สนับสนุนการทำกิจกรรม ส่งเสริมประชาธิปไตยของชาวเชียงใหม่ ร่วมกับศูนย์ประสานงานกลาง นปช.แดงเชียงใหม่

ชื่อบัญชี นปช.แดงเชียงใหม่ ธนาคารออมสิน เลขที่บัญชี 02 0012142 65 7 ( มีผู้รับผิดชอบบัญชี 3 ท่าน )

ติดต่อเรา deangchiangmai@gmail.com

ราบสวัสดี พี่น้องทุกๆท่านที่เข้ามาเยี่ยมเยือน บล็อค นปช.แดงเชียงใหม่ ขอเรียนชี้แจงสักนิดว่า เรา ”แดงเจียงใหม่” เป็นกลุ่มคนชาวเจียงใหม่ที่เคารพรัก กติกาประชาธิปไตย ต่อสู้และต่อต้านเผด็จการทุกรูปแบบ อยากเห็นประเทศชาติภายภาคหน้า มีความเจริญ ประชาชนรุ่นลูกหลานของเราอยู่อาศัยอย่างร่มเย็นเป็นสุขในประเทศของพวกเราเอง ไม่มีกลุ่มอภิสิทธิ์ชนกลุ่มใดมาสูบเลือดเนื้อ แอบอ้างบุญคุณเฉกเช่นในยุคนี้ที่พวกเราเห็น การที่จะได้รับในสิ่งที่มุ่งหวังก็ต้องมีการต่อสู้แสดงกำลังให้สังคมได้รับรู้ และเพื่อที่จะให้กลุ่มบุคคลที่มีอำนาจในปัจจุบันได้เข้าใจในสังคมที่ก้าวหน้าเปลี่ยนแปลงไป ไม่อาจฝืนต่อกระแสการพัฒนาของโลก การต่อสู้ร่วมกับผองชนทั่วประเทศในครั้งนี้ เรา “ แดงเจียงใหม่ “ ได้ร่วมต่อสู้ทุกรูปแบบ และในรูปแบบที่ท่านได้เข้ามาร่วมอยู่นี้ คือการเผยแพร่ข่าวสารต่อสังคม เรา “ แดงเจียงใหม่ “ ได้สร้างเวปบล็อคไว้ 2 ที่ คือที่นี่ “ แดงเจียงใหม่” สำหรับการบอกกล่าวในเรื่องทั่วไป และอีกที่หนึ่งคือ “ Daeng ChiangMai “ สำหรับข่าวสารที่เราเห็นว่ามีประโยชน์ต่อการรับรู้ข่าวสารในการร่วมทำกิจกรรมของพี่น้องประชาชน


เชิญร่วมสร้างขวัญ และกำลังใจให้เพื่อนพ้องน้องพี่ร่วมกันครับ
“แดงเจียงใหม่” " Daeng ChiangMai "

รักประชาธิปไตยไม่เอาเผด็จการ ต่อต้านการรัฐประหารทุกรูปแบบ สร้างขวัญกำลังใจและความสุขเพื่อปวงชน

การสังหารหมู่ที่กรุงเทพฯ : สมุดปกขาวโดยสำนักกฎหมาย Amsterdam & Peroff การสังหารหมู่ที่กรุงเทพฯ . ไพร่สู้บนเส้นทาง ๗๘ ปี ประชาธิปไตย ( ๒๔๗๕ - ๒๕๕๓ ) จรรยา ยิ้มประเสริฐ Voter's Uprising Thai

วันอังคารที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

จุดยืนอันสับสนของอภิสิทธิ์ว่าด้วยการแก้ปัญหาเขตแดนด้วยสันติวิธี

พวงทอง ภวัครพันธุ์
ภาควิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Visiting Research Fellow,
The Shrorenstein Asia Pacific Research Center, Stanford University

หมายเหตุ บทความชิ้นนี้ส่งให้มติชนรายวันตั้งแต่สัปดาห์ที่ผ่านมา ก่อนที่จะเกิดการปะทะกันบริเวณชายแดน

