มารู้จัก ลัทธิไร้ระเบียบ กัน
ทฤษฎีไร้ระเบียบ ที่มี่ชื่อเรียกว่า Chaos theory ความจริงเป็นทฤษฎีทางฟิสิกส์แขนงหนึ่ง
ที่ศึกษาถึงกฎเกณฑ์และคุณสมบัติของปรากฏการณ์ทางวัตถุ ในทางฟิสิกส์
เคมี และชีววิทยา ที่มักเกิดความยุ่งเหยิงขนาดเล็ก ๆ ขึ้น
ซึ่งปรากฏการณ์นี้ไม่เป็นไปตามภาวะที่ควรจะเป็น ตามปรกติทั่วไป อันมีความเป็นระเบียบ
เป็นลักษณะพื้นฐาน กล่าวคือ สรรพสิ่งเคลื่อนไหวไปตามกฎทางธรรมชาติ
แต่บางสภาวะก็จะมีสภาพที่ผิดธรรมชาติขึ้น กล่าวคือ
ไม่สามาระอธิบายปรากฏการณ์ที่อยู่นอกเหนือกฎเกณฑ์ทั่วไปได้ ต้องใช้ Chaos theory
มาอธิบาย ทฤษฎีนี้ เริ่มต้นโดย Henri Poincaré (1854-1912) นักฟิสิกส์ชาวฝรั่งเศส
เป็นทฤษฎีวิทยาศาสตร์มีลักษณะเฉพาะ ใช้ศึกษาและอธิบายปรากฏการณ์เฉพาะ
ของความยุ่งเหยิง (ความไร้ระเบียบไม่เป็นไปกฎเกณฑ์ทั่วไป) ขนาดเล็ก ๆ
ที่เกิดขึ้นในระบบ (โครงสร้างที่เป็นระเบียบ) ขนาดใหญ่เช่นเดียวกีบ ควันตัมฟิสิกส์
(Quantum Physics) ที่มุ่งศึกษาถึง สสารและพลังงาน ในขอบเขตที่เล็กที่สุด ในระดับ
อะตอม และอนุภาคที่เล็กกว่าอะตอม
รากฐานลัทธิไร้ระเบียบ
ทฤษฎีไร้ระเบียบ อธิบายปรากฏการณ์เฉพาะในสภาพจำกัด
ที่เกิดขึ้นข้างเคียงกับปรากฏการณ์ทั่วไป ในขอบเขตกว้างขวาง
ควันตัมฟิสิกส์อธิบาย คุณสมบัติของภาวะที่เล็กที่สุดของสสารและพลังงาน
ที่เรียกว่า “อนุภาค” (particle) และสรุปเอาว่า “อนุภาค”
นี้เป็นสาระสำคัญที่เป็นแก่นสารของจักรวาลอันกว้างใหญ่ไพศาล ต่อมาจึงเกิด
ทฤษฎีบิ๊กแบงค์ (the Big Bank theory) ซึ่งสรุปเอาว่า
จุดเริ่มต้นของจักรวาลมาจากการแตกตัวออกอย่างฉับพลันของสิ่งที่เรียกว่า “สาระหนึ่งเดีย
ว” หรือ “the Singularity” ขนาดจิ๋ว ทฤษฎีบิ๊กแบงค์ นี้ได้รับการคัดค้านอย่างรุนแรงจาก
นักฟิสิกส์ผู้ยิ่งใหญ่ อัลบิร์ดไอสไตน์ ผู้นำเสนอทฤษฎีสัมพันธภาพ ที่ระบุว่า การเกิด
ดำรงอยู่ และเป็นไปของวัตถุทั้งหลาย (ฟิสิกส์)
ล้วนแล้วแต่เป็นปรากฏการณ์แห่งความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันของสสารและพลังงาน
(ความสัมพันธ์ที่แลกเปลี่ยนกันไปมาของลักษณะสองด้านของวัตถุในรูปของสสารและพลัง
งาน) แต่ “ทฤษฎีบิ๊กแบงค์”อันอ้างอิง “ควันตัมฟิสิกส์” นี้
ได้รับการประกาศการยอมรับอย่างเป็นทางการจากศาสนจักรโรมันคาร์ธอลิก
โดยเห็นว่า “the Singularity” นั้นสอดคล้องกับ
วิธีคิดอภิปรัชญาของของศาสนาคริสต์นั่นเอง
หลังวิกฤติเศรษฐกิจ 2540 มีผู้นำ Chaos theory และ Quantum physics
ที่มีลักษณะเฉพาะเหล่านี้ เอามาประกอบกันใช้เป็น ทฤษฎีทั่วไปทางสังคม
เรียกว่า “ลัทธิไร้ระเบียบ” โดยนักลัทธินี้เชื่อว่า “สรรพสิ่งบนโลกมีเกิด มีดับ
ที่เริ่มจากความระเบียบ แล้วก้าวไปสู่ ความไร้ระเบียบ ในที่สุด หมุนเวียนอยู่เช่นนี้
(หมุนเวียนเป็นวงกลม) สังคมก็เช่นกัน
เมื่อพัฒนาไปจนถึงที่สุดแล้วก็จะมีวิกฤติอันสภาวะยุ่งเหยิงของความไร้ระเบียบจะมีความรุน
