรเกิดขึ้น แต่พอเป็นช่วงเปลี่ยนผ่านมันก็เป็นเรื่องที่คนลองผิดลองถูก ซึ่งมันไม่ได้เกิดขึ้นกับฝ่ายเดียวอย่างที่เข้าใจ คำถามคือ ไม่ว่าฝ่ายไหนทำมันก็เป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้องทั้งคู่มากกว่า ผมเชื่อว่าถึงที่สุดแล้วเขาก็จะเรียนรู้กัน ฉันทำเธอได้ก็จะถูกทำบ้าง ถึงจุดหนึ่งจะเรียนรู้ว่าไม่ควรทำแบบนี้ ควรจะเถียงกันดีกว่า แต่ปัญหามันเกิดเพราะรัฐเข้ามายุ่ง

ความท้าทายต่อ มืออาชีพ

ไม่เฉพาะกับรัฐ สื่อใหม่หรือโซเชียลมีเดียยังท้าทายต่อบทบาทของนักข่าวและความเป็นสถาบันของสื่อสารมวลชนอีกด้วย

เขามองว่าเครดิต ของนักข่าวก็ถูกตั้งคำถามเยอะ เนื่องจากความจริงเกิดจากการกลั่นกรองของนักข่าว ผ่านทัศนคติส่วนตัว หรืออุดมการณ์ทางเศรษฐกิจที่ครอบงำโดยโฆษณา องค์กรรัฐ ทำให้ที่ผ่านมาผู้บริโภคไม่แฮปปี้กับข้อมูลข่าวสารที่ออกมานัก และมีการวิพากษ์วิจารณ์ กระแทกกันหนักๆ อยู่ค่อนข้างมาก โดยเฉพาะเมื่อผู้บริโภคเสียงดังขึ้นจากเทคโนโลยีใหม่ที่ใครๆ ก็สามารถทำเสนอข้อมูล มุมมองตัวเองขึ้น จนกระทั่งปัจจุบัน citizen journalist หรือนักข่าวพลเมืองถูกสถาปนาขึ้นมาอย่างเป็นทางการและเป็นที่จับตามองอย่าง ยิ่งในแวดวงการสื่อสาร แม้ว่าในระยะแรกจะโดนดูถูกจากสื่อกระแสหลักในเรื่องความเป็นมืออาชีพ ความเที่ยงตรงของข้อมูล ความเป็นกลาง ความสมดุลของข่าว ซึ่งเป็นสถานการณ์ที่เกิดขึ้นกับนักข่าวพลเมืองทุกแห่งในโลก

แต่ในระยะ 2-3 ปีที่ผ่านมา นักข่าวพลเมืองซึ่งส่วนใหญ่เป็นคนชั้นกลางเริ่มขยายตัวขึ้นมาก พร้อมๆ กับมีการพัฒนาการทำข่าวอย่างเป็นมืออาชีพมากขึ้น ทุกประเทศมีแนวโน้มเช่นนี้ กระทั่งสำนักข่าวระดับโลกอย่าง CNN หรือหลายๆ แห่งก็ต้องมีพื้นที่เฉพาะรองรับนักข่าวพลเมือง

โฉมใหม่การสื่อสารโลก นักข่าวอาชีพ + นักข่าวพลเมือง

เขาเล่าเพิ่มเติม ว่า ขณะนี้หลายๆ แห่งเริ่มมีการปรับตัวในการร่วมมือกันมากขึ้นระหว่างนักข่าวพลเมืองและนัก ข่าวอาชีพ ตัวอย่างอันลือลั่นก็เช่น โครงการวิกิลีค (Wikileak) ที่มองกันว่าเป็นการทำงานของแฮกเกอร์หรือพวกเจาะข้อมูล หรืออาจเป็นพวกที่อยู่ในวงราชการของประเทศต่างๆ ส่งข้อมูลมา ผ่านกระบวนการบางอย่างกระทั่ง เกิดผลกระทบต่อกระแสสังคมวงกว้าง ทั้งนี้เพราะวิกิลีคไม่ได้เปิดประเด็นบนเว็บไซต์ของตัวเองแล้วจบ แต่เปิดผ่านสื่อกระแสหลัก โดยให้ข้อมูลบางส่วนไปก่อนเพื่อให้นักข่าวไปทำการบ้านต่อ เช็คต่อ ขยายประเด็นต่อ แล้วนัดเวลาในการเปิดข่าวพร้อมๆ กัน ซึ่งนับเป็นการร่วมมือกันในการทำข่าวสืบสวนสอบสวนที่น่าสนใจ ผสานกับนักพัฒนาที่คอยดึงและกระจายข้อมูล กับดีไซเนอร์ที่ทำหน้าที่ย่อยข้อมูลยากๆ ให้เป็นเรื่องง่าย หรือที่เรียกว่า Info Graphic