สถานการณ์ชายแดนไทย-กัมพูชาตึงเครียดมากขึ้นเรื่อย ๆ ปัญหาล่าสุดขยับจากเรื่องเอ็มโอยู 2543 มาที่การแย่งชิงสิทธิเหนือวัดแก้วสิกขาคีรีสวารา ล่าสุดกัมพูชานำธงชาติของตนไปปักไว้บริเวณวัด กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยจึงเรียกร้องให้รัฐบาลใช้มาตรการเด็ด ขาดเอาธงชาติกัมพูชาลงมาให้ได้ นายกฯอภิสิทธิ์จึงจำเป็นต้องแสดงท่าทีแข็งกร้าวในเรื่องนี้ ส่วนกัมพูชาก็เริ่มเสริมกำลังทัพบริเวณชายแดน โอกาสที่จะเกิดการปะทะกันมีสูงมาก หน ทางเดียวที่จะปลดชนวนสงครามและแก้ปัญหานี้ได้อย่างถาวรคือ ทั้งไทยและกัมพูชาต้องตกลงกันให้ได้ว่าจะร่วมกันจัดการพื้นที่ทับซ้อนนี้ อย่างไร แต่รัฐบาลอภิสิทธิ์กลับมีจุดยืนที่เป็นอุปสรรคต่อเรื่องนี้

ในบรรดาประเด็นปัญหาที่เกี่ยวข้องกับปราสาทพระวิหารนี้ พื้นที่ทับซ้อน 4.6 ตร.กม.นี้เป็นส่วนที่แก้ไขยากที่สุด และถ้าไม่ทำอะไรเลย ก็จะเป็นจุดที่สร้างปัญหา ก่อความตึงเครียดให้กับความสัมพันธ์ไทย-กัมพูชาได้เรื่อย ๆ เปิดโอกาสให้กลุ่มคลั่งชาตินำมาเคลื่อนไหวได้ตลอดเวลา ช่วงที่ผ่านมา ปัญหาที่เกิดขึ้นบนพื้นที่ทับซ้อนได้แก่ การตั้งรกรากของชาวกัมพูชาในบริเวณนี้ การสร้างถนนจากกัมพูชาเข้าไปยังฝั่งตะวันตกของปราสาทพระวิหาร และล่าสุดคือ กรณีวัดแก้วฯ

พื้นที่ทับซ้อน 4.6 ตร.กม.เป็นผลจากการที่กัมพูชาและไทยต่างอ้างอิงเอกสารที่แตกต่างกัน ฝ่ายไทยยึดถือเส้นสันปันน้ำเป็นเขตแดนตามหนังสือสัญญาระหว่างสยามและ ฝรั่งเศส ค.ศ. 1904 และค.ศ. 1907 ส่วนกัมพูชายึดถือแผนที่ตามการปักปันเขตแดนของคณะกรรมการปักปันเขตแดน ระหว่างสยามกับฝรั่งเศส หรือที่คนไทยมักเรียกว่าแผนที่มาตราส่วน 1:200,000

กัมพูชาถือว่าในคำตัดสินของศาลโลกเมื่อปี ค.ศ.1962 ได้ระบุไว้ชัดเจนว่าเส้นเขตแดนในบริเวณปราสาทพระวิหารคือเส้นที่ปรากฎใน แผนที่ ดังคำวินิจฉัยที่ว่า "ประเทศไทยใน ค.ศ.1908-1909 ได้ยอมรับแผนที่ในภาคผนวก 1 ว่าเป็นผลงานของการปักปันเขตแดน และด้วยเหตุนี้ จึงได้รับรองเส้นบนแผนที่ว่าเป็นเส้นเขตแดน อันเป็นผลให้พระวิหารตกอยู่ในดินแดนกัมพูชาคู่กรณีทั้งสองฝ่าย โดยการประพฤติปฏิบัติของตนเองได้รับรองเส้นแผนที่นี้ และดังนั้นจึงถือได้ว่าเป็นการตกลงให้ถือว่าเส้นนี้เป็นเส้นเขตแดน"

กัมพูชาจึงยืนยันว่าวัดแก้วฯอยู่ภายในอาณาบริเวณของกัมพูชา เพราะวัดแก้วฯตั้งอยู่ทางด้านใต้ของเส้นเขตแดนตามแผนที่ราว 700 เมตร

