สนับสนุนการทำกิจกรรม ส่งเสริมประชาธิปไตยของชาวเชียงใหม่ ร่วมกับศูนย์ประสานงานกลาง นปช.แดงเชียงใหม่

ชื่อบัญชี นปช.แดงเชียงใหม่ ธนาคารออมสิน เลขที่บัญชี 02 0012142 65 7 ( มีผู้รับผิดชอบบัญชี 3 ท่าน )

ติดต่อเรา deangchiangmai@gmail.com

ราบสวัสดี พี่น้องทุกๆท่านที่เข้ามาเยี่ยมเยือน บล็อค นปช.แดงเชียงใหม่ ขอเรียนชี้แจงสักนิดว่า เรา ”แดงเจียงใหม่” เป็นกลุ่มคนชาวเจียงใหม่ที่เคารพรัก กติกาประชาธิปไตย ต่อสู้และต่อต้านเผด็จการทุกรูปแบบ อยากเห็นประเทศชาติภายภาคหน้า มีความเจริญ ประชาชนรุ่นลูกหลานของเราอยู่อาศัยอย่างร่มเย็นเป็นสุขในประเทศของพวกเราเอง ไม่มีกลุ่มอภิสิทธิ์ชนกลุ่มใดมาสูบเลือดเนื้อ แอบอ้างบุญคุณเฉกเช่นในยุคนี้ที่พวกเราเห็น การที่จะได้รับในสิ่งที่มุ่งหวังก็ต้องมีการต่อสู้แสดงกำลังให้สังคมได้รับรู้ และเพื่อที่จะให้กลุ่มบุคคลที่มีอำนาจในปัจจุบันได้เข้าใจในสังคมที่ก้าวหน้าเปลี่ยนแปลงไป ไม่อาจฝืนต่อกระแสการพัฒนาของโลก การต่อสู้ร่วมกับผองชนทั่วประเทศในครั้งนี้ เรา “ แดงเจียงใหม่ “ ได้ร่วมต่อสู้ทุกรูปแบบ และในรูปแบบที่ท่านได้เข้ามาร่วมอยู่นี้ คือการเผยแพร่ข่าวสารต่อสังคม เรา “ แดงเจียงใหม่ “ ได้สร้างเวปบล็อคไว้ 2 ที่ คือที่นี่ “ แดงเจียงใหม่” สำหรับการบอกกล่าวในเรื่องทั่วไป และอีกที่หนึ่งคือ “ Daeng ChiangMai “ สำหรับข่าวสารที่เราเห็นว่ามีประโยชน์ต่อการรับรู้ข่าวสารในการร่วมทำกิจกรรมของพี่น้องประชาชน


เชิญร่วมสร้างขวัญ และกำลังใจให้เพื่อนพ้องน้องพี่ร่วมกันครับ
“แดงเจียงใหม่” " Daeng ChiangMai "

รักประชาธิปไตยไม่เอาเผด็จการ ต่อต้านการรัฐประหารทุกรูปแบบ สร้างขวัญกำลังใจและความสุขเพื่อปวงชน

การสังหารหมู่ที่กรุงเทพฯ : สมุดปกขาวโดยสำนักกฎหมาย Amsterdam & Peroff การสังหารหมู่ที่กรุงเทพฯ . ไพร่สู้บนเส้นทาง ๗๘ ปี ประชาธิปไตย ( ๒๔๗๕ - ๒๕๕๓ ) จรรยา ยิ้มประเสริฐ Voter's Uprising Thai

วันจันทร์ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

เสวนา ไทย อินโด มาเลย์: เผยประสบการณ์สื่ออินเทอร์เน็ตถูกปิดกั้น


Fri, 2011-02-18 02:01


เสรีภาพอินเทอร์เน็ตไทยเข้าขั้นเลวร้าย ตัวกลางถูกกดดัน อินโดนีเซีย เผชิญกลุ่มเคร่งศาสนา มาเลเซียเจอสารพัดกฎหมายควบคุมสื่อ