ที่อเมริกาเพิ่งประชุมกันเมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมา เรียกว่า data journalism หรือ data driven journalism และที่คุณสุทธิชัย หยุ่น ไปประชุมที่เยอรมนี นั่นก็เป็นการคุยเรื่อง data journalism เกี่ยวกับการจัดโครงสร้างองค์กรใหม่ ต่อไปจะไม่มีโต๊ะข่าวเศรษฐกิจ การเมือง แต่จะเปลี่ยนเป็นกองได้เงิน กองไม่ได้เงิน กองที่เอาคอนเทนต์มาแล้วแปลงเป็นสารในสื่ออื่นต่อ เช่น สื่อวิทยุ


เขายังหยิบยกกรณีที่สื่อกระแสหลักในบางประเทศเริ่มเปิดพื้นที่ให้กับประชาชน ทั่วไปมาร่วมมือกันผ่านเทคโนโลยีบางอย่าง ซอฟต์แวร์บางตัว เพื่อร่วมกันทำข่าวสืบสวนบางเรื่อง เช่น สื่อในอังกฤษค้นข้อมูลการใช้เงินของ ส.ส.แล้วก็ออกแบบคล้ายโอเพ่นซอร์สเปิดโอกาสให้ชาวบ้านมาโหลดไฟล์ไปช่วยกัน เช็คดู เพราะข้อมูลมีเยอะมาก หรือบางพื้นที่ก็จัดโครงการขึ้นมาให้คนธรรมดาทั่วไปร่วมมือกับนักข่าวในการ นำเสนอข่าวในพื้นที่มากขึ้น นับเป็นการทดลองทางด้านวารสารศาสตร์แบบใหม่ที่กำลังก่อตัว


ถามว่าปลายทางของนักข่าวพลเมืองจะต้องสร้างความน่าเชื่อถือเหมือนนักข่าว อาชีพหรือไม่ มานะตอบว่า ไม่จำเป็น เสน่ห์ของคุณก็คือแบบนั้นแหละ ไม่จำเป็นต้องเหมือนกันหมด ไม่จำเป็นต้องมีความจริงชุดเดียว มีหลักสูตรการเขียนข่าวชุดเดียว มันมีการตั้งคำถามกันในแวดวงวารสารศาสตร์เหมือนกัน แล้วผู้เชี่ยวชาญด้านนี้ในหลายๆ แห่งก็สรุปออกมาว่า Journalism ก็คือการเล่าเรื่อง เพียงแค่คุณเล่าเรื่องผ่านอะไร เล่าเรื่องผ่านวิทยุ หนังสือพิมพ์ นิตยสาร นักข่าวก็คือนักเล่าเรื่องนั่นแหละ แล้วก็เอาข้อมูลมา บางคนเล่าแล้วใส่สีตีไข่ บางคนเล่าสั้นๆ บางคนเล่าแล้วมีอารมณ์ แล้วแต่เทคนิค ให้รู้ว่าแก่นของเรื่องมันคืออะไร


ที่สำคัญ เขายังไม่เชื่อเรื่องฐานันดรของสื่อมวลชนด้วย ถ้ามันมีก็คงเพราะรู้สึก หรือสถาปนากันไปเองว่ามันมี


ถึงกระนั้น ในแวดวงสื่อสารมวลชนกระแสหลักก็เริ่มมีการปรับตัวในด้านการควบคุมจริยธรรม ที่เข้มข้นมากขึ้นให้เท่าทันกับเทคโนโลยี โดยเขาเพิ่งได้เข้าร่วมในการร่างจริยธรรมผู้สื่อข่าวออนไลน์ร่วมกับสมาคมนัก ข่าวหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทยเมื่อเร็วๆ นี้ เพราะนักข่าวก็เริ่มหันมาใช้สื่อใหม่หรือเครือข่ายทางสังคมออนไลน์เป็น เครื่องมือ ทั้งในการหาข่าว คุ้ยข่าว หรือสร้างข่าว และผู้คนที่ติดตามนักข่าวคนนั้นๆ ก็ไม่ได้ตามในฐานะที่เป็น นาย ก. นาย ข. แต่ติดตามและเชื่อถือในฐานะที่เป็นนักข่าว


ท้ายที่สุด เราถามเขาถึงเรื่องของแวดวงการศึกษาด้านสื่อสารมวลชน คำตอบมีเพียงสั้นๆ ดังคาดว่า ระบบการศึกษาก็เป็นแชมป์รองลงมาจากรัฐ เพราะยังตามไม่ทันกับกระแสความเปลี่ยนแปลง มีเพียงสถาบันบางแห่งที่เพิ่งเริ่มต้นในการปรับปรุงหลักสูตรให้ทันยุคสมัย ทันนักศึกษาของตัวเองมากขึ้น


หลักสูตรมันปรับไม่ยากหรอก แต่คนสอนน่ะปรับยาก ยากมากมานะเล่าขำๆ แต่สะท้อนให้เห็นปัญหาใหญ่อีกเรื่องหนึ่งที่ยังแก้ไม่ตกและยังขาดแคลนการถก เถียงกันในสังคม

http://prachatai.com/journal/2010/11/31953

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น