แต่ฝ่ายไทยถือว่าศาลโลกไม่ได้ตัดสินให้ตามคำขอของกัมพูชาในข้อที่ว่า แผนที่มีสถานะเท่ากับสนธิสัญญา และเส้นเขตแดนที่ปรากฏในแผนที่เป็นเส้นเขตแดนไทย-กัมพูชา ฉะนั้น ไทยไม่จำเป็นต้องยอมรับเส้นเขตแดนตามแผนที่ฉบับดังกล่าว วัดแก้วฯจึงต้องอยู่ในเขตของไทย

เมื่อทั้งสองฝ่ายยึดถือเอกสารที่แตกต่างกันเช่นนี้ จึงเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้การปักปันเขตแดนบริเวณเทือกเขาดงรักไม่มีความคืบ หน้า แต่ส่วนอื่นๆ คืบหน้าไปมากแล้ว เพราะเอกสารทั้งสองนี้ถูกบรรจุให้เป็นเอกสารสำหรับการปักปันและสำรวจเขตแดน ทางบกตามเอ็มโอยู 2543 ด้วย ฉะนั้น จึงเท่ากับว่า เอ็ม โอยู 2543 ประกอบด้วยเอกสารที่ช่วยถ่วงดุลอำนาจในการต่อรองให้กับทั้งสองฝ่าย และนี่เป็นสิ่งที่ยืนยันว่าในพื้นที่ส่วนเขาดงรักนี้ หน่วยงานของไทยที่เกี่ยวข้องกับการเจรจาเรื่องเขตแดน ไม่ได้ยอมอ่อนข้อให้กับแผนที่ 1:200,000 และพยายามรักษาสิทธิของไทยเหนือพื้นที่ 4.6 ตร.กม.อย่างเหนียวแน่น พื้นที่ทับซ้อนนี้จึงยังคาราคาซังต่อไป

สำหรับรัฐที่ชาญฉลาดก็จะพยายามหาทางตกลงเพื่อสร้างประโยชน์จากผืนดินที่ เป็นข้อพิพาทนั้น ๆ หรืออย่างน้อยที่สุด ก็จะเก็บข้อพิพาทที่แก้ไขไม่ได้ ใส่ไว้ในลิ้นชักชั่วคราว แล้วหันไปจัดการกับส่วนอื่นก่อน คุยกันในเรื่องที่คุยกันได้ และก่อประโยชน์ให้กับทั้งสองฝ่าย ไม่ใช่เอาแต่ตั้งหน้าตั้งตายืนยันว่าต้องตัดสินเรื่องดินแดนเล็ก ๆ ตรงนี้ให้ได้ก่อน ไม่งั้น ห้ามทำเรื่องอื่น รบเป็นรบ ตายเป็นตาย (เพราะคนที่ตายกับที่คนที่เรียกร้อง เป็นคนละคนกัน)โดยไม่สนใจว่าจะทำให้ชีวิตด้านอื่น ๆ ของประเทศนี้เสียหายอย่างไรบ้าง

แต่กระแสคลั่งชาติในขณะนี้ไม่อนุญาตให้รัฐไทยและกัมพูชาเก็บเรื่องนี้ไว้ ในลิ้นชักอีกต่อไป แต่ต้องจัดการให้เด็ดขาดเรียบร้อย ผู้เขียนเชื่อว่าผู้คนส่วนใหญ่ในสังคมไทย ย่อมอยากให้เรื่องนี้เป็นที่ยุติโดยไม่ต้องพาประเทศเข้าสู่สงคราม ฉะนั้น เมื่อตัดสงครามออกไปแล้ว หนทางเดียวที่เหลืออยู่คือ ทั้งไทยและกัมพูชาต้องหันมาเจรจาเรื่องการพัฒนาร่วมพื้นที่รอบปราสาทพระ วิหารกันอย่างจริงจังเสียที