17 ก.พ.54 ศูนย์นโยบายสื่อมวลชนไทย คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาฯ ร่วมกับเครือข่ายพลเมืองเน็ต และซีป้า (Southeast Asia Press Alliance – SEAPA) จัดเสวนา เสรีภาพอินเทอร์เน็ตในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้: แนวคิดใหม่ อุปสรรคใหม่ (A Public Forum on Internet Freedom in Southeast Asia: New Frontier, New Barrier)” ที่ห้อง 210 ตึกมหาจุฬาลงกรณ์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

สุภิญญา กลางณรงค์, สตีเวน กัน บรรณาธิการบริหารมาเลเซียกินี และเมกิ มาจิออโน เจ้าหน้าที่พันธมิตรสื่อเสรี (AIJ) ร่วมอภิปรายหัวข้อการเมืองดิจิตอลทศวรรษหน้า : การปิดกั้นอินเทอร์เน็ตและเสรีภาพในการแสดงความเห็น (Southeast Asia’s Digital Politics in next Decade : Implications for Internet Censorship and Freedom of Expression)”


สุภิญญา กลางณรงค์
คณะกรรมการรณรงค์เพื่อการปฏิรูปสื่อ (คปส.)


ตั้งแต่ปี 2549 เป็นต้นมา มีการปิดกั้นเว็บไซต์เป็นจำนวนมาก รวมทั้งมีการปิดกั้นเว็บไซต์ YouTube.com เป็นเวลานาน และช่วงปีที่ผ่านมามีการใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ส่งผลให้เสรีภาพอินเทอร์เน็ตไทยเลวร้ายลงกว่าปี 2549 ที่มีการใช้กฎอัยการศึกทั่วประเทศ


ทางการปิดกั้นเว็บไซต์โดยไม่รอคำสั่งจากศาล พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ซึ่งเร่งออกโดยสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ก็เป็นกฎหมายที่ไม่สมบูรณ์ เมื่อบังคับใช้จึงเห็นความผิดพลาด และความไม่ชัดเจน

โดยปรกติการปิดกั้นเว็บไซต์ในประเทศไทยต้องขอคำสั่งจากศาล แต่งานวิจัยพบว่า มีการปิดกั้นยูอาร์แอลกว่า 70,000 ยูอาร์แอล โดยไม่มีคำสั่งจากศาลแต่ใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน และกระทรวงเทคโนโลยีและสารสนเทศ (ไอซีที) มีคำสั่งให้จับตาตัวแทนผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (ISP) จำนวน 125 ราย ซึ่งให้บริการในประเทศไทย


ขณะที่ ISP ร้องเรียนว่าไม่มีแนวปฏิบัติที่ชัดเจนว่าจะปิดกั้นเว็บไซต์ใด แต่ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ กลับลงโทษผู้ให้บริการ ตัวอย่างเช่น กรณีของจีรนุช เปรมชัยพร ผู้อำนวยการเว็บไซต์ประชาไท ซึ่งเสี่ยงต่อการติดคุก 50 ปี จากการนับจำนวนยูอาร์แอลที่ถูกกำหนดโทษ คดีของประชาไทจึงบ่งชี้อนาคตได้ว่า ISP จะต้องรับผิดชอบมากน้อยเพียงใด ซึ่ง ISP เป็นเพียงตัวกลางที่ให้ข้อมูลข่าวสารไหลผ่าน เปรียบเหมือนคนส่งจดหมาย

เมื่อ ISP หรือตัวกลางเจออุปสรรคเช่นนี้ อาจตัดสินใจลดความเสี่ยงโดยการปิดตัวเอง ซึ่งในขณะที่ประชาไทเปิดเวทีให้ประชาชนได้แสดงออกซึ่งความคิดเห็น เว็บบอร์ดอื่นๆ กลับปิดตัวลง


