สนับสนุนการทำกิจกรรม ส่งเสริมประชาธิปไตยของชาวเชียงใหม่ ร่วมกับศูนย์ประสานงานกลาง นปช.แดงเชียงใหม่

ชื่อบัญชี นปช.แดงเชียงใหม่ ธนาคารออมสิน เลขที่บัญชี 02 0012142 65 7 ( มีผู้รับผิดชอบบัญชี 3 ท่าน )

ติดต่อเรา deangchiangmai@gmail.com

ราบสวัสดี พี่น้องทุกๆท่านที่เข้ามาเยี่ยมเยือน บล็อค นปช.แดงเชียงใหม่ ขอเรียนชี้แจงสักนิดว่า เรา ”แดงเจียงใหม่” เป็นกลุ่มคนชาวเจียงใหม่ที่เคารพรัก กติกาประชาธิปไตย ต่อสู้และต่อต้านเผด็จการทุกรูปแบบ อยากเห็นประเทศชาติภายภาคหน้า มีความเจริญ ประชาชนรุ่นลูกหลานของเราอยู่อาศัยอย่างร่มเย็นเป็นสุขในประเทศของพวกเราเอง ไม่มีกลุ่มอภิสิทธิ์ชนกลุ่มใดมาสูบเลือดเนื้อ แอบอ้างบุญคุณเฉกเช่นในยุคนี้ที่พวกเราเห็น การที่จะได้รับในสิ่งที่มุ่งหวังก็ต้องมีการต่อสู้แสดงกำลังให้สังคมได้รับรู้ และเพื่อที่จะให้กลุ่มบุคคลที่มีอำนาจในปัจจุบันได้เข้าใจในสังคมที่ก้าวหน้าเปลี่ยนแปลงไป ไม่อาจฝืนต่อกระแสการพัฒนาของโลก การต่อสู้ร่วมกับผองชนทั่วประเทศในครั้งนี้ เรา “ แดงเจียงใหม่ “ ได้ร่วมต่อสู้ทุกรูปแบบ และในรูปแบบที่ท่านได้เข้ามาร่วมอยู่นี้ คือการเผยแพร่ข่าวสารต่อสังคม เรา “ แดงเจียงใหม่ “ ได้สร้างเวปบล็อคไว้ 2 ที่ คือที่นี่ “ แดงเจียงใหม่” สำหรับการบอกกล่าวในเรื่องทั่วไป และอีกที่หนึ่งคือ “ Daeng ChiangMai “ สำหรับข่าวสารที่เราเห็นว่ามีประโยชน์ต่อการรับรู้ข่าวสารในการร่วมทำกิจกรรมของพี่น้องประชาชน


เชิญร่วมสร้างขวัญ และกำลังใจให้เพื่อนพ้องน้องพี่ร่วมกันครับ
“แดงเจียงใหม่” " Daeng ChiangMai "

รักประชาธิปไตยไม่เอาเผด็จการ ต่อต้านการรัฐประหารทุกรูปแบบ สร้างขวัญกำลังใจและความสุขเพื่อปวงชน

การสังหารหมู่ที่กรุงเทพฯ : สมุดปกขาวโดยสำนักกฎหมาย Amsterdam & Peroff การสังหารหมู่ที่กรุงเทพฯ . ไพร่สู้บนเส้นทาง ๗๘ ปี ประชาธิปไตย ( ๒๔๗๕ - ๒๕๕๓ ) จรรยา ยิ้มประเสริฐ Voter's Uprising Thai

วันพุธที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2553

เจงกีสข่าน : บทเรียนกลยุทธ์สำหรับการแข่งขันชิงชัยในศตวรรษที่ 21

เจงกีสข่าน : บทเรียนกลยุทธ์สำหรับการแข่งขันชิงชัยในศตวรรษที่ 21
June 8, 2010

เหตุใดชาวมองโกลก่อนหน้ายุคสมัย “เจงกีสข่าน” จึงเป็นเพียงชนเผ่าเล็กๆในท้องทะเลทรายที่แทบไม่มีบทบาทใดๆในประวัติศาสตร์ โลก และภายหลังเจงกีสข่านไปเพียง 150 ปี ชาวมองโกลก็ต้องกลับไปยากจนหลบมุมในท้องทะเลทรายประดุจเดิม

“กลยุทธ์” คือ ปัจจัยสำคัญที่ทำให้เจงกีสข่านเป็นผู้นำเผ่ามองโกลที่โดดเด่นและแตกต่างจาก คนอื่น เพราะหากไม่มีการวางแผนสงครามที่ชาญฉลาดแล้ว พละกำลังและความเหี้ยมโหดของชาวมองโลกก็ย่อมเป็นสิ่งที่ไร้ค่า ดังที่ประวัติศาสตร์ยุคก่อนและหลังเจงกีสข่านได้พิสูจน์ให้เห็นแล้ว