อันที่จริงแนวคิดที่จะให้มีการ บริหารจัดการร่วมพื้นที่โดยรอบปราสาทพระวิหารนี้เป็นสิ่งหน่วยราชการของไทย เองเป็นฝ่ายริเริ่มผลักดัน และสามารถเจรจาจนฝ่ายกัมพูชายอมรับในเวลาต่อมา การผลักดันนี้เกิดขึ้นตั้งแต่รบ.ทักษิณ-สุรยุทธ์-สมัคร (ดูบวรศักดิ์ อุวรรณโน, แฉเอกสารลับที่สุด ปราสาทพระวิหาร, น.254-261) แนวคิดบริหารจัดการร่วมนี้ น่าจะมาจากความคิดที่ว่า เมื่อกัมพูชาขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกแล้ว จะต้องมีผลกระทบกับพื้นที่ทับซ้อนที่ไทยอ้างสิทธิอยู่ด้วย ฉะนั้น วิธีปกป้องสิทธิของประเทศไทยพร้อม ๆ ไปกับรักษาความสัมพันธ์ที่ดีกับประเทศเพื่อนบ้านด้วย ก็คือเข้าไปมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการพื้นที่ร่วมกัน หากกัมพูชาทำอะไรที่ไทยเห็นว่าละเมิดสิทธิของไทย ก็จะสามารถทักท้วงได้ทันเวลา และแน่นอนว่าเมื่อความสัมพันธ์ระหว่างกันยังดีอยู่ อีกฝ่ายย่อมยินยอมฟังคำทักท้วงมากกว่า

แต่กระแสคลั่งชาติที่เกิดขึ้นทำให้แนวคิดนี้ต้องถูกพับเก็บใส่ลิ้นชัก ไม่มีหน่วยงานไหนกล้าพูดถึงอีก

ผลก็คือ ประเทศไทยในขณะนี้แทบไม่รู้เลยว่ากัมพูชาเดินหน้าพัฒนาพื้นที่โดยรอบปราสาท พระวิหารไปอย่างไรบ้าง ไทยไม่ได้เห็นแผนบริหารจัดการที่กัมพูชายื่นต่อคณะกรรมการมรดกโลก เขายื่นไปแล้ว เจ้าหน้าที่ไทยก็อ้างว่าไม่เคยเห็น ไม่เคยได้รับ เขาพิจารณารับรองกันไปเรียบร้อยแล้ว แต่ฝ่ายไทยยังหลงเชื่อว่าเขาเลื่อนการพิจารณาไปปีหน้า ก็เพราะเมื่อความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลกับรัฐบาลไม่ดี ก็ยากที่ไทยจะขอให้กัมพูชาส่งเอกสารให้ไทยดูเพื่อตรวจสอบก่อน แล้วพอเขาประชุมกรรมการมรดกโลกที เราก็ส่งทีมไปวิ่งล้อบบี้ให้เขาถอนอีก โดยไม่ตระหนักว่าคณะกรรมการมรดกโลกถือว่าแผนบริหารจัดการเป็นเอกสิทธิ์ของ รัฐที่เป็นเจ้าของมรดกโลกชิ้นนั้น ๆ ไม่เกี่ยวกับประเทศไทยในฐานะบุคคลที่สาม

สิ่งนี้ต่างกับยุคสมัยที่ความสัมพันธ์ไทย-กัมพูชายังดีอยู่ กล่าวคือ เมื่อครั้งที่กัมพูชายื่นขอจดทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกในปี พ.ศ.2550 ที่ไครซ์เชิร์ต นิวซีแลนด์ เจ้าหน้าที่ฝ่ายไทยพบว่าแผนที่ที่แนบไปกับการขอขี้นทะเบียน มีส่วนที่ล่วงล้ำเข้ามาในพื้นที่ทับซ้อน จึงทำเรื่องคัดค้านจนคณะกรรมการมรดกโลกมีมติให้เลื่อนการพิจารณาไปเป็นปี 2551 ซึ่งในช่วงหนึ่งปีก่อนจะถึงการประชุมในปี 2551 ฝ่ายกัมพูชายินยอมร่วมมือกับไทยเป็นอย่างดี ด้วยการตัดพื้นที่ทับซ้อนออกจากแผนที่แนบการขึ้นทะเบียน และยังส่งแผนที่ฉบับแก้ไขให้ไทยตรวจสอบก่อน จนกระทั่งหน่วยงานของไทย (กต., กรมแผนที่ทหาร, สมช.) ตรวจสอบจนพอใจและเห็นว่าไม่มีส่วนใดล่วงล้ำเข้ามาในพื้นที่ทับซ้อนที่ไทย อ้างสิทธิอยู่ (ดูบวรศักดิ์ น.264) แล้วจึงนำไปสู่การออกแถลงการณ์ร่วมไทย-กัมพูชารับรองการขึ้นทะเบียนปราสาท พระวิหารเป็นมรดกโลกที่ลงนามโดยนายนพดล ปัทมะนั่นเอง