การควบคุมเนื้อหาทางอินเทอร์เน็ต ควรมีมาตรฐานบางอย่างที่ประนีประนอม ซึ่งไม่ได้หมายความว่า ISP ไม่ต้องมีความรับผิดชอบ แต่อาจใช้วิธีการสอดส่องกันเองแทนการตื่นตระหนกของรัฐบาลและการลงโทษอย่าง รุนแรง ประเทศไทยผ่านวิกฤติมาหลายครั้ง การที่ผู้คนได้แสดงความคิดเห็นเพื่อระบายความในใจ จะทำให้รู้สึกดีขึ้นในภาวะที่เกิดวิกฤติ


การที่รัฐบาลวิตกกังวลต่อการที่มีผู้แสดงความคิดเห็นทางอินเทอร์เน็ตเป็น จำนวนมาก ว่าจะกระทบต่อความมั่นคง ปีที่แล้วมีผู้แสดงความคิดเห็นในอินเทอร์เน็ตเป็นจำนวนมาก และส่วนใหญ่เป็นการคัดค้านการยุบสภาตามข้อเรียกร้องของ นปช. ผู้ที่ใช้อินเทอร์เน็ตส่วนใหญ่เป็นชนชั้นกลางที่สนับสนุนรัฐบาล เหตุใดรัฐบาลจึงเกิดความกลัว


รัฐบาลควรเปลี่ยนนโยบายเสียใหม่ เพราะการปิดกั้นนั้นไม่ได้ผล ประเทศไทยกำลังจะเปลี่ยนผ่าน หลายฝ่ายตื่นตระหนกง่าย จึงเกิดปฏิกิริยาสุดโต่ง ทำให้เกิดการต่อสู้กันระหว่างขั้วต่างๆ ถ้ามองจากมุมของรัฐบาล อาจจะไม่ง่ายที่จะวางกรอบของเสรีภาพอินเทอร์เน็ต ขั้วของฝ่ายอำนาจนิยมอาจโจมตีรัฐบาลว่าไม่ปิดเว็บไซต์ และหากรัฐบาลปิดกั้นเว็บไซต์ก็อาจมีแรงต้านจากขั้วเสรีนิยมที่มีจำนวนมาก ขึ้นทุกที ซึ่งไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะคนรุ่นใหม่


ทิศทางข้างหน้า ประเทศไทยกำลังเดินมาถึงทางแยก วันหนึ่งหากมีคนเข้าถึงอินเทอร์เน็ตมากขึ้น ในอนาคตอันใกล้เราไม่สามารถยับยั้งการใช้อินเทอร์เน็ตได้ และปัจจุบันมีคนใช้โซเชียลมีเดียมากขึ้น ที่สุดแล้วรัฐบาลไทยจะเดินนโยบายตามแบบรัฐบาลจีน หรือใช้รูปแบบที่ยืดหยุ่นตามแบบของประเทศประชาธิปไตย

ประเทศไทยอยู่ในจุดที่ไม่สามารถถอยหลังกลับได้แล้ว ฮิลลารี่ คลินตัน กล่าวว่า อินเทอร์เน็ตไม่ได้ทำอะไร แต่การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นโดยคน อินเทอร์เน็ตคือการเชื่อมโยงให้เข้าถึงกัน วัฒนธรรมอินเทอร์เน็ตคือการแบ่งปัน ยิ่งแบ่งปันมากข้อมูลข่าวสารก็แพร่กระจายไปได้มาก


ขอให้รัฐบาลไทยโชคดี และฉลาดพอที่จะทำเรื่องนี้ และสามารถผ่านเรื่องนี้ไปได้ ที่สุดแล้วประเทศไทยน่าจะพบทางของตัวเอง และเป็นตัวอย่างของภูมิภาคนี้

เมกิ มาจิออโน (Megi Margiono)
เจ้าหน้าที่ฝ่ายรณรงค์ พันธมิตรสื่อเสรี (Advocacy Officer, Alliance of Independent Journalist -AIJ)


ผมอยากแบ่งปันประสบการณ์ของอินโดนีเซีย เราไม่ได้เจออุปสรรคเฉพาะแต่รัฐบาล เรายังเจอกลุ่มอนุรักษ์นิยมทางศาสนา ซึ่งเรียกร้องให้รัฐบาลควบคุมอินเทอร์เน็ตมากขึ้น