1. จังหวะเวลาและการใช้ “จุดแข็ง” ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
“เร็ว” เป็นจุดเด่นที่สุดของทหารม้ามองโกล
แต่สิ่งที่ทำให้เจงกีสข่านแตกต่างจากจอมทัพมองโกลคนอื่นก็คือ การรู้จัก “ช้า” เพื่อรอคอยจังหวะที่เหมาะสม
หากเจอศัตรูที่เข้มแข็งกว่าหรือสมรภูมิที่ทหารมองโกลไม่ถนัด เช่น กำแพงเมืองสูงชัน เจงกีสข่านก็มีวิธีหลบเลี่ยงจุดแข็งของศัตรู โดยไม่รีบร้อนที่จะปะทะแตกหักอย่างตรงไปตรงมา หลังจากนั้นจึงใช้กลยุทธ์หลอกล่อหรือสงครามจิตวิทยา เพื่อให้จุดอ่อนของศัตรูเปิดเผยออกมา แล้วจึงใช้ทัพม้าที่เป็นจุดแข็งของมองโกลโจมตีอย่างต่อเนื่องจนกระทั่งศัตรู ตั้งตัวไม่ติดและต้องพ่ายแพ้ในท้ายที่สุด

2. ลงทุนในการแสวงหาและวิเคราะห์ข่าวสารข้อมูล
สำหรับชนเผ่ามองโกลที่ด้อยอารยธรรม ย่อมเป็นเรื่องน่าทึ่งที่ผู้นำซึ่งไม่รู้หนังสืออย่างเจงกีสข่านนั้นจะเป็น นักรบที่แสวงหาข้อมูลข่าวสารของข้าศึกอย่างเป็นระบบและรวดเร็วที่สุด
เริ่มจากการส่งคนปลอมตัวเป็นพ่อค้าไปสืบข่าวในเมืองของข้าศึกจนกระทั่งจัด สร้างศูนย์กลางข่าวสารข้อมูลตลอดอาณาจักรอันไพศาล เพื่อให้ข้อมูลจากระยะทางไกลนับพันกิโลเมตรสามารถมาถึงมือผู้บริหารได้ภายใน เวลาไม่เกิน 10 วัน

ในยุคโลกาภิวัตน์ศตวรรษที่ 21 ซึ่งข้อมูลข่าวสารสามารถแพร่กระจายอย่างรวดเร็วผ่านระบบอินเทอร์เน็ต วิธีการของเจงกีสข่านอาจเป็นสิ่งที่ล้าสมัยไปแล้ว แต่กระนั้น การลงทุนด้านข้อมูลข่าวสารก็ยังเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง แต่อาจต้องปรับรูปแบบไปสู่การแสวงหาข่าวสารเชิงลึกที่มีคุณภาพสูง ที่ทำให้องค์กรของเราสามารถนำข้อมูลที่เหนือกว่ามาใช้กำหนดกลยุทธ์อย่างพลิก แพลงเพื่อพิชิตคู่แข่งที่อาจมีพละกำลังและเงินทุนที่เหนือกว่าได้

3. จัดสรรทรัพยากรอย่างยุติธรรม เพื่อดึงดูด “คนเก่ง” จากทั่วสารทิศ
การแสวงหาคนเก่ง ได้กลายเป็นวลีฮิตที่ใช้กันอย่างฟุ่มเฟือยในยุคปัจจุบัน แต่สิ่งที่องค์กรส่วนใหญ่ลืมนึกถึงก็คือ จิตใจที่กล้าหาญในการมอบ “ผลประโยชน์” ที่ดีที่สุด ให้กับบุคลากรที่เก่งที่สุด
การที่เจงกีสข่านมีแม่ทัพที่เก่งกล้าสามารถเข้ามาสวามิภักดิ์อย่างไม่ขาดสาย นั้น ก็เนื่องจากชื่อเสียงในเรื่องการแบ่งสรรผลประโยชน์จากการทำศึกให้กับลูกน้อง อย่างยุติธรรมตามผลงานที่แต่ละคนกระทำได้
การเติบโตอย่างยิ่งใหญ่ของธุรกิจอเมริกา ไม่ได้มาจากจำนวนคนเก่งที่มากกว่าชนชาติอื่น แต่มาจากจิตใจที่ยิ่งใหญ่แบบเจงกีสข่านที่กล้าแบ่งปันผลประโยชน์กับลูกน้อง อย่างยุติธรรม เพราะยังมีดินแดนและผลประโยชน์อีกมากมายที่รอคอยให้พวกเขาเข้าไปช่วงชิงมา