แต่ในขณะนั้นกระแสชาตินิยมและต่อต้านทักษิณมาแรงจนบดบังข้อเท็จจริงจนหมด สิ้น เราตั้งหน้าตั้งตาค้านการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารของกัมพูชาอย่างไม่ลืมหู ลืมตา นายอภิสิทธิ์ หัวหน้าพรรคฝ่ายค้านในขณะนั้นก็กระโดดเข้าสู่กระแสนี้ด้วย และเมื่อมาเป็นหัวหน้ารัฐบาลก็ยังเรียกร้องให้คณะกรรมการมรดกโลกถอนปราสาท พระวิหารออกจากมรดกโลก และคัดค้านแผนบริหารจัดการ (ทั้ง ๆ ที่ยังไม่เห็นเนื้อหาของตัวแผน) แถมยังไปตกปากรับคำกับกลุ่มพันธมิตรฯว่ารัฐบาลของตนจะไม่ยอมให้มีการพัฒนา ร่วมพื้นที่รอบประสาทพระวิหารอีก

จนกระทั่งเมื่อวานนี้ นายอภิสิทธิ์ก็ยังละเมอว่า ควรชะลอการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารทั้ง ๆ ที่เขาขึ้นไปตั้งแต่กรกฎาคม 2551 แล้ว

จุดยืนเหล่านี้ของนายอภิสิทธิ์คืออุปสรรคสำคัญของการแก้ไขปัญหาเขตแดนด้วยสันติวิธีที่นายอภิสิทธิ์มักอ้างถึงอยู่เสมอ

สิ่งที่เราต้องตระหนักก็ คือ โอกาสที่คณะกรรมการมรดกโลกจะถอดถอนปราสาทพระวิหารออกจากมรดกโลกนั้นเท่ากับ ศูนย์ แม้แต่มรดกโลกหลายแห่งที่ติดรายชื่อ อยู่ในภาวะอันตรายมาหลายปี เพราะสภาพทรุดโทรมเต็มที ก็ยังไม่ถูกถอด ขนาดพระพุทธรูปขนาดใหญ่ที่ Bamiyan ที่ถูกพวกตอลีบันระเบิดทำลายจนหมดสภาพ เขาก็ยังไม่ถอดออกจากมรดกโลกเลย เพราะเขาตระหนักว่ามรดกโลก คือ เกียรติยศ ศักดิ์ศรี ความภาคภูมิใจของผู้คนในประเทศนั้น การถอดถอนย่อมส่งผลกระทบทางจิตใจอย่างรุนแรง ลองจินตนาการดูว่าถ้าอยุธยาถูกถอดจากมรดกโลก คนไทยจะรู้สึกโกรธแค้นเพียงใด และควรลองจินตนาการต่อด้วยว่า คนกัมพูชารู้สึกอย่างไรเมื่อคนไทยพยายามทำให้มรดกโลกของเขาถูกถอดถอน

ฉะนั้น หากนายอภิสิทธิ์มีจุดยืนที่จะแก้ไขปัญหานี้ด้วยสันติวิธีจริงๆ (ไม่ใช่แบบที่ปฏิบัติกับการชุมนุมของคนเสื้อแดง) ก็จำเป็นต้องทบทวนจุดยืนที่จะให้มีการถอดถอนปราสาทพระวิหารออกจากมรดกโลก เพราะจุดยืนนี้คืออุปสรรคเบื้องต้นของการแก้ปัญหาความสัมพันธ์กับกัมพูชา และถ้าความสัมพันธ์ไม่ดี ก็ไม่มีทางที่จะก้าวไปสู่การเจรจาเรื่องพื้นที่ทับซ้อนด้วยสันติวิธีได้เลย

http://prachatai.com/journal/2011/02/32976

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น