แรง เป็นหายนะต่อสังคมและอารยธรรมมนุษยชาติครั้งแล้วครั้งเล่า
เมื่อเห็นถึงกลียุคเช่นนี้แล้ว
แต่การจะไปปะทะหยุดยั้งการก้าวหน้าไปสู่ความวินาศนของสังคมเป็นส่งที่ทำได้ยาก
อย่างไรก็ตามก็มีทางออก เมื่อหยุดยั้งมันไม่ได้ก็ปลีกตัวออกมาจากมัน
(สังคมแนวหลักที่กำลังจะพินาศฉิบหาย)เสีย มารวมตัวกันตั้งเป็น “ชุมชนเกษตร”
ที่พึ่งตนเอง ไม่เกี่ยวข้องกับสังคมภายนอกที่กำลังวุ่นวาย ไร้ระเบียบ กำลังจะพินาศ
เช่นนี้เท่านั้น มนุษย์จึงจะรอดพ้นความวิบัติไปได้”
การที่ “ลัทธิไร้ระเบียบ” เอา 2 ทฤษฎีฟิสิกซ์สำคัญทางมาประกอบกัน
แล้วนำเสนอเป็นทฤษฎีทางสังคม ทำให้ ดูมีความขลังและเป็นวิทยาศาสตร์ที่ก้าวหน้าที่สุด
ที่เสนอให้ ยึดกุมเอา “ความไร้ระเบียบ” เป็นสรณะเป็นด้านหลัก
และกำหนดให้ “ความมีระเบียบ”เป็นด้านรองนี้ ขัดแย้งกับทัศนะวิทยาศาสตร์ทั่วไป ที่ถือว่า
ความมีระเบียบ นี้เป็นด้านหลักของการดำรงอยู่ของสรรพสิ่งในจักรวาล และมีการเกิด
การดำรงอยู่ และเปลี่ยนแปลง เป็นการเคลื่อนไหวและเปลี่ยนแปลงนี้
เป็นไปกฎมูลฐานทางวัตถุ การเกิด และการดำรงอยู่
เป็นการเคลื่อนไหวอย่างสะสมเชิงปริมาณ (ใช้เวลายาวนาน) และการเปลี่ยนแปลง
เป็นการเคลื่อนไหวอย่างฉับพลันในเชิงคุณภาพ(ใช้เวลาสั้น) แน่นอนว่า
การเปลี่ยนแปลงในเชิงคุณภาพอย่างฉับพลันนี้ ย่อมเป็นการสิ้นสุดลงของคุณภาพเก่า
และเป็นการเกิดขึ้นของคุณภาพใหม่ในเวลาเดียวกัน ภาวะยุ่งเหยิง หรือ
ความไร้ระเบียบของคุณภาพเดิมย่อมเกิดขึ้นในระยะเวลาคาบเกี่ยวของการดับสิ้นกับการเกิ
ดขึ้นม่าใหม่
แต่ความไร้ระเบียบนี้จะไม่ดำรงอยู่เมื่อคุณภาพใหม่ได้เกิดขึ้นแล้วและพัฒนาต่อไป
ความยุ่งเหยิงไร้ระเบียบ จึงเป็นปรากฏการณ์ความขัดแย้งภายในของคุณภาพเก่า
ก่อนการแตกดับที่มีระยะเวลาสั้น ๆ และในขนาดเล็ก ๆ เท่านั้น
หาใช่ปรากฏการณ์ขนาดใหญ่ที่กินระยะเวลายาวนานที่มีผลกระทบอย่างสำคัญ
ต่อคุณภาพใหม่ที่เกิดขึ้นและพัฒนาต่อมาไม่ เรียกอีกอย่างได้ว่า ความไร้ระเบียบ
ก็คือ อาการข้างเคียงของการเปลี่ยนแปลงในเชิงคุณภาพ นั่นเอง ตัวอย่าง
กรณีการเรียกร้องประชาธิปไตยในอิยิปต์ สังคมอิยิปต์เกิดความวุ่นวายก่อนที่ มูบารัค
จะลาออก พอเขาลาออกตามข้อเรียกร้องแล้วแล้ว ความเรียบร้อยเป็นระเบียบก็กลับคืนมา
เป็นต้น เป็นอย่างนี้ทุกสังคมตลอดประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา
หาได้มีภาวะวุ่นวายเป็นนิจนิรันดรไม่
อย่างไรก็ตามผลของลัทธิไร้ระเบียบ ทำให้
ปฏิเสธความสามารถของมนุษย์ที่จะดัดแปลงตนเองและสิ่งแวดล้อมให้เกิดคุณต่อตนเอง
ซึ่งหมายถึงการปฏิเสธที่จะกระทำใด ๆ ในการแก้ไขระเบียบที่เป็นความขัดแย้ง
(จัดระเบียบใหม่) เนื่องจากพวกเขาคิดไปเองว่าจะไม่เกิดประโยชน์อันใด เพราะ
ระเบียบใหม่ ก็จะนำไปสู่ ความไร้ระเบียบ ในที่สุดอยู่ดี สู้ปล่อยให้มันเป็นไปเองดีกว่า
นี่เป็นที่มาของคำขวัญของขบวนการนี้ที่ว่า “เพียงแต่คิดก็ชนะ...”