4. การทำลายอย่างสร้างสรรค์ (Creative Destruction)
ประเด็นที่นักประวัติศาสตร์โจมตีชนเผ่ามองโกลในสมัยเจงกีสข่านและลูก หลานอย่างถึงที่สุดก็คือ การทำลายล้างประชากรในดินแดนของศัตรูอย่างโหดเหี้ยม

แต่สิ่งที่น่าสนใจก็คือ เหตุผลที่อยู่เบื้องหลังพฤติกรรมป่าเถื่อนของชนเผ่ามองโกล

หากวัดตามมาตรฐานของอารยธรรมเกษตรในยุคนั้นหรืออุตสาหกรรมในยุคนี้ ชนเผ่ามองโกลย่อมเป็นชนชาติที่กระหายเลือด แต่หากลองนึกถึงสภาพแวดล้อมที่โหดร้ายซึ่งเต็มไปด้วยภัยธรรมชาติและสิงสารา สัตว์อันดุร้ายที่หล่อหลอมชนเผ่ามองโกลขึ้นมาแล้ว ก็อาจทำให้เรารู้สึกเข้าใจและลดคำตำหนิชาวมองโกลลงได้บ้างไม่มากก็น้อย

อย่างไรก็ตาม การทำลายล้างผู้แพ้อย่างโหดเหี้ยมของเจงกีสข่านนั้น ยังมีเหตุผลที่ลึกซึ้งกว่านิสัยที่ติดตัวมาจากสภาพแวดล้อมที่โหดร้ายของชาว มองโกล แน่นอนว่า ส่วนหนึ่งย่อมเป็นตัวอย่างให้ศัตรูในเมืองอื่นเกิดความหวาดกลัวและยอมแพ้โดย ไม่ต้องสู้รบเพื่อวอนขอความเมตตาจากมหาข่านผู้ยิ่งใหญ่ อีกส่วนหนึ่งก็เพื่อไม่ให้ดินแดนที่พ่ายแพ้เหล่านั้นกลับมาล้างแค้นในภาย หลังได้ หากทว่า เหตุผลสำคัญที่สุดก็คือ การลดภาระในการเลี้ยงดูเชลยสงครามให้น้อยที่สุด เพราะโดยตรรกะเหตุผลของสภาพแวดล้อมที่โหดร้ายของชาวมองโกลนั้นได้สอนให้รู้ ว่า “ความฟุ่มเฟือยเพียงน้อยนิดในช่วงอิ่มหมีพีมัน ก็อาจนำมาซึ่งความอดอยากหิวโหยในห้วงหฤโหดแห่งฤดูหนาวที่ยาวนาน”

แต่ที่น่าตั้งข้อสังเกตก็คือ เจงกีสข่านจะรักษาชีวิตของนักปราชญ์และช่างฝีมือในทุกเมืองที่พิชิตได้ เพื่อช่วยเติมเต็มช่องว่างทางความรู้ให้กับจักรวรรดิมองโกลที่เกรียงไกรด้วย คมดาบแต่ขาดไร้ตะเกียงปัญญาอันสว่างไสว

ในศตวรรษที่ 21 การทำลายชีวิตเพื่อความอยู่รอดแบบเจงกีสข่านย่อมเป็นสิ่งที่น่ารังเกียจชิง ชังยิ่งนัก อย่างไรก็ตาม ปัญหาที่ยิ่งใหญ่ขององค์กรธุรกิจ องค์กรเพื่อสังคม และรัฐบาลในทุกประเทศก็คือ ความโลภที่จะทำและเป็นในทุกสิ่งที่ปรารถนา โดยลืมคำนึงถึงความเชี่ยวชาญเฉพาะขององค์กร (Comparative Advantage) ในที่สุดก็ทำให้ “องค์กร” ที่ปรารถนาจะเป็นทุกสิ่งต้องประสบความล้มเหลวและล้มหายตายจากไป
ลึกๆแล้วในใจของเจงกีสข่านก็อาจรู้สึกปวดร้าวที่ต้องล้างผลาญชีวิตคนที่ บริสุทธิ์ แต่สำหรับองค์กรธุรกิจและรัฐบาลในศตวรรษที่ 21 แล้วนั้น การปลุกเร้าจิตใจให้กล้าหาญและลงมือ “ทำลาย” เพื่อสร้างสรรค์ ก็เป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่งหากปรารถนาจะอยู่รอดในยุคสมัยโลกาภิวัตน์ที่โหด ร้ายนี้

ทว่าในความโหดร้ายของลมพายุโลกาภิวัตน์ ก็ได้แฝงความงดงามและเติบโตของชีวิตไว้อย่างล้นเหลือ หากรู้จักเพ่งมองด้วยแววตาแห่งการสร้างสรรค์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น