รัฐบาลจะเซ็นเซอร์ภาพลามกอนาจารบนอินเทอร์เน็ตและดูแลอย่างใกล้ชิดเพื่อ คุ้มครองเด็ก ซึ่งความจริงแล้วจำนวนการใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อดูภาพลามกมีอยู่ไม่มาก คนส่วนใหญ่ใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อติดตามข่าวสาร และเพื่อใช้เฟซบุ๊ก ดังนั้นความตื่นตระหนกของรัฐบาลต่อการใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อดูภาพลามกจึงเป็น เรื่องไม่จริง


10 ปีที่ผ่านมานี้ ผู้คนหันมาสนใจข่าวสารบ้านเมืองมากขึ้น แต่กลุ่มเคร่งศาสนายังคงข้ออ้างเดิมๆ คือภาพลามกอนาจารอยู่ตลอดเวลา


ปีที่แล้วมีเหตุการณ์เจ้าหน้าที่ ปปช. 2 คนโดนตำรวจจับกุมและตั้งข้อหาทุจริต มีผู้ใช้เฟซบุ๊กกว่า 1 ล้านเรียกร้องให้ปล่อยตัวเจ้าหน้าที่ทั้งสองคน อีกกรณีหนึ่ง ผู้หญิงคนหนึ่งถูกโรงพยาบาลเรียกค่าปรับเป็นเงินจำนวนสูงมาก มีการรณรงค์บนอินเทอร์เน็ตเพื่อขอบริจาคเงินเหรียญ ปรากฏว่าจำนวนเงินที่ได้รับบริจาคมามีจำนวนสูงกว่าค่าปรับของโรงพยาบาลมาก


กระทรวงไอซีทีของอินโดนีเซีย เสนอกฎหมายควบคุมเว็บไซต์ลามกและการดูหมิ่นศาสนา มีการตั้งกลุ่มรณรงค์บนเฟซบุ๊ก เพื่อต่อต้านกฎหมายฉบับนี้ มีผลทำให้รัฐบาลยอมเลื่อนการออกกฎหมายฉบับนี้ออกไป

รัฐมนตรีไอซีทีซึ่งมาจากพรรคอนุรักษ์นิยมบอกว่า มีเว็บไซต์ลามกอนาจารมากกว่า 1 พันล้านหน้า และยังมีเว็บไซต์ที่มีเนื้อหาลบหลู่ศาสนา จึงจำเป็นต้องมีการควบคุม


กลุ่มเคร่งศาสนาบอกว่ารัฐบาลควรเซ็นเซอร์ภาพลามก เนื่องจากเป็นอันตรายยิ่งกว่าลูกระเบิดเสียอีก และยังบอกว่าเฟซบุ๊กเป็นสิ่งต้องห้ามตามกฎหมายอิสลาม เพราะทำให้คนประพฤติผิดศีลธรรม และมีผู้ใช้เฟซบุ๊กเป็นช่องทางในการขายบริการทางเพศ รวมไปถึงบอกว่าอเมริกาใช้อินเทอร์เน็ตในการรุกรานทางวัฒนธรรม และอินเทอร์เน็ตเป็นเครื่องมือของ CIA ในการคุกคามอิสลาม


อีกมุมหนึ่งของอินโดนีเซีย มีการเรียกร้องเสรีภาพบนอินเทอร์เน็ต เช่น กลุ่มสื่อมวลชน เพราะอินเทอร์เน็ตเป็นเครื่องมือในการแสดงออกถึงเสรีภาพ โดยไม่ต้องการการควบคุม ในภาคธุรกิจเกี่ยวกับ ISP บอกว่าต้องลงทุนสูงมากเพื่อกรองข้อมูลซึ่งจะทำให้ต้นทุนของพวกเขาสูงขึ้น ส่วนเอ็นจีโอบอกว่าการกรองข้อมูลนั้นจะไม่ได้ผลและให้ผลไม่คุ้ม กลุ่มสิทธิมนุษยชนบอกว่า อินเทอร์เน็ตเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชนในการได้รับข้อมูลข่าวสาร


กฎหมายควบคุมอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ มีบทลงโทษรุนแรง กำหนดโทษจำคุก 6 ปี และหากเป็นการลบหลู่ศาสนาอาจมีโทษจำคุกถึง 16 ปี ในอินโดนีเซีย การเขียนข้อความยั่วยุให้คนเกลียดชัง อาจมีโทษทางอาญา และเรามีกฎหมายกำหนดให้มีการกรองข้อมูลอินเทอร์เน็ต และมีกฎหมายลักษณะเดียวกับ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ของไทย ซึ่งมีโทษหนักมากกับการก่ออาชญากรรมคอมพิวเตอร์


นักข่าวใช้อินเทอร์เน็ตในการส่งข่าวสาร และอินเทอร์เน็ตเป็นช่องทางในการรณรงค์ทางสังคมต่างๆ ตามความเห็นของผม อินเทอร์เน็ตไม่ได้มีพลังอำนาจอะไร แต่ผู้ที่ใช้มันคือประชาชน เพราะฉะนั้นเราจึงต้องเพิ่มอำนาจให้กับประชาชน


สตีเวน กัน (Steven Gan)
บรรณาธิการบริหารหนังสือพิมพ์มาเลเซียกินี (Editor in Chief Malaysiakini.com)


เราเริ่มทำมาเลเซียกินี ปี 1999 (พ.ศ.2542) มีนักข่าว 4 คน ถึงตอนนี้เรามีนักข่าว 15 คน และเสนอข่าวเป็น 4 ภาษา เพราะเรามีหลากหลายชาติพันธุ์ มาเลเซียกินีมีลักษณะค่อนข้างพิเศษคือ ผู้อ่านต้องจ่ายค่าสมาชิกปีละประมาณ 1,500 บาท เพื่อเข้ามาอ่านข่าว


ในมาเลเซีย มีการควบคุมสื่ออยู่ 2 ระดับ คือ การใช้กฎหมายอย่างเข้มงวด และการเป็นเจ้าของสื่อ

การเป็นเจ้าของสื่อ เป็นประเด็นที่สำคัญมากในมาเลเซีย เพราะเรามีสื่อกระแสหลักที่พรรคการเมืองเป็นเจ้าของและเป็นผู้ควบคุม การมีสื่อต้องมีใบอนุญาต ซึ่งรัฐบาลจะเป็นผู้ออกให้แบบปีต่อปี แต่การใช้กฎหมายต่อไปนี้ทำให้การควบคุมสื่อมีประสิทธิภาพมากกว่า


กฎหมายความลับทางราชการ เป็นกฎหมายที่โบราณมาก ทำให้รัฐบาลขาดความโปร่งใส ในสมัยนายกฯ มหาเธร์ ได้แก้กฎหมายให้มีโทษจำคุกไม่ต่ำกว่า 1 ปีโดยไม่สามารถจ่ายเป็นเงินค่าปรับได้ ทำให้สื่อทำงานได้ยากลำบากมาก เพราะเอกสารราชการมีแต่ตราประทับเอกสารลับ


กฎหมายความมั่นคงภายใน ให้อำนาจทางการจับกุมคุมขังใครก็ได้นาน 2 ปี และสามารถคุมขังต่อไปได้เรื่อยๆ ไม่มีข้อจำกัด


การหมิ่นศาล หรือการดูหมิ่น ไม่นานมานี้มีกฎหมาย 35 ฉบับที่ปิดกั้นเสรีภาพสื่อ รัฐเป็นผู้ผูกขาดความจริงผู้เดียว จนกระทั่งมหาเธร์เปิดพื้นที่ไซเบอร์ขึ้นและให้สัญญาว่าจะไม่มีการปิดกั้นอิน เทอร์เน็ต สิ่งเดียวที่ผมสนับสนุนมหาเธร์คือเรื่องนี้ มาเลเซียกินีจึงฉกฉวยโอกาสโดยใช้ช่องทางนี้ในการตั้งสื่ออินเทอร์เน็ต ซึ่งไม่ต้องมีใบอนุญาต และสามารถตั้งตัวเองเป็น content provider แต่รัฐบาลก็สามารถใช้กฎหมายอื่นๆ เช่น กฎหมายความมั่นคง ซึ่งมีมาตั้งแต่ 1948 โดยใครยุยงปลุกปั่นให้เกิดความแตกแยกระหว่างชาติพันธุ์ต่างๆ หรือการตั้งคำถามหรือการดูหมิ่นภูมิบุตราจะถูกกฎหมายนี้เล่นงาน