ดังนั้นลักษณะสำคัญของลัทธิไร้ระเบียบ ก็คือ การเชิดชูอดีต อดีตจึงดีกว่าปัจจุบัน
สิ่งที่ลัทธินี้นำเสนอก็คือ ยุติการเคลื่อนที่ไปข้างหน้า
หากหยุดนิ่งหรือถอยหลังได้ก็จะพบกับสภาวะไร้ระเบียบที่เลวร้ายช้าลง
หรืออาจหลุดพ้นจากความวิบัติไปได้ แต่ถ้าหากยังอยากจะแตะต้อง “ระเบียบ” หรือ
โครงสร้าง ที่เป็นปัญหานั้น ก็ให้ใช้ การคิดฝัน (intuition) หรือ “ทฤษฎีจิตย้ายวัตถุ”
มาจัดการก็เป็นอันใช้ได้ ลัทธิไร้ระเบียบที่ดูเป้นวิทยาศาสตร์นี้ จึงเปิดเผยตนเองออกมา
กลายเป็น “ทรรศนะแบบจิตนิยม” ซึ่งตรงกันข้ามกับ “ทรรศนะแบบวิทยาศาสตร์”
ที่เป็น “วัตถุนิยม” อันถือว่า การละทิ้งการกระทำที่เป็นจริงต่อระเบียบที่เป็นความขัดแย้งนี้
ถือได้ว่าเป็น “การยอมจำนน” ลัทธไร้ระเบียบมีทัศนะ “จิตกำหนดวัตถุ” กำหนดให้ “จิต”
เป็นด้านหลัก ดังนั้นจึงเป็น “จิตนิยม” คล้ายกับ ลัทธิเอ๊กซิสตองเชียลอสม์ (existentialism)
ของ Søren Kierkegaard (1813-1855) และ Jean-Paul Sartre (1905-1980)
ลัทธิไร้ระเบียบ เป็นปีกขวาของลัทธิอนาธิปไตย เพราะ รัฐก็คือ รูปลักษณ์หนึ่งของ
ระเบียบ ลัทธิไร้ระเบียบ จึงมีเนื้อหาคล้ายกับลัทธิอนาธิปไตยในเชิงทัศนะ
แต่แตกต่างกันในจุดยืนและวิธีการ ลัทธิไร้ระเบียบนี้ จึงสามารถเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าเป็น
ลัทธิฉวยโอกาสอนาธิปไตยชนิดหนึ่ง ที่มีรูปแบบคล้ายก้าวหน้า
แต่เนื้อหาถอยหลังโดยสิ้นเชิง นำเสนอลัทธิยอมจำนน ไม่ใช้กำลังกายภาพไปต่อสู้กับระบบ
(ความเป็นระเบียบ) ที่ตนเห็นว่าไม่เป็นธรรมหรือกำลังพาให้มนุษย์ไปสู่ความวิบัติ
โดยเสนอให้ต่อสู้ด้วย กำลังจิตภาพ - “เพียงแต่คิดก็ชนะ...”
ผู้ประสิทธิ์ประสาท ลัทธิไร้ระเบียบ คนสำคัญของเมืองไทยก็คือ ชัยวัฒน์ ถีระพันธ์,
ยุค ศรีอาริยะ และ ประเวศ วสี เป็นต้น เพื่อให้ได้สาระความรู้ความเข้าใจมากขึ้น
ขอแนะนำให้ลองไปศึกษาความคิดของพวกเขาดู ................ภู
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น