10 ปีมานี้ เราถูกคุกคาม 2 ครั้ง ครั้งแรกปี 2003 จากการนำเสนอจดหมายของผู้อ่าน ซึ่งเขียนล้อเลียน UMNO Youth ทำให้ตำรวจบุกมาที่สำนักงานของเรา สิ่งแรกที่ตำรวจทำคือ ให้ทุกคนถอยออกมาจากคอมพิวเตอร์ ห้ามแตะต้องคอมพิวเตอร์ และตำรวจต้องการรู้อีเมลของผู้ที่เขียนจดหมายฉบับนั้น ซึ่งเราบอกว่าให้ไม่ได้เพราะเราสัญญาว่าจะปกป้องผู้เขียน แม้เขาจะใช้ชื่อปลอมก็ตาม เพราะเนื้อหาสำคัญกว่าตัวผู้เขียน เรายืนกรานกับตำรวจว่าจะไม่ให้ชื่อผู้เขียนอย่างเด็ดขาด ตำรวจจึงยึดเอาคอมพิวเตอร์ไปทั้งหมด

ตำรวจที่มาเป็นเจ้าหน้าที่ระดับล่าง ไม่มีความรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์เลย ทีแรกเขาจะเอาจอไปด้วย และให้นักข่าวเขียนชื่อลงบน CPU เครื่องที่แต่ละคนใช้ ขณะนั้นเป็นเวลาบ่ายโมงและมีฝนตก ตำรวจใช้เวลาอยู่ประมาณ 4 ชั่วโมง เราจึงมีเวลาโทรเรียกเพื่อนนักข่าวมาทำข่าวให้ จากนั้น 5 โมงเย็นเราก็จัดแถลงข่าว ค่ำวันนั้น จากการสื่อสารกันโดยเอสเอ็มเอส มีการชุมนุมประท้วงและมีพรรคฝ่ายค้าน ภรรยานายอันวา อิบราฮิม มาให้กำลังใจกับมาเลเซียกินี ด้วย ปรกติตำรวจจะไม่ยอมให้มีการประท้วง แต่น่าแปลกใจที่เขาอนุญาต ต่อมาเราก็ได้คอมพิวเตอร์คืน และ 2 ปีต่อมาก็มีการถอนข้อหาทั้งหมด


มาเลเซียกินี เคยรายงานข่าวการประท้วงของชาวมุสลิมต่อชาวฮินดู ซึ่งไปสร้างวัดฮินดูในพื้นที่ของอิสลาม เรานำเสนอภาพวิดีโอของการนำหัววัวมาใช้ในการประท้วง ซึ่งทำให้ชาวฮินดูไม่พอใจมาเลเซียกินีอย่างมาก รัฐบาลมีคำสั่งให้ถอดวิดีโอนั้นออกไป แต่เราไม่ยอม เพราะเป็นการนำเสนอข้อเท็จจริง


รัฐบาลมีความพยายามจะให้สื่อออนไลน์ หรือบล็อกเกอร์ต้องขอใบอนุญาต ซึ่งเป็นการจำกัดเสรีภาพของเรา ยังมีกฎหมายอีกฉบับหนึ่งซึ่งรัฐบาลกำลังเตรียมการอยู่ และเราจะทำการต่อต้านต่อไป

หมายเหตุ : การเสวนาในหัวข้อ “Internet Politics : Lesson learnt from Egypt to Prachatai.com” ประชาไทจะนำเสนอในตอนต่อไป


http://prachatai.com/journal/2011/02/33